วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
วันพ่อแห่งชาติ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "พ่อ" ไว้ดังนี้พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตนพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "พ่อ" หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น บิดา (พ่อ) ชนก (ผู้ให้กำเนิด) ความเป็นมาของวันพ่อวันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๒๓ โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อโดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมสมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูน ตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญูและสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ ๕ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ"ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใย ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันนี้ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า"อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์ ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือ พระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี" และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า"ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสินพระคือบิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพรลุ ๕ ธันวามหาราช "วันพ่อแห่งชาติ"คือองค์อดิศรพระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน"
วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
โรคเอดส์
- เอดส์ คืออะไร เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นกลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือกขาว ซึ่งเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการจะรุนแรง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต
เอดส์ ติดต่อกันได้อย่างไร
1. การร่วมเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง ทั้งช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด และจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา ประมาณร้อยละ 84 ของผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
2. การรับเชื้อทางเลือด
- ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด และหากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ ก็สามารถถ่ายทอดเชื้อเอดส์ ทางเพศสัมพันธ์ได้อีกทางหนึ่ง
- รับเลือดในขณะผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุกขวด ต้องผ่านการตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ และจะปลอดภัยเกือบ 100%
3. ทารก ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ หากตั้งครรภ์ และไม่ได้รับการดูแลอย่างดี เชื้อเอช ไอ วี จะแพร่ไปยังลูกได้ ในอัตราร้อยละ 30 จากกรณีเกิดจากแม่ติดเชื้อ จึงมีโอกาสที่จะรับเชื้อเอช ไอ วี จากแม่ได้
เอดส์ มีอาการอย่างไร
คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกายม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไปขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัสจำนวนและความดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกายถ้ามีการติดเชื้ออาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค
ระยะที่ 1 : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดาราว 6-8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลยเพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือดหรือที่เรียกว่าเลือดเอดส์บวกซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้วร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์เรียกว่าแอนติบอดีย์(antibody)เป็นเครื่องแสดงว่าเคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้วแต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ตรวจตอน 3 เดือน แล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน6เดือนโดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยาและห้ามบริจาคโลหิตให้ใครในระหว่างนั้นผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้โดยโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆ คือเป็นเดือนๆ ขึ้นไป ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด1-2 เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง(รูปที่ 2) ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง แต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคนปกติทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์ โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้
ระยะที่ 2 : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก(รูปที่ 3), งูสวัด(รูปที่ 4), เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง(รูปที่ 5) จะเห็นได้ว่า อาการที่เรียกว่าสัมพันธ์กับเอดส์นั้น ไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็อาจมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย เชื้อราในช่องปาก งูสวัด หรือเริมได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าถ้ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกร้าย ถ้าสงสัยควรปรึกษา แพทย์และตรวจเลือดเอดส์พิสูจน์
ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้วผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อยๆและเป็นมะเร็งบางชนิดเช่นแคโปซี่ซาร์โคมา(Kaposi'ssarcoma)และมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อฉกฉวยโอกาสหมายถึงการติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำไม่ก่อโรคในคนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลงเช่นจากการเป็นมะเร็งหรือจากการได้รับยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอดต่อมน้ำเหลืองตับหรือสมองได้ รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ ซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้(ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ) ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คริปโตคอคคัสซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอาเจียน นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอ ชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง(รูปที่ 6) ต่อมน้ำเหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนัง คล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้น ส่วนจะมีหลายตุ่ม(รูปที่ 7) บางครั้งอาจแตกเป็นแผล เลือดออกได้ บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมา อาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัย เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุก ไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อน หรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 5-6 ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน2-4 ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสที่เป็นมาก รักษาไม่ไห หรือโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่จะรักษาอย่างได้ผล หรือเสียชีวิตจากมะเร็งที่เป็นมากๆ หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด พบว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศตะวันตกสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้10 - 20 ปีและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรืออาจอยู่จนแก่ตายได้
อาการของเอดส์ มี 2 ระยะ
1. ระยะไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อจะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ และบางคนไม่ทราบว่า ตัวเองติดเชื้อ จึงอาจแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
2. ระยะมีอาการ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการ ภายหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 7-8 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
- ระยะเริ่มปรากฎอาการ อาการที่พบคือ มีเชื้อราในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต งูสวัด มีไข้ ท้องเสีย น้ำหนักลด มีตุ่มคันบริเวณผิวหนัง
- ระยะโรคเอดส์ เป็นระยะที่มีภูมิต้านทานลดลงมาก ทำให้ติดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
ป้องกันตัวเอง ไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ ได้อย่างไร
รักเดียว ใจเดียว หากจะมีเพศสัมพันธ์กับหญิง ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
ขอรับบริการปรึกษา เรื่อง โรคเอดส์ ก่อนแต่งงาน และก่อนที่จะมีบุตรทุกท้อง
ไม่ดื่มเหล้า และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด
วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตรตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ
ประวัติศาสตร์
เมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยพญามังราย ในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และใช้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา ในอดีต เชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2101 แต่ต่อมาเชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. 2101 และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช และมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน
เมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยพญามังราย ในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และใช้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา ในอดีต เชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2101 แต่ต่อมาเชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. 2101 และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช และมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 24 อำเภอ 204 ตำบล 1915 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครเชียงใหม่)1เทศบาลเมือง(เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา)
อำเภอ
อำเภอเมืองเชียงใหม่
อำเภอจอมทอง
อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอเชียงดาว
อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอแม่แตง
อำเภอแม่ริม
อำเภอสะเมิง
อำเภอฝาง
อำเภอแม่อาย
อำเภอพร้าว
อำเภอสันป่าตอง
อำเภอสันกำแพง
อำเภอสันทราย
อำเภอหางดง
อำเภอฮอด
อำเภอดอยเต่า
อำเภออมก๋อย
อำเภอสารภี
อำเภอเวียงแหง
อำเภอไชยปราการ
อำเภอแม่วาง
อำเภอแม่ออน
อำเภอดอยหล่อ
การปกครองแบ่งออกเป็น 24 อำเภอ 204 ตำบล 1915 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครเชียงใหม่)1เทศบาลเมือง(เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา)
อำเภอ
อำเภอเมืองเชียงใหม่
อำเภอจอมทอง
อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอเชียงดาว
อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอแม่แตง
อำเภอแม่ริม
อำเภอสะเมิง
อำเภอฝาง
อำเภอแม่อาย
อำเภอพร้าว
อำเภอสันป่าตอง
อำเภอสันกำแพง
อำเภอสันทราย
อำเภอหางดง
อำเภอฮอด
อำเภอดอยเต่า
อำเภออมก๋อย
อำเภอสารภี
อำเภอเวียงแหง
อำเภอไชยปราการ
อำเภอแม่วาง
อำเภอแม่ออน
อำเภอดอยหล่อ
ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ
ทิศเหนือ
รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้
อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก
อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปางมีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก
อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำแตง แม่น้ำแจ่ม แม่น้ำกก แม่น้ำกวง แม่น้ำตื่น และแม่น้ำฝาง
ภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส
สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
สัญญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ช้างเผือกคือช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วนเรือนแก้วคือดินแดนที่บวรพุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma Kuntze)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (Butea monosperma Kuntze)
ภูมิประเทศ
ทิศเหนือ
รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้
อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก
อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปางมีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก
อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำแตง แม่น้ำแจ่ม แม่น้ำกก แม่น้ำกวง แม่น้ำตื่น และแม่น้ำฝาง
ภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส
สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
สัญญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ช้างเผือกคือช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วนเรือนแก้วคือดินแดนที่บวรพุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma Kuntze)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (Butea monosperma Kuntze)
วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
๑. สางพระเกศาขึ้น-ลง ๑ ครั้ง แล้วหักพระสางทิ้ง
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สางพระเกศาพระศพขึ้น ๑ ครั้ง ลง ๑ ครั้ง แล้วหักพระสางวางไว้ในพาน แสดงถึงว่าเป็นการสาง (หวี) พระเกศาครั้งสุดท้าย สางพอเป็นสัญลักษณ์พอเป็นพิธี เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงามใดๆ อีกแล้ว เป็นเครื่องหมายว่าหมดประโยชน์ ไม่มีความจำเป็นต้องแต่งกายใดๆ อีกแล้ว และเมื่อหักสางทิ้งไปแล้ว ก็จะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ซึ่งเหมือนกับประเพณีของประชาชนด้วย ที่แสดงว่าจะไม่ได้ใช้สางนั้นอีกต่อไปแล้วจึงต้องหักทิ้งไป
๒. เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพ
เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพระอิสริยยศที่แตกต่างกัน
ฉัตร ๙ ชั้น
:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉัตร ๗ ชั้น
:
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ฉัตร ๕ ชั้น
:
สมเด็จเจ้าฟ้า ในส่วนพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้นจะเรียกว่า "เบญจปฎลเศวตฉัตร" หมายถึงฉัตรขาวที่มีเพดาน ๕ ชั้น
ขั้นตอนเมื่อเชิญพระศพมายังพระบรมมหาราชวังแล้ว จะเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งอยู่ด้านหลังทางทิศใต้ของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระที่นั่งองค์นี้จะเป็นวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระอัครมเหสี และเจ้านายฝ่ายในชั้นสูง แต่ในระยะหลังจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพ ในการสรงน้ำพระศพ เมื่อสรงน้ำพระศพที่พระที่นั่งพิมานรัตยาแล้วจึงจะอัญเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การประดิษฐานพระศพตามราชประเพณีอยู่ทางมุขด้านตะวันตก พระโกศสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้าจะใช้พระโกศทองใหญ่ และใช้เครื่องสูงทองแผ่ลวด มุขด้านใต้จะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร (พระประจำวันเกิด) ซึ่งพระพุทธประจำพระชนมวารของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร ซึ่งเป็นปางประจำวันเกิดวันอาทิตย์ งานหลังจากนี้ต่อไปจนถึง ๑๐๐ วัน จะเป็นการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม พระพิธีธรรมจะเป็นงานที่ใช้เฉพาะงานหลวง จะสวดทั้งวันทั้งคืน มีการย่ำยามทุก ๓ ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย
ในวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พนักงานจัดเศวตฉัตรขึ้นเป็น ๗ ชั้น กางกั้นพระโกศ โดยอนุโลมตามโบราณราชประเพณีพระราชทานเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศให้ปรากฏสืบไป
๓. ประโคมย่ำยามทุก ๓ ชั่วโมง
การสวดพระพิธีธรรมพระอภิธรรม จะมีการประโคมย่ำยามทุก ๓ ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ตั้งแต่ ๐๖.๐๐ น. ๐๙.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ไปจนถึง ๒๔.๐๐ น. เพื่อบอกเวลาว่าครบ ๓ ชั่วโมง ก็จะประโคมขึ้นหนึ่งครั้ง ส่วนการสวดพระอภิธรรมจะสวดทั้งวันทั้งคืน แต่จะมีเวลาพักเว้นระยะเป็นช่วงๆ อาจจะหยุดพักสัก ๑๐-๑๕ นาที ซึ่งจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้านายชั้นสูงขึ้นไป โดยหลักคิดก็จะไม่แตกต่างกับการจัดงานศพของประชาชนทั่วไปตามหลักพระพุทธศาสนา แต่อาจจะเพิ่มรายละเอียด ปริมาณและคุณภาพเข้ามา ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพที่จะจัดงานนอกจากนี้จะมีการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน พิธีกรรมก็จะเหมือนกัน นั่นคือ มีการสวดมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ สดับปกรณ์ (บังสุกุล)
๔. สมเด็จพระพี่นางเธอฯ อยู่ในลำดับพระอิสริยยศชั้น 'เจ้าฟ้า'
ภาษาที่ใช้เรียกในการประกอบพิธีพระบรมศพ พระศพ จะแตกต่างกันตามพระอิสริยยศ โดยสมเด็จเจ้าฟ้า จะเรียกว่า "พระศพ" ส่วนพระยศที่สูงกว่า ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี จะเรียกว่า "พระบรมศพ" ส่วนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ตามราชประเพณีจะสร้างพระเมรุในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม เมษายน ทั้งนี้แล้วแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
๕. การแต่งฉลองพระองค์ไว้ทุกข์
การแต่งกายของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ สำหรับการไว้ทุกข์มี ๒ แบบ ฉลองพระองค์เต็มยศ และฉลองพระองค์แบบสากล แบบแรกฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ด้วยเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายจักรี ติดแขนทุกข์ใต้พระกรซ้าย และจะฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศสายสะพายจักรี ในการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และวันออกพระเมรุ ส่วนแบบสากลฉลองพระองค์สูทสีดำ ติดแขนทุกข์ใต้พระกรซ้าย สำหรับข้าราชการ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ก็แต่งกายไว้ทุกข์ตามราชประเพณีตามแต่จะมีหมายกำหนดการกำหนดแจ้งไว้ ส่วนประชาชนก็แต่งกายไว้ทุกข์แบบสุภาพตามประเพณีที่ปฏิบัติ
๖. ขบวนรถอัญเชิญพระศพเป็นแบบเรียบง่ายโดยรถโรงพยาบาล
ขบวนรถจะจัดอย่างไรก็ได้ไม่มีระเบียบแบบแผน และจะเป็นแบบเรียบง่ายที่ปฏิบัติกันมาในอดีตก็จะอัญเชิญโดยรถโรงพยาบาลเหมือนกันทุกพระองค์
๗. การปฏิบัติตนไว้ทุกข์ของประชาชน
การปฏิบัติตนของประชาชนในการเข้าไปถวายสักการะพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มกราคมเป็นต้นไปนั้น เบื้องต้นประชาชนควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีใส่เสื้อผ้าสีดำหรือสีขาว การกราบพระศพจะกราบครั้งเดียวไม่แบมือ สุภาพสตรีควรนุ่งกระโปรง เพราะตามธรรมเนียมที่จะไม่นุ่งกางเกงเข้าในพระบรมมหาราชวัง ถ้าเป็นไปได้ก็ควรสวมรองเท้าหุ้มส้น ถ้าไม่มีก็ต้องเป็นแบบเรียบร้อย ส่วนประชาชนทั่วไปที่จะแสดงออกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สามารถทำได้ทุกอย่าง ทำที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องรอให้ถึงวันที่ ๑๐ มกราคม สามารถทำได้ทันที ทั้งการตักบาตร ทำบุญ บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญทาน ถวายสังฆทานต่างๆ บวชพระ เลี้ยงพระ นิมนต์พระมาเทศน์ ก็สามารถทำได้
๘. บรรจุพระศพลงหีบพระศพแทนพระโกศ
ตามโบราณราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จสวรรคต จะประกอบพิธีบรรจุพระบรมศพ พระศพ ลงในพระโกศ แต่ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เชิญพระบรมศพ และพระศพ ลงหีบพระศพ แทนใส่การใส่พระโกศ ซึ่งสามารถทำได้ตามพระราชอัธยาศัย ได้แก่ พระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
หมายเหตุ : นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับพิธีพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๒๕๕๑ โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ดอกไม้ไฟ
ดอกไม้ไฟ หรือ พลุ เป็นอุปกรณ์ในหมวดหมู่วัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง ลักษณะของพลุประกอบด้วย เสียง แสง ควัน และเถ้า พลุถูกออกแบบให้เผาไหม้และจุดระเบิดที่แสงสีต่างๆ พลุถูกใช้ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก
เชื่อกันว่าชาวจีนเป็นผู้ค้นคิดพลุและดอกไม้ไฟก่อนชาติอื่นๆ (อันเป็นผลสืบเนื่องจากการประดิษฐ์คิดค้นดินปืนของชาติจีนนั่นเอง) เพื่อใช้ในงานรื่นเริง เช่น วันตรุษจีน หรือวันสาร์ทจีน และยังนิยมใช้สืบมาจนปัจจุบัน
[แก้] การใช้งาน
พลุเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานกว้างขวาง โดยทั่วไปพลุจะใช้ในงานแสดง งานบันเทิง และในงานรื่นเริงทั้งในด้านวัฒนธรรมและทางศาสนา
นอกจากนี้ยังมีการใช้พลุเป็นยุทโธปกรณ์ เป็นพลุส่องสว่าง สำหรับนำทาง หรือบอกตำแหน่งในการรบ หรือการลำเลียงทางการทหาร
[แก้] วัตถุดิบในการทำดอกไม้ไฟหรือพลุ
ท่อพีวีซี
ดินปืน
ดินประสิว
ดินกลาง(โปรตัสเซียมคลอเร็ต)เป็นเคมีควบคุมต้องขออณุญาตจากกระทรวงกลาโหม
กำมะถัน
อื่น ๆอีกหลายอย่างมาก
ถ่าน
กระดาษ
ไข่นกพลาสติก
คำเตือน เคมีแต่ละตัวก็สามารถเข้ากันได้ บางอย่างก็เข้ากันไม่ได้หมายความว่าถ้าเข้ากันแล้วอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรือกระทบกระเทือนก็สามารถทำให้ระเบิดได้ บางอย่างเข้ากันไว้เมื่อนำไปเก็บไว้อาจจะทำปฏิกิริยาต่อกันสามารถลุกติดไฟขึ้นมาได้เองซึ่งเป็นอันตรายมากหากเก็บไว้ไม่เป็นที่เป็นทางแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่ามันจะติดได้เองเสมอไปแต่มันอาจจะติดหรือไม่ติดก็ได้ข้อนี้เราก็ต้องระวังไว้ก่อน พลุ เป็นที่นิยมกันมากปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมกันตามชานเมืองหรือชนบท งานที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางได้แก่งานศพ(หมายถึงพลุดัง)พลุดังหรือ พลุปลง หมายถึงพลุที่มีเสียงดังมากมักจุดกันเวลาเผาศพประมาณบ่าย 4โมงเพื่อเป็นอาณัติสัญญาณว่าได้เผาร่างอันไร้วิญญาณของบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วผู้ที่ได้ยินก็จะเกิดการปลงว่าโลกนี้ล้วนเป็นอนิจังอีกไม่นานก็จะถึงคิวของตัวเราและอโหสิกรรมแก่ผู้ตาย
เชื่อกันว่าชาวจีนเป็นผู้ค้นคิดพลุและดอกไม้ไฟก่อนชาติอื่นๆ (อันเป็นผลสืบเนื่องจากการประดิษฐ์คิดค้นดินปืนของชาติจีนนั่นเอง) เพื่อใช้ในงานรื่นเริง เช่น วันตรุษจีน หรือวันสาร์ทจีน และยังนิยมใช้สืบมาจนปัจจุบัน
[แก้] การใช้งาน
พลุเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานกว้างขวาง โดยทั่วไปพลุจะใช้ในงานแสดง งานบันเทิง และในงานรื่นเริงทั้งในด้านวัฒนธรรมและทางศาสนา
นอกจากนี้ยังมีการใช้พลุเป็นยุทโธปกรณ์ เป็นพลุส่องสว่าง สำหรับนำทาง หรือบอกตำแหน่งในการรบ หรือการลำเลียงทางการทหาร
[แก้] วัตถุดิบในการทำดอกไม้ไฟหรือพลุ
ท่อพีวีซี
ดินปืน
ดินประสิว
ดินกลาง(โปรตัสเซียมคลอเร็ต)เป็นเคมีควบคุมต้องขออณุญาตจากกระทรวงกลาโหม
กำมะถัน
อื่น ๆอีกหลายอย่างมาก
ถ่าน
กระดาษ
ไข่นกพลาสติก
คำเตือน เคมีแต่ละตัวก็สามารถเข้ากันได้ บางอย่างก็เข้ากันไม่ได้หมายความว่าถ้าเข้ากันแล้วอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรือกระทบกระเทือนก็สามารถทำให้ระเบิดได้ บางอย่างเข้ากันไว้เมื่อนำไปเก็บไว้อาจจะทำปฏิกิริยาต่อกันสามารถลุกติดไฟขึ้นมาได้เองซึ่งเป็นอันตรายมากหากเก็บไว้ไม่เป็นที่เป็นทางแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่ามันจะติดได้เองเสมอไปแต่มันอาจจะติดหรือไม่ติดก็ได้ข้อนี้เราก็ต้องระวังไว้ก่อน พลุ เป็นที่นิยมกันมากปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมกันตามชานเมืองหรือชนบท งานที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางได้แก่งานศพ(หมายถึงพลุดัง)พลุดังหรือ พลุปลง หมายถึงพลุที่มีเสียงดังมากมักจุดกันเวลาเผาศพประมาณบ่าย 4โมงเพื่อเป็นอาณัติสัญญาณว่าได้เผาร่างอันไร้วิญญาณของบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วผู้ที่ได้ยินก็จะเกิดการปลงว่าโลกนี้ล้วนเป็นอนิจังอีกไม่นานก็จะถึงคิวของตัวเราและอโหสิกรรมแก่ผู้ตาย
วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2407 เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระเชษภคินีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ) และพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปนั้น พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระองค์แรกของไทย ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์สภานายิกา สภากาชาดไทยพระองค์แรกอีกด้วย
พระราชประวัติ
[แก้] พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 66 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน เบญศก จ.ศ. 1225 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2407 พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมราชบิดาเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 10 ค่ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้[1]
"ศุภมัสดุ สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามบุตรีหญิงซึ่งประสูติแต่เปี่ยมเป็นมารดา ในวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน เบญศกนั้นว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี วรรคบริวารนามเดิมเป็นอาทิและอันตอักษร ขอพรคุณพระรัตนตรัยและพรเทวดารักษาพระนครและพระราชวัง จงได้โปรดให้เจริญชนมายุพรรณสุขพลปฏิภาณสารสิริสมบัติศรีสวัสดิพิพัฒมงคล ศุภผลพิบูลยทุกประการ เทอญ"
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้รับพระราชทานพรเป็นภาษามคธจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงพระนิพนธ์แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า[2]
"ขอธิดาของเรา ซึ่งเป็นบุตรีอันดีของเปี่ยมคนนี้ จงปรากฏโดยนามว่าโสภาสุทธสิริมตี (เสาวภาผ่องศรี) เถิด ขอเธอจงมีสุข แลไม่มีโรค มีอิสริยยศประเสริฐสุด ปราศจากโทษ อันใคร ๆ อย่าคุมเหงได้ทุกเมื่อ จงเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์ใหญ่ มีโภคสมบัติมาก อันคนเป็นอันมากนิยมนับถือ ขอเธอจงรักษาเกียรติยศของบิดามารดาไว้ทุกเมื่อ จงทำนุบำรุงพี่น้องชายหญิงอันดี ขออานุภาพพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จงรักษาเธอทุกเมื่อเทอญ"
พระองค์ทรงมีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์นั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีพระปัญญาที่เฉียบแหลมมาก แต่ก็ทรงไม่เชื่อฟังมากเช่นเดียวกัน เช่น เวลาทรงพระอักษร ก็ทรงไม่ยอมทรงอ่านดังๆ พระอาจารย์อ่านถวายไปเท่าใด พระองค์ท่านก็ทอดพระเนตรตามไปเฉยๆ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี จึงเปลี่ยนเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
[แก้] สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2440 จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินได้เรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถจรรยนุวัติปฏิบัติ ประกอบด้วยพระราชอัธยาศัยสภาพสมด้วยพระองค์เป็นขัติยนารีนาถ และกอปรด้วยพระกรุณภาพยังสรรพกิจทั้งหลายที่ได้ทรงพระราชทานปฏิบัติมาล้วนแต่เป็นเกียรติคุณแก่ประเทศสยามทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามาภิไธย จาก สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี บรมราชินีนาถ"[3] เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกของประเทศไทย
หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงพระราชดำริว่า พระราชประเพณีได้เคยมีมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกใหม่ ได้ทรงสถาปนาพระราชอิสริยยศแลเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระพันปีหลวงฉลองพระเดชพระคุณเป็นปฐม เพื่อเป็นศุภมงคลและราชสมบัติ พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง"[4]
[แก้] สวรรคต
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ทรงพระประชวรเรื้อรัง มีอาการไข้ รวมทั้งมีอาการพิษขึ้นในพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) จึงเสด็จสวรรคตวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 57 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์สรงน้ำพระบรมศพ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพประกอบพระลองทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก ภายในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวายฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนี[5]
พระราชโอรสและพระราชธิดา
พระองค์ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาทั้งสิ้น 14 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 7 พระองค์ พระราชธิดา 2 พระองค์ และตกเสีย 5 พระองค์ โดย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๓๐)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๘)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๓๐)
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๖๓)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๓๐)
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2430 แต่สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ)
พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๗)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๖๖) และ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๘๔)
[แก้] พระราชกรณียกิจ
ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ตั้งโรงเรียน และจ่ายเงินเดือนครูในโรงเรียนต่าง ๆ เช่น
โรงเรียนราชินี
โรงเรียนราชินีบน
โรงเรียนทวีธาภิเศก
โรงเรียนเสาวภา ปัจจุบันคือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล ปัจจุบัน คือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงเรียนวิเชียรมาตุ และ โรงเรียนสภาราชินี (จังหวัดตรัง)
โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมถ์ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
โรงเรียนราชินีบูรณะ (จังหวัดนครปฐม)
โรงเรียนศรียานุสรณ์ (จังหวัดจันทบุรี)
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ (จังหวัดอุดรธานี)
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระมหากรุณาแก่ประชาชนที่ได้รับความเจ็บไข้ได้ป่วย นอกจากจะทรงสนับสนุนการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล สำหรับเป็นสถานศึกษาวิชาพยาบาลและผดุงครรภ์ของสตรีแล้ว ยังทรงเป็นผู้นำชักชวนสตรีไทยให้เลิกการอยู่ไฟ หันมาใช้วิธีการพยาบาลแบบฝรั่งซึ่งสุขสบายและได้ผลดีกว่า นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีส่วนร่วมในการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
[แก้] พระอิสริยยศ
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ นับเป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีสูงศักดิ์กว่าพระมเหสีอื่นใด
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
[แก้] ราชตระกูล
พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
พระชนก:พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:เจ้าขรัวเงิน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระชนนี:สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:หลวงอาสาสำแดง (แตง)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:ท้าวสุจริตธำรง (นาค)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:ไม่ทราบ
[แก้] อ้างอิง
^ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
^ แสงเทียน ศรัทธาไทย, หน้า 238
^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศในการที่ออกพระนามสมเด็จพระบรมราชินีนารถ, เล่ม ๑๔, ตอน ๑, ๔ เมษายน พ.ศ. ๑๘๙๗, หน้า ๑๐
^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ง, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๐๒๒
^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระอาการสวรรคตแห่งสมเด็จพระพันปีหลวง, เล่ม ๓๖, ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒, หน้า ๒๐๖๙
[แก้] หนังสือ
อุทุมพร สุนทรเวช, สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี, นำอักษรการพิมพ์, 2540 ISBN 974-7060-32-9
จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕, มติชน, 2546 ISBN 974-322-964-7
แสงเทียน ศรัทธาไทย, สามราชินีคู่บัลลังก์ ร.๕, สำนักพิมพ์ร่มฟ้าสยาม, 2539 ISBN 974-91483-0-4
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
พิมาน แจ่มจรัส, รักในราชสำนัก, โอเดียนการพิมพ์, 2510 ISBN 974-341-064-3
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปนั้น พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระองค์แรกของไทย ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์สภานายิกา สภากาชาดไทยพระองค์แรกอีกด้วย
พระราชประวัติ
[แก้] พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 66 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน เบญศก จ.ศ. 1225 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2407 พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมราชบิดาเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 10 ค่ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้[1]
"ศุภมัสดุ สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามบุตรีหญิงซึ่งประสูติแต่เปี่ยมเป็นมารดา ในวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน เบญศกนั้นว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี วรรคบริวารนามเดิมเป็นอาทิและอันตอักษร ขอพรคุณพระรัตนตรัยและพรเทวดารักษาพระนครและพระราชวัง จงได้โปรดให้เจริญชนมายุพรรณสุขพลปฏิภาณสารสิริสมบัติศรีสวัสดิพิพัฒมงคล ศุภผลพิบูลยทุกประการ เทอญ"
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้รับพระราชทานพรเป็นภาษามคธจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงพระนิพนธ์แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า[2]
"ขอธิดาของเรา ซึ่งเป็นบุตรีอันดีของเปี่ยมคนนี้ จงปรากฏโดยนามว่าโสภาสุทธสิริมตี (เสาวภาผ่องศรี) เถิด ขอเธอจงมีสุข แลไม่มีโรค มีอิสริยยศประเสริฐสุด ปราศจากโทษ อันใคร ๆ อย่าคุมเหงได้ทุกเมื่อ จงเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์ใหญ่ มีโภคสมบัติมาก อันคนเป็นอันมากนิยมนับถือ ขอเธอจงรักษาเกียรติยศของบิดามารดาไว้ทุกเมื่อ จงทำนุบำรุงพี่น้องชายหญิงอันดี ขออานุภาพพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จงรักษาเธอทุกเมื่อเทอญ"
พระองค์ทรงมีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์นั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีพระปัญญาที่เฉียบแหลมมาก แต่ก็ทรงไม่เชื่อฟังมากเช่นเดียวกัน เช่น เวลาทรงพระอักษร ก็ทรงไม่ยอมทรงอ่านดังๆ พระอาจารย์อ่านถวายไปเท่าใด พระองค์ท่านก็ทอดพระเนตรตามไปเฉยๆ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี จึงเปลี่ยนเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
[แก้] สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2440 จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินได้เรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถจรรยนุวัติปฏิบัติ ประกอบด้วยพระราชอัธยาศัยสภาพสมด้วยพระองค์เป็นขัติยนารีนาถ และกอปรด้วยพระกรุณภาพยังสรรพกิจทั้งหลายที่ได้ทรงพระราชทานปฏิบัติมาล้วนแต่เป็นเกียรติคุณแก่ประเทศสยามทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามาภิไธย จาก สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี บรมราชินีนาถ"[3] เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกของประเทศไทย
หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงพระราชดำริว่า พระราชประเพณีได้เคยมีมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกใหม่ ได้ทรงสถาปนาพระราชอิสริยยศแลเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระพันปีหลวงฉลองพระเดชพระคุณเป็นปฐม เพื่อเป็นศุภมงคลและราชสมบัติ พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง"[4]
[แก้] สวรรคต
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ทรงพระประชวรเรื้อรัง มีอาการไข้ รวมทั้งมีอาการพิษขึ้นในพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) จึงเสด็จสวรรคตวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 57 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์สรงน้ำพระบรมศพ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพประกอบพระลองทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก ภายในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวายฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนี[5]
พระราชโอรสและพระราชธิดา
พระองค์ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาทั้งสิ้น 14 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 7 พระองค์ พระราชธิดา 2 พระองค์ และตกเสีย 5 พระองค์ โดย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๓๐)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๘)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๓๐)
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๖๓)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๓๐)
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2430 แต่สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ)
พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๗)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๖๖) และ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๘๔)
[แก้] พระราชกรณียกิจ
ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ตั้งโรงเรียน และจ่ายเงินเดือนครูในโรงเรียนต่าง ๆ เช่น
โรงเรียนราชินี
โรงเรียนราชินีบน
โรงเรียนทวีธาภิเศก
โรงเรียนเสาวภา ปัจจุบันคือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล ปัจจุบัน คือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงเรียนวิเชียรมาตุ และ โรงเรียนสภาราชินี (จังหวัดตรัง)
โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมถ์ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
โรงเรียนราชินีบูรณะ (จังหวัดนครปฐม)
โรงเรียนศรียานุสรณ์ (จังหวัดจันทบุรี)
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ (จังหวัดอุดรธานี)
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระมหากรุณาแก่ประชาชนที่ได้รับความเจ็บไข้ได้ป่วย นอกจากจะทรงสนับสนุนการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล สำหรับเป็นสถานศึกษาวิชาพยาบาลและผดุงครรภ์ของสตรีแล้ว ยังทรงเป็นผู้นำชักชวนสตรีไทยให้เลิกการอยู่ไฟ หันมาใช้วิธีการพยาบาลแบบฝรั่งซึ่งสุขสบายและได้ผลดีกว่า นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีส่วนร่วมในการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
[แก้] พระอิสริยยศ
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ นับเป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีสูงศักดิ์กว่าพระมเหสีอื่นใด
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
[แก้] ราชตระกูล
พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
พระชนก:พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:เจ้าขรัวเงิน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระชนนี:สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:หลวงอาสาสำแดง (แตง)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:ท้าวสุจริตธำรง (นาค)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:ไม่ทราบ
[แก้] อ้างอิง
^ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
^ แสงเทียน ศรัทธาไทย, หน้า 238
^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศในการที่ออกพระนามสมเด็จพระบรมราชินีนารถ, เล่ม ๑๔, ตอน ๑, ๔ เมษายน พ.ศ. ๑๘๙๗, หน้า ๑๐
^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ง, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๐๒๒
^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระอาการสวรรคตแห่งสมเด็จพระพันปีหลวง, เล่ม ๓๖, ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒, หน้า ๒๐๖๙
[แก้] หนังสือ
อุทุมพร สุนทรเวช, สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี, นำอักษรการพิมพ์, 2540 ISBN 974-7060-32-9
จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕, มติชน, 2546 ISBN 974-322-964-7
แสงเทียน ศรัทธาไทย, สามราชินีคู่บัลลังก์ ร.๕, สำนักพิมพ์ร่มฟ้าสยาม, 2539 ISBN 974-91483-0-4
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
พิมาน แจ่มจรัส, รักในราชสำนัก, โอเดียนการพิมพ์, 2510 ISBN 974-341-064-3
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)