วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า "The Feast of the Federation" เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ "Champs-de-Mars" ในกรุงปารีส แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย "the Third Republic*"นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันชาติฝรั่งเศส"และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น
ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฝรั่งเศสนั้นเริ่มมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันอย่างเป็นทางการเมื่อ 300 ปีก่อน ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 ทรงแต่งตั้งคณะทูตเดินทางมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศไทยในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ถึงกรุงศรีอยุธยา ขณะเดียวกับพระองค์ทรงส่งคณะทูตฝ่ายไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึงพระราชวังแวร์ซายส์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนอีกด้วย นับแต่นั้นเป็นต้นมาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจึงปฏิบัติสืบต่อเรื่อยมาถึงทุกวันนี้ โดยทั้งสองฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนความร่วมมือทั้งทางด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาและอื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้กระทรวงและองค์กรต่าง ๆ ของฝรั่งเศสได้ให้การช่วยเหลือแก่ประเทศไทยนำไปใช้ในโครงการต่าง ๆ เป็นเงินกว่า 250 ล้านบาท แต่กระนั้นก็ตามฝรั่งเศสก็ยังเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายไม่มากนักสำหรับคนไทย แม้ว่าจะมีบทบาทในฐานะประเทศที่ยังใหญ่ในด้านศิลปวัฒนธรรมมาช้านานก็ตาม แต่ทั้งนี้ในความจริงแล้วนั้นฝรั่งเศสจัดได้ว่าเป็นประเทศที่ 4 รองจากญี่ปุ่น,เดนมาร์ก และเยอรมณีในการให้ความร่วมมือกันมากที่สุดในระดับทวิภาคี
นอกจากนี้ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาฝรั่งเศสได้ตอกย้ำที่จะดำเนินการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนสาขาอื่น ๆ ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ อยู่นี้จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนจากรัฐบาลและทุนส่วนตัว จึงได้มีการจัดนิทรรศการการศึกษาในฝรั่งเศส เพื่อให้เข้าใจว่าแท้จริงแล้วการศึกษาในฝรั่งเศสไม่แพงอย่างที่คิด ซึ่งเสียค่าเล่าเรียนตกปีละ 10,000 บาทโดยประมาณเพื่อนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศ
ในเรื่องของความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างฝรั่งเศสกับไทย ซึ่งรู้กันดีว่ากำลังกดดันจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม ปีที่แล้วแต่อย่างไรก็ดีภาพที่ออกมากลับตัดกันอย่างสิ้นเชิง โดยสินค้าผู้บริโภคที่ฝรั่งเศสนำเข้าประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับคงที่ ขณะที่ประเทศไทยกลับส่งสินค้ามากขึ้นสาเหตุจากการลดค่าเงินบาท จึงส่งผลให้มีส่วนส่งเสริมการส่งออกของสินค้าของไทยได้มากขึ้น ซึ่งบรรดาบริษัทของชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นฐานการส่งออกของสินค้าไทยต่างรู้พึงพอใจกับยอกการส่งออกไปสู่ตลาดทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการมุ่งเน้นที่ตลาดภายในประเทศของบริษัทย่อยของฝรั่งเศสประจำปรเทศไทยภาพที่ออกมาปรากฎผลดีในระยะสั้นเท่านั้น แต่หัวใจสำคัญก็คือการลงทุนซึ่งประเทศไทยได้มุ่งเป้าไปที่แผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้มีการร่างในรายละเอียดของแผนการใหญ่เพื่อดึงนักลงทุนต่างชาติให้ห้นมาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสกำลังเฝ้าจับตามอง
ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก มีประวัติศาสตร์ที่เจริญรุ่งเรืองมาช้านาน เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่ประเทศฝรั่งเศสได้รับการขนานนามว่าเป็นแหล่งกำเนิดศิลปและความคิดริเริ่มสร้างสรรอันสำคัญของโลก คำว่า "ฝรั่งเศส" มีความหมายหลายประการเกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านต่าง ๆ เช่น ความเป็นผู้นำทางการเมืองและการปกครอง ประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการปฏิวัติตลอดการและเป็นประเทศมหาอำนาจที่สำคัญประเทศหนึ่ง ประเทศฝรั่งเศสมีชื่อเสียงทางด้านศิลป ปรัชญา, วรรณคดี, ลักษณะ, สังคม, แฟชั่น หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตโดยการแสวงหาความสุขมาบำเรอจิตใจและอาหารการกินอีกด้วย ด้านภาษาประจำชาติ ภาษาฝรั่งเศสนับเป็นภาษาสากลอันดับ 2 รองจากภาษาอังกฤษ ซึ่งมีผู้นิยมใช้ภาษาฝรั่งเศสอย่างกว้างขวาง ปรัชญาเมธีผู้มีแนวความคิดก้าวหน้าได้เกิดขึ้นในประเทศนี้มากมายหลายท่าน
กรุงปารีสได้ชื่อว่าเป็นมหานครที่มีความสวยงามที่สุดในทวีปยุโรป มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีโบราณสถานที่สำคัญและมีคุณค่าทางศิลปกรรม เช่น พระราชวังแวร์ซายส์,หอไอเฟลและโบราณวัตถุทางศิลปด้านต่าง ๆ ที่น่าชม ประเทศฝรั่งเศสมีความรุ่งเรืองทางด้านวรรณกรรมและจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงในโลก
ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่สอง ของทวีปยุโรป คือมี ขนาดรองจากประเทศรุสเซียและใหญ่กว่าประเทศอังกฤษ 2 เท่า แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศกลุ่มยุโรปตะวันตก 6 ประเทศซึ่งมี อังกฤษ, ไอร์แลนด์เหนือ,ไอร์แลนด์,ฝรั่งเศส,เบลเยี่ยม,เนเธอร์แลนด์,ลักเซมเบอร์ก, ในบรรดาประเทศเหล่านี้ประเทศฝรั่งเศสนับว่าใหญ่ที่สุดในเขตภูมิภาคนี้ อาณาเขต ของประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศเบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก,เยอรมันนี, ทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศสวิส,อิตาลี,เยอรมนี, ด้านทิศตะวันตกจดอ่าวบิสเคย์และทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงช่องแคบอังกฤษ สำหรับทางตอนใต้ติดกับฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและติดต่อกับประเทศสเปน
ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่รวมประมาณ 212,207 ตารางไมล์ หรือประมาณ547,026 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บริเวณทางตอนเหนือซึ่งติดต่อกับประเทศเบลเยี่ยม บริเวณบางส่วนของทุ่งฟลานเดอร์สเคยเป็นสนามรบที่สำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารของฝ่ายสัมพันธ์มิตรเคยพากันล้มตายมากมายในดินแดนดังกล่าว มีดอกไม้สีแดงขึ้นอยู่โดยทั่วไปในบริเวณนี้ ทุ่งกว้างแห่งนี้จะเบ่งบานด้วยดอกไม้สีสดไสไม่จืดตา แต่เป็นสัญญลักษณ์ที่ระลึกถึงผู้วายชนม์ในสงครามครั้นนั้นมาจนกระทั่งทุกวันนี้
พื้นที่ภูมิประเทศของฝรั่งเศสประมาณ 2 ในสามส่วนจะเป็นที่ราบ ที่ราบสูงและภูเขาจะอยู่ทางทิศตะวันออกและบริเวณส่วนกลาง ที่ราบที่สำคัญได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น้ำลัวร์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำการอนน์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำโรน ส่วนทางทิศตะวันออกและตอนกลางของประเทศเป็นบริเวณที่มีภูเขา พื้นแผ่นดินจะเป็นที่ราบสูงตามเชิงเขา มีภูเขาที่สำคัญคือ ภูเขาแซแวง ภูเขาโคตดอร์ ภูเขาปีรีนิสเป็นภูเขายาวเหยียดตลอดแนวชายแดนภาคใต้ติดต่อกับประเทศสเปน และบริเวณนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชนชาวเขาเผ่าปาสต์ (Basgues) และเผ่าแคตาลาน (Catalan) ส่วนทางด้านชายแดนอิตาลีมีภูเขาแอลป์ปกคลุมด้วยหิมะทอโพลนตลอดเวลา ตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์มียอดภูเขาสูงชื่อยอดบองบลังค์ สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 15,780 ฟุต นับเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรปตะวันตก ส่วนบริเวณด้านตะวันออกชายแดนที่ติดต่อกับสวิส มีภูเขาจูรา นอกจากนี้แล้วยังมีภูเขาวอสก์ (Vosges) เป็นภูเขาขนาดเล็กในมณฑลอัลซาสใกล้กับชายแดนสวิส.
ภูมิอากาศในภูมิภาคต่าง ๆ ของฝรั่งเศส คือ บริเวณตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศคล้ายคลึงกับประเทศอังกฤษมาก คือ มีภูมิอากาศอบอุ่นและมีฝนตกชุก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกแถบภูเขาแอลป์จะมีหิมะปกคลุม มีละอองหิมะและกลุ่มหมอกหนาทึบ ในฤดูร้อนทุ่งหญ้าจะอุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ในฤดูหนาวและฤดูร้อนจะเป็นที่ตากอากาศสำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย ภูมิอากาศแถบภูมิภาคตอนใต้บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอากาศจะหนาวจัด เนื่องจากลมหนาวซึ่งพัดมาจากบริเวณเทือกเขาแอลป์และไพรีนี ประกอบกับมีลมหนาวซึ่งพัดมาจากยอดเขามีความเร็วและรุนแรงดุจมายเฮอริแคน โดยจะพัดหนักอยู่ 3-4 วันติดต่อกัน ทำให้ต้นไม้ตามบริเวณเขตแดนเอนลู่โค้งคดโดยทั่วไป
ส่วนภูมิอากาศพื้นที่แถบเขตชายแดนบนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก นับตั้งแต่เมืองดันเคิร์คตอนเหนือและตลอดถึงเมืองเฮ็นเดย์ตอนใต้จะมีลมทะเลพัดจากกระแสร์น้ำอุ่นกันฟ็สตรีม ช่วยเสริมให้อุณหภูมิบริเวณดังกล่าวไม่ร้อนหรือหนาวจัดจนเกินไป สำหรับภูมิอากาศทางภาคกลางซึ่งห่างไกลจากทะเลและภูเขาจะมีอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลและผันผวนผิดแยกไปบ้างเป็นครั้งคราว
ชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคต่าง ๆ ประชากรชาวฝรั่งเศสมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางเชื้อชาติศาสนาภาษาและเคยเป็นมหาอำนาจซึ่งมีอาณานิคมกว้างขวางในทวีปยุโรป อาณานิคมของฝรั่งเศสเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษก็จะไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลยประเทศซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสบางส่วนแม้จะได้รับอิสระเป็นเอกราชปกครองตนเองก็ตาม แต่ทว่าความเกี่ยวพันทางการเมืองและเศรษฐกิจก็ยังผูกพันกับฝรั่งเศสอย่างเหนียวแน่นดังนั้น ประเทศฝรั่งเศสจึงกลายเป็นศูนย์กลางประชาคมของประเทศต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในอาณานิคมหรือเครือจักรภพ เช่นแอฟริกาเหนือและแอฟริกากลาง เป็นต้น
ปารีส เป็นเมืองหลวงที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นนครหลวงที่สวยงามที่สุดในทวีปยุโรป มีโบราณสถานและอาคารซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะหอแอนไอเฟล (Eeffel Tower) เป็นสัญญลักษณ์ที่โดดเด่นประจำมหานครปารีส ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2432 เนื่องในโอกาสของงานมหกรรมโลก ซึ่งได้จัดขึ้นในปารีส ออกแบบเป็นลักษณะหอสูง คือ สองชั้นล่างเป็นสถานที่ร้านอาหารนา นาชนิด ชั้นที่ 3 ใช้สำหรับชมทีศนียภาพโดยรอบ ส่วนชั้นที่สูงสุดยอดถูกปิดตายไม่ให้ผู้คนขึ้น หอสูงไอเฟลเป็นหอคอยโครงเหล็กที่เคยถือว่าสูงที่สุดในโลกคือสูวถึง 985 ฟุต แต่ต่อมาภายหลังเมื่อมีการสร้างตึกไครส์เลอร์ในนิวยอร์คและหอโตเกียวซึ่งสูงถึง 1,092 ฟุต สถิติความสูงของหอไอเฟลจึงกลายเป็นรองไปแต่ชื่อเสียงของหอคอยแห่งนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายสำหรับชาวโลกมาช้านานแล้ว
ประชากรของประเทศฝรั่งเศสเท่าที่สำรวจครั้งล่าสุดในปี พ.ศ.2521 ปรากฎว่ามีพลเมืองประมาณ 50,300,000 คน ผู้คนพลเมืองจะมีอาชีพในทางการเกษตรกรรรมและอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้แบ่งแยกออกไปตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างผลิตผลทั้งสองประเภทนี้ โดยคำนึงถึงปัญหาเรืองอาหารการกินของประชากรภายในประเทศ ปัญหาการใช้แรงงานในการผลิตอุตสาหกรรมให้เพียงพอสำหรับใช้สอยและส่งเป็นสินค้าออกไปแข่งขันกับนา นา ประเทศอย่างมั่นคง
เขตภูมิภาคประเภทเกษตรกรรม ได้แก่พื้นที่ราบลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมายในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ที่ราบลุ่มบริเวณรอบนอกของปารีส มีการปลูกพืชจำพวกข้าวสาลี หัวผักกาด, น้ำตาล, เลี้ยงสัตว์จำพวกหมู, วัวนม, และสัตว์มีปีกอื่นๆ อีกตามสมควร
เขตอุตสาหกรรม แหล่งอุตสากรรมต่าง ๆ ของฝรั่งเศสกระจัดกระจายอยู่ในเมืองต่าง ๆ แต่พอจะจำแนกได้เป็น 4 เขตใหญ่ ๆ แต่ละเขตมีการผลิตอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะแร่เหล็กมีมากที่สุดในเมืองลอร์เรน (Lorraine) เป็นแหล่งสำคัญของแร่เหล็ก ดังนั้นอุตสาหกรรมด้านนี้จึงมีความสำคัญมากแม้ว่าแร่เหล็กของฝรั่งเศสจะมีคุณภาพเพียง 30 % ของน้ำหนัก สินแร่มีเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าแร่เหล็กของสวีเดน ซึ่งมีเปอร์เช็นต์สูง 60 เปอร์เช็นต์ แต่ประโยชน์ที่ได้รับคุ้มค่ากับการลงทุน และถือว่าประเทศฝรั่งเศสมีปริมาณแร่เหล็กมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป
เศรษฐกิจของฝรั่งเศสเป็นเศรษฐกิจแบบประเทศด้อยพัฒนา แรงงานมีอยู่น้อยและเป็นแรงงานที่ไม่ชำนาญงาน จำนวนประชากรก็มีอยุ่น้อยไม่พอเพียงต่อการเป็นผู้บริโภคของอุตสาหกรรมที่จะสร้างขึ้นมาเพื่อผลิตสินค้าสำหรับใช้บริดภคภายในฝรั่งเศส การสร้างถนนระบบโทรคมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีเลย พืชที่ปลูกได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวเจ้า ข้าวโพด กล้วย สับปะรด และอ้อย อ้อยนั้นส่วนใหญ่นำมาใช้ผลิตเหล้ารัม เพื่อส่งออก ผลผลิตของเกษตรกรมีไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในฝรั่งเศส เกษตรกรกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ ชาวอินเดียน และชาวศรีโอเล ซึ่งทำไร่นาแบบเลื่อนลอยอยู่ในบริเวณลึกเข้าไป เกษตรกลุ่มนี้จะเผาป่าแล้วย้ายถิ่นที่เพาะปลูกจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งเรื่อยไปพืชที่พวกเขาปลูกก็มีสำปะหลังและพืชชนิดอื่น ๆ อีก 2-3 ชนิดสำหรับใช้เป็นอาหารและปลูกสำหรับบริโภคเองเท่านั้น พวกเขาจะล่าสัตว์และจับปลาเพื่อใช้เป็นอาหารประกอบกับพืชที่คนได้ปลูกไว้
สิ่งที่นับว่าเป็นความผิดพลาดอย่างมาก คือ ผลผลิตทางการเกษตรมีไม่พอบริโภคทำให้ต้องสั่งซื้ออาหารจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากฝรั่งเศสได้ใช้ดินแดนฝรั่งเศสเป็นที่กันขังนักโทษ แล้วให้นักโทษทำไร่นาเสมือนหนึ่งทาส การทำไร่นาจึงได้รับการดูถูกว่าเป็นอาชีพที่ต่ำ ยกเว้นชาวอินเดียนที่ทำการเพาะปลูกเพื่อใช้บริโภคเองแล้วมีคนจำนวนน้อยที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น