วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551

HALLOWEEN






Halloween วันฮาโลวีน เรามักจะคุ้นเคยเรียกกันเป็นภาษาปากว่า วันปล่อยผี ในวันดังกล่าวมักมีการจัดตกแต่งบ้านเรือน ร้านค้า โดยใช้ฟักทองที่คว้านเป็นรูปผี หรือใช้วัสดุอื่น ๆ ประดิษฐ์เป็นตัวผีหรือทำให้มีหน้าตาเป็นผีเพื่อสร้างบรรยากาศให้กลายเป็นงานรื่นเริง วันฮาโลวันมีที่มาอย่างไร และเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้นในเรื่องนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล แห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้จัดทำคำอธิบายถึงประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของ “ฮาโลวีน” ไว้ดังนี้ ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloween เป็นคำภาษาอังกฤษ เพี้ยนมาจากคำ All Hallows Evs ซึ่งแปลว่า วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย โดยวิธีตัดต่อ Hallow + Eve = Halloween คำ Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ตรงกับภาษาเยอรมันว่า heiligen ในปัจจุบันนิยมใช้คำมาจากภาษาละตินว่า sanctify คำ Hallow ยังมีใช้ในบทสวดอธิษฐานเก่า ๆ เช่น Hallowed be thy Name (ขอพระนามจงเป็นที่สักการะ) คำ Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ คำ All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือคริสต์มาสนั่นเอง วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Chrismas Eve ที่นิยมเรียกว่า คืน (ก่อน) คริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี All Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็น Halloween โดยมีงานรื่นเริงและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนคริสต์มาส ชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทางศาสนาไปหลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และเรียกว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints Day) การสมโภชนักบุญทั้งหลายเริ่มโดยสันตะปาปาโบนีเฟสที่ 4 (Boniface IV ครองอำนาจ ค.ศ. ๖๐๘–๖๑๕) โดยกำหนดวันที่ ๑๓ พฤษภาคมของทุกปี ตั้งแต่ ค.ศ. ๖๑๓ เป็นต้นมา สาเหตุเนื่องจากเป็นวันเปิดโบสถ์แพนทีอัน (Pantheon) อันเป็นโบสถ์สรรพเทพของชาวโรมันมาแต่เดิม และจักรพรรดิโฟกัส (Phocas) ยกให้เป็นของคริสต์ศาสนา ต่อมา สันตะปาปากรีโกรีที่ ๔ (Gregory IV ครองอำนาจ ค.ศ. ๘๒๗–๘๔๔) เปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ พฤศจิกายน ตั้งแต่ ค.ศ. ๘๓๕ เป็นต้นมา ชาวคาทอลิกขณะนั้นถือว่าวันฮาโลวีนมีความสำคัญคู่เคียงกันกับวันคริสต์มาสและวันอีสเตอร์จึงเริ่มงานตั้งแต่วันก่อนหรือวันสุกดิบ ขณะนั้นเกาะอังกฤษยังรับอำนาจของสันตะปาปาอยู่ ชาวอังกฤษจึงรับนโยบายของสันตะปาปาไปปฏิบัติตาม ประวัติ วันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาว เคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป โคมรูปฟักทอง แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์นบางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสต์กาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสต์กาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน 'All Souls' พวกเขาจะเดินร้องขอ 'ขนมสำหรับวิญญาณ' (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น การเล่น trick or treat ตามบ้านคนส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ 'ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก' แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง 'การหยุดยั้งความชั่ว' Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้ ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า "Trick or treat?" เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ด้วยขนมในที่สุด

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ลอยกระทง


วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย


เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"


เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พันธมิตร


พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy: PAD) เกิดจากการรวมตัวกันของหลายองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรอิสระภาคประชาชน จุดประสงค์หลักของการรวมตัวเพื่อกดดันขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเห็นว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัวและคนสนิทและประพฤติผิดอีกหลาย ๆ อย่างอันไม่สมควรในการเป็นผู้บริหารประเทศ ภายใต้การประสานงานโดยสุริยะใส กตะศิลา และมีแกนนำ 2 รุ่น ได้แก่
รุ่นที่ 1
สนธิ ลิ้มทองกุล, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, สมศักดิ์ โกศัยสุข, พิภพ ธงไชย และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
รุ่นที่ 2
สำราญ รอดเพชร, ศิริชัย ไม้งาม และ สาวิทย์ แก้วหวาน


สัญลักษณ์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

กลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะใส่เสื้อสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ และคาดผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า [12]ซึ่งเป็นผ้าพันคอพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2549 [13]

Cépage



Le cep est un pied de vigne, formé de 2 parties : le porte-greffe (vigne choisie pour la qualité de développement de ses racines dans le sol) et la partie aérienne, le greffon (vigne donnant de bons raisins).

Le cep de vigne était l'insigne du centurion romain.

Dans le langage courant, un cépage est un plant de vigne caractérisé par la forme de ses feuilles et de ses grappes. Au niveau botanique, c'est un cultivar c'est-à-dire une variété de population composée d'individus génétiquement différents mais qui présentent des caractéristiques proches, plutôt qu'une variété de vigne au sens botanique . Le cépage ne peut être multiplié que par voie végétative (bouture, marcottage ou greffe).

La vigne est une plante qui mute très facilement, il arrive qu'un même plant produise deux raisins différents. C'est ainsi, que le pinot gris et le pinot blanc sont des mutations du pinot noir.

L'étude des cépages s'appelle l'ampélographie (du grec ἄμπελος, la vigne).

On distingue les cépages de cuve, destinés à la production de vin, et des cépages de table, destinés à la production de raisin de table.

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

croissante



Croissants, named for the famous culinary artist K. Noelle Croissant, are made of a leavened variant of puff pastry by layering yeast dough with butter and rolling and folding a few times in succession, then rolling. Making croissants by hand requires skill and patience; a batch of croissants can take several days to complete. However, the development of factory-made, frozen, pre-formed but unbaked dough has made them into a fast food which can be freshly baked by unskilled labor. Indeed, the croissanterie was explicitly a French response to American-style fast food. This innovation, along with the croissant's versatility and distinctive shape, has made it the best-known type of French pastry in much of the world. In many parts of the United States, for example, the croissant (introduced at the fast food chains Arby's in the United States and Tim Hortons in Canada in 1983) has come to rival the long-time favorite doughnuts

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระราชวังแวร์ซายน์




พระราชวังแวร์ซายน์ อยู่ในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชวังที่สวยงามน่ามหัศจรรย์ยิ่งแห่งหนึ่งของโลกสมัยปัจจุบัน สร้างโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส มีอัลเครด เลอ นอสเตอร์เป็นสถาปนิกลงมือสร้างเมื่อ ค.ศ. 1661 สร้างอยู่นาน 30 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 500,000,000ฟรังก์ ใช้คนงาน 30,000 คน ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาวเป็นแบบอย่างและศิลปกรรมก่อสร้างที่งดงามมาก ภายในพระราชวังแวร์ซายน์ แบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ห้องทรงพระอักษร ห้องโถง ห้องออกว่าราชการ ทุกห้องมีเครื่องประดับประดาล้วนแต่มีค่าสูงมากมายทั้งวัตถุ และภาพเขียนที่มีชื่อเสียง ห้องที่มีชื่อมากที่สุดของพระราชวังแห่งนี้ก็คือห้องกระจก ซึ่งเคยใช้เป็นห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตรกับเยอรมันในมหายุทธสงครามโลกครั้งแรก และเป็นที่ใช้ลงนามในเมื่อเยอรมันบุกตีชนะฝรั่งเศสในมหายุทธสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ในการทำสงครามใหญ่ทุกครั้งฝรั่งเศสจะประกาศให้กรุงปารีสเป็นเขตปลอดสงครามคือไม่มีทหารตั้งอยู่ทั้งนี้เพื่อรักษาไม่ให้พระราชวังแห่งนี้ต้องได้รับความเสียหายจากการโจมตีของข้าศึกไม่ว่าโดยทางใด

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

SCRUBB SLUR









“scrubb” is the combination of two former music lovers “Muey” (Thawachpon) and “Ball” (Torpong). They mentioned that their songs were come out of everything around them and their lifestyle. It’s easy to understand, nothing complicated which like the name of the band “scrubb”. It is just a normal function of voice recorder that they’re both used when they’re working on underground project. But in this general name, there something familiar was hiding behind them. Just like most of their songs.