วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปาย

เมืองปายแต่เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1800 ตามประวัติความเป็นมาของอาณาจักรล้านนาเรียกอำเภอปายว่า "บ้านดอน" ทั้งนี้เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่บนดอนมีป่าไม้ไฝ่ล้อมรอบ มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำปายและแม่น้ำเมือง ไหลผ่านทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตก รอบบ้านดอนเป็นที่ราบกว้างใหญ่ เหมาะสำหรับเป็นที่ตั้งทัพ และปลูกข้าวเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพและผู้คนได้เป็นจำนวนมาก
พ.ศ. 1857 ตรงกับจุลศักราช 679 ทางพิงค์นครเชียงใหม่ ซึ่งมีพระเจ้าครามณีเป็นผู้ครองนครอยู่ ได้ทราบว่ามีชาวพม่าชื่อ พะกำซอ ยกทัพมาตั้งอยู่ที่บ้านดอนก็เกิดความสนใจ ต่อมาเกิดการจราจลที่เมืองแสนหวี เมืองนาย เมืองลายคำ เมืองหมอกใหม่ ในรัฐไทยใหญ่ ประเทศสหภาพพม่า พะกำซอยกทัพกลับไปปราบจราจลจนสงบและย้อนกลับมาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 1860 พะกำซอได้สร้างบ้านดอนเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น มีการขุดคูเมืองรอบด้านทุกด้าน ดินที่ขุดขึ้นมาได้ถมเป็นคันดินสูง สร้างประตูเมือง 2 ประตู ทางทิศใต้และทางทิศตะวันออก จนบ้านดอนเป็นเมืองที่แข็งแรงยากที่ศัตรูจะมาตีเมืองนี้ได้
พ.ศ. 1865 เจ้าครามณีผู้ครองนครเชียงใหม่ ขณะนั้นอายุได้ 55 พรรษา ได้ทราบข่าวเกี่ยวกับเรื่องที่พะกำซอ สร้างบ้านดอน พระองค์จึงดำริจะยึดเอาเป็นเมืองขึ้น จึงได้ส่งกองลาดตระเวนมาสอดส่องดูว่าพอจะยกกองทัพมายึดเอาได้หรือไม่ ถ้าได้จะยกทัพมา แต่พระองค์สวรรคตเสียก่อน

ในปี พ.ศ. 1871 ถึง ปี พ.ศ.1890 พระเจ้าเสนาะภูติ โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าครามณี ซึ่งครองเมืองเชียงแสนอยู่ได้ส่งเจ้ามหาชัยยกทัพมายึดเอาบ้านดอน สมัยนั้นการเดินทางยากลำบากต้องผ่านป่าทึบและภูเขาสูงสลับซับซ้อน รวมทั้งต้องผจญกับไข้ป่า การเดินทัพของเจ้ามหาชัยได้นำช้างไป 3 เชือก เดินทางรอนแรมขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเชียงใหม่ จนถึงที่แห่งหนึ่งเหมาะสมแก่การพักทัพจึงหยุดพักแรม ในคืนนั้นเองเจ้ามหาชัยก็หลับและฝันเห็นข้าศึกมาล้อมพระองค์และจับช้างของพระองค์ไปด้วย ครั้นรุ่งเช้าพระองค์ก็ทรงเล่าความฝันให้เหล่าเสนาอำมาตย์ฟังทุกคนต่างไม่สบายใจ คอยระมัดระวังภัยตลอดเวลา ต่อมาช้างเผือกเชือกหนึ่งก็ตายลงโดยมิทราบสาเหตุ พระองค์จึงสั่งให้เผาและเอากระดูกช้างนั้นไปฝังไว้ใกล้ที่พักแรมแห่งนั้น ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "บวกหัวช้าง" อยู่บนเส้นทางสาย ปาย-เชียงใหม่ เจ้ามหาชัยได้ยกทัพกลับเมืองเชียงใหม่และสวรรคตในปี พ.ศ. 1978 ฝ่ายพะกำซอปลูกสร้างเมืองสำเร็จเป็นปึกแผ่นก็มีผู้คนอพยพมาอยู่อีกมากมาย เพื่อความปลอดภัยจึงต้องมีการขุดคูเมืองโดยรอบลึกลงไปอีก และในปี พ.ศ.1980 ได้เดินทางกลับพม่าโดยให้บุตรชายชื่อ พะกำกันนะ อยู่ดูแลบ้านดอนแทน

ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์ อยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ยอดดอยอินทนนท์ อยู่จุดที่แบ่ง ระหว่างสามอำเภอ คือ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่


ทิวทัศน์ยอดเขาในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์เดิมชื่อ "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา" คำว่า "ดอยหลวง" หมายถึง ภูเขาสูงใหญ่ ส่วน "ดอยอ่างกา" นั้นมีเรื่องเล่ากันว่า ห่างจากยอดดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำ แต่ก่อนมีนกกาไปเล่นน้ำ กันมากมายจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา ต่อมาในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ( ปี พ.ศ. 2414 ถึง 2440 ) พระองค์มีความหวงแหนป่าไม้มาก โดยเฉพาะดอยหลวงแห่งนี้ จึงได้รับสั่งไว้ว่า หากพระองค์ถึงแก่พิราลัยแล้ว ให้นำพระอังคารของพระองค์มาไว้ ณ ยอดดอยหวงด้วย ครั้นเมืาอปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ ถึงแก่พิราลัย ราชธิดา คือ เจ้าดารารัศมี (ราชชายาในรัชกาลที่ 5) จึงได้อัญเชิญพระอังคารของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ มาประดิษฐาน ณ พระสถูป บนยอดดอยหลวง เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของชาวเขาและประชาชนทั่วไป ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา จึงได้ เปลี่ยนชื่อเป็น "ดอยอินทนนท์" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

จุดสูงที่สุดในประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 2,565.3341 เมตร


ยอดดอยอินทนนท์ เป็นยอดดอยสูงที่สุดในประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 2,565.3341 เมตร อากาศโดยทั่วไปหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีความชื้นสูง อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 22 องศาเซลเซียล อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ -8 องศาเซลเซียส อุณหภูมเฉลี่ยประมาณ 12 องศาเซลเซียล


ทิวทัศน์ยอดเขาในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

สภาพป่าเป็นลักษณะป่าเมืองหนาว มีพันธุ์ไม้แปลกที่หาดูที่อื่นๆ ได้ยาก เช่น กุหลาบพันปี, ไม้อบเชย, พระยาเสือโคร่ง และไม้ตระกูลกอหลายชนิด พวกมอส มี ข้าวตอกฤาษี เฟิร์นออสมันด้า กล้วยไม้มีค่า เช่น รองเท้านารี ฯลฯ


ปัจจุบันพื้นที่นี้อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ดอยตุง

เป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย ซึ่งได้ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยสูง บนเทือกเขานางนอนที่มีความสูง 2,000 เมตร ในเขตตำบลห้วยไคร้ กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญมีประชาชนเลื่อมใสมาแต่โบราณกาล เพราะเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถอำนวยความร่มเย็นมาสู่บรรดาผู้ที่ขึ้นไปนมัสการกราบไหว้เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุง ก็ได้เดินทางเข้ามานมัสการอย่างมากมาย




พระธาตุดอยตุง ตามตำนานพงศาวดารโยนก กล่าวไว้ว่าในสมัยพระเจ้าอชุตราช รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าสิงหนวัติ ผู้ครองแว่นแคว้นโยนกนาคนครได้ขึ้นครองราชสมบัติได้ 3 ปี ถึงปีมะแม พุทธศักราช 1454 พระมหากัสสปเถระได้นำพระรากขวัญเบื้องซ้าย ( กระดูกไหปลาร้า ) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากมัธยมประเทศมาถวาย นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลักธิกาวงศ์ได้ขึ้นมาประดิษฐานที่อาณาจักรโยนกนครแห่งนี้ พระมหากัสสปเถระได้ทูลต่อพระเจ้าอชุตราช ถึงเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้แต่กาลก่อนนั้นว่าเมื่อครั้งพระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ได้เสด็จจากเมืองกบิลพัสดุ์มาสู่แคว้นโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัตินครมีต่ออีกในสมุดทุกวันนี้ ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกลาวจกและได้ทรงพยากรณ์ว่า ณ สถานที่ดอยดินแดนแห่งนี้ จะได้เป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในภายภาคหน้า

ครั้งพระเจ้าอชุตราชได้ทรงทราบดังนั้น ก็บังเกิดศรัทธาชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง จึงรับสั่งให้หัวหน้าลาวจกมาเฝ้าแล้วพระราชทานทองคำแสนกษาปณ์เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดง แล้วพระองค์ก็ทรงสร้างพระสถูปสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้เป็นที่สักการบูชา โดยกำหนดเขตแดนแต่องค์พระสถูปออกไปด้านละ 3,000 วา

เมื่อก่อนจะสร้างพระมหาสถูปนั้นได้โปรด ฯ ให้ทำธงตะขาบหรือตุงปรากฎให้ใหญ่และยาวถึงพันวา ปักเองไว้บนยอดดอยนั้น ถ้าหากธง ( ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า ตุง ) ปลิวไปไกลถึงเพียงไหนให้กำหนดหมายเป็นฐานของพระมหาสถูปเพียงนั้น แล้วด้วยเหตุนี้จึงปรากฎนามว่า ดอยตุง จนบัดนี้

“ช้างมูบ” เป็นชื่อดอยที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอนในโครงการพัฒนาดอยตุง

ีประวัติดอยช้างมูบ (ดอยดินแดนแห่งผู้กล้า) มีดังนี้

ราวปีพ.ศ.1640 กองทัพพระยาขอมดำเข้าตีเมืองโยนกนาคพันธุ์ราชธานีของไทยจนเมืองแตก ชนชาติไทยต้องตกเป็นเมืองขึ้นของชนชาติขอม ต่อมาราวปีพ.ศ.1656 พระเจ้าพรหมกุมาร พระโอรสของพระเจ้าพังคราช ได้ยกกองทัพเข้าโจมตีชนชาติขอมจนพ่าย ขับไล่ชนชาติของไปจนถึงเมืองสวรรคโลก กำแพงเพชร ทรงสร้างนครไชยปราการเป็นราชธานี แทนโยนก ขยายไปทางทิศตะวันตกถึงเมืองสะเทิม (ชนชาติมอญในพม่า) ทิศเหนือถึงเมืองเชียงตุง เมืองแสนหวี (พม่า) รวมถึง 12 ปันนา (จีน) หลวงพระบาง (ลาว) เมืองแกวประกัน (เวียดนาม) หลังจากการเสร็จศึกสงครามทุกครั้ง พระพรหมมหาราชจะประทับอยู่ นครชัยปราการ ราวปีพ.ศ.1679 พระเจ้าพรหมมหาราช ทรงคิดถึงพระบิดา ได้เสด็จไปเยี่ยมพระบิดา เมืองชัยบุรี (โยนกเดิม) ก่อนเสด็จกลับไชยปราการได้เสด็จผ่านเมือง เวียงสี่ตวง (อ.แม่สาย) เมื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุดอยดินแดน (ดอยตุง) หลังจากนั้นได้เสด็จต่อจนถึงเทือกเขาเทือกหนึ่ง ช้างพระที่นั่งเกิดอาการอ่อนล้าหมดแรงและได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ดอยนั้นจึงชื่อว่า "ดอยจ้างหอบ" หรือ "ดอยจ้างหมอบ" ต่อมา เรียกเป็น "ดอยช้างมูบ" จนถึงปัจจุบัน

VALENTINE

วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด

ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็นพระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย

และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้นักบุญวาเลนไทน์ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศีรษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์


มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย



กุหลาบแดง (Red Rose) : จะใช้ในความหมายแทน ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ"
กุหลาบขาว (White Rose) : กุหลาบขาวแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์
กุหลาบชมพู (Pink Rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก และความเสน่หาต่อกัน
กุหลาบเหลือง (Yellow Rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส แทนความรักแบบเพื่อน

วันตรุษจีน

ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน
ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว กับการฉลองวันปีใหม่จีนหรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ นั้นเอง

ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น

วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง

เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า
"Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน