ปราสาทนิโจมีป้อมปราการที่เรียงตัวกันเป็นวงแหวนสองชั้น แต่ละชั้นจะมีทั้งกำแพงและคูน้ำกว้าง และยังมีกำแพงล้อมรอบพระราชวังนิโนมารุอีกชั้นหนึ่ง แต่มีความซับซ้อนน้อยกว่า กำแพงชั้นนอกของป้อมปราการมีประตูอยู่ 3 ประตู ส่วนกำแพงชั้นในมีอยู่ 2 ประตู ที่มุมทางตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพงชั้นใน มีซากของป้อมปราการห้าชั้น ซึ่งถูกเพลิงไหม้จนพังทลายเมื่อ พ.ศ. 2293 ภายในกำแพงชั้นในเป็นที่ตั้งของพระราชวังฮอนมารุและอุทยาน ระหว่างวงแหวนป้อมปราการทั้งสองชั้น เป็นที่ตั้งของพระราชวังนิโนมารุ โรงครัว ป้อมสังเกตการณ์ และสวนหย่อมอีกจำนวนมาก
พระราชวังนิโนมารุ
ประตูทางเข้าหลักสู่พระราชวังนิโนมารุ
ลวดลายแกะสลักที่ประตูทางเข้าพระราชวังนิโนมารุ
พระราชวังฮอนมารุพระราชวังนิโนมารุมีพื้นที่ 3,300 ตารางเมตร สร้างด้วยไม้สนฮิโนกิเกือบทั้งหลัง ประดับด้วยใบไม้สีทองและไม้แกะสลักลวดลายสวยงาม เพื่อแสดงให้ผู้มาเยือนประทับใจในอำนาจและความมั่งคั่งของเหล่าโชกุน ประตูเลื่อนและผนังของแต่ละห้องมีภาพเขียนฝาผนังโดยจิตรกรจากโรงเรียนคาโน
สถาปัตยกรรมของปราสาทมีส่วนแสดงให้เห็นถึงการชนชั้นทางสังคมอย่างชัดเจน ในอดีตผู้มาเยือนที่เป็นชนชั้นระดับล่างจะได้รับการต้อนรับที่ห้องชั้นนอก ซึ่งมีการตกแต่งที่หรูหราวิจิตรเพื่อแสดงฐานะของชนชั้นปกครอง ขณะที่ผู้มาเยือนที่เป็นชนชั้นสูง จะได้รับการต้อนรับในห้องชั้นในที่ตกแต่งอย่างเรียบง่ายและละเอียดมากกว่า และขณะที่ปราสาทญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะอำพรางซ่อนเร้นทางเข้าสู่ห้องขององครักษ์ โชกุนตระกูลโทคุงาวะกลับเลือกวางตำแหน่งห้องและทางเข้าให้เห็นอย่างเด่นชัด ด้วยเหตุนี้ อาคารจึงมีลักษณะที่ข่มขวัญและแสดงอำนาจแก่ผู้มาเยือนอยู่ในตัว
ภายในอาคารมีห้องต้อนรับ ห้องทำงาน และห้องพักอาศัยของโชกุนอยู่หลายห้อง เป็นส่วนที่มีเพียงผู้รับใช้หญิงที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้ สิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดอย่างหนึ่งของปราสาทนิโจคือ Nightingale Floors ที่อยู่ในโถงระเบียง ซึ่งผู้สร้างปราสาทได้ออกแบบพื้นของระเบียงให้มีเสียงคล้ายนกร้องเมื่อเดินเหยียบลงไป เพื่อป้องกันผู้อยูอาศัยในปราสาทจากการถูกลอบโจมตีและลอบสังหาร
พระราชวังฮอนมารุ
พระราชวังฮอนมารุมีอาณาเขตทั้งหมด 1,600 ตารางเมตร ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนพักอาศัย ส่วนต้อนรับ โถงทางเข้า และโรงครัว ส่วนต่างๆเชื่อมถึงกันด้วยระเบียงทางเดินและสนาม ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบยุคเอโดะช่วงหลัง ในพระราชวังเป็นที่จัดแสดงภาพเขียนโดยจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น คาโน เองากุ
พระราชวังฮอนมารุเดิมเป็นที่รู้จักในชื่อว่า พระราชวังคัทสึระ ก่อนที่จะย้ายมายังตำแหน่งปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อใหม่ พระราชวังเดิมมีอาคาร 55 หลัง แต่มีเพียงส่วนเล็กๆส่วนเดียวที่ถูกย้ายสถานที่
สวนและอุทยาน
สระน้ำในอุทยานนิโนมารุในบริเวณปราสาทมีสวนและอุทยานอยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะสวนซากุระและสวนบ๊วย อุทยานนิโนมารุได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกผู้ออกแบบสวนและผู้เชี่ยวชาญการชงชาที่มีชื่อเสียง มีชื่อว่า โคโบริ เอนชู ตั้งอยู่ระหว่างวงแหวนป้อมปราการสองชั้น และอยู่ถัดจากพระราชวังนิโนมารุ ภายในอุทยานมีสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีเกาะอยู่ 3 เกาะ มีสวนหินที่จัดวางอย่างสวยงาม และต้นสนตัดแต่ง
อุทยานเซริวเป็นส่วนที่สร้างขึ้นล่าสุดในบริเวณปราสาทนิโจ โดยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2508 ทางทิศเหนือของบริเวณปราสาท เพื่อเป็นสถานที่ต้อนรับแขกผู้มาเยือนเมืองเกียวโตอย่างเป็นทางการ และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม อุทยานเซริวมีโรงชงชาอยู่ 2 หลัง และมีสวนหินที่ใช้หินมากกว่า 1,000 ก้อน
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552
วัดเซ็นโซจิ
วัดเซ็นโซจิ หรือที่เรียกกันว่าวัดอาซากุสะ เพราะที่ตั้งอยู่ในย่านอาซากุสะ ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าและมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโตเกียว วัดนี้มีตำนานเล่าขานกันว่า มีสองพี่น้องผู้มีอาชีพหาปลา ณ วันหนึ่งได้มาหาปลาที่แม่น้ำสุมิดะ แล้วได้พบกับ เทวรูปคันนง เข้าโดยบังเอิญ ดังนั้น ด้วยความศรัทธาของ 2 พี่น้องและชาวบ้านของหมู่บ้านละแวกนั้น จึงได้อัญเชิญเทวรูปคันนงประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ จุดเด่นของวัดแห่งนี้คือ โคมแดงขนาดยักษ์ ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณ ประตูคามินาริมง (ประตูสายฟ้าฟาด) และเมื่อผ่านประตูนี้เข้าไป จะพบกับถนนคนเดินที่มีร้านขายของที่ระลึกพื้นเมือง และของกินมากมายเรียงรายอยู่ที่เรียกกันว่า นาคามิเสะโดริ
วัดเซ็นโซจิ (SENSOJI) หรือที่เรียกกันว่าวัดอาซากุสะ (ASAKUSA TEMPLE) เพราะที่ตั้งอยู่ในย่านอาซากุสะ ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าและมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโตเกียว สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 628-645 วัดนี้มีตำนานเล่าขานกันว่า มีสองพี่น้องตระกูล ฮิโนะคูมะ (HINOKUMA)ผู้มีอาชีพหาปลา ณ วันหนึ่งได้มาหาปลาที่แม่น้ำสุมิดะ แล้วได้เหวี่ยงแหพบกับ เทวรูปคันนง ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตาเข้าโดยบังเอิญ และแม้ว่าคนทั้งคู่จะนำรูปปั้นนี้กลับไปคืนแม่น้ำอีกสักกี่ครั้ง ก็จะมีเหตุให้รูปปั้นกลับมาอยู่ในมือของคนทั้งสองเสมอ ดังนั้น ด้วยความศรัทธาของสองพี่น้องและชาวบ้านของ หมู่บ้านละแวกนั้น จึงได้อัญเชิญเทวรูปคันนงประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ เชื่อกันว่าเจ้าแม่กวนอิมองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์มาก ขอพรอะไรก็ได้ตามปรารถนา และตำนานยังมีต่ออีกว่าในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับที่พบรูปปั้นได้ปรากฎมังกรทองตัวหนึ่งเลื้อยลงมาจากสวรรค์ จึงเป็นวัดที่เหล่าโชกุนและซามูไรให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมากในอดีต ปัจจุบันนี้วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงโตเกียว
จุดเด่นของวัดแห่งนี้คือ โคมแดงขนาดยักษ์ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณ ประตูคามินาริมง (Kaminarimon) (ประตูสายฟ้าฟาด) สร้างในปี 1960 ทั้งสองข้างของโคมแดงจะเป็นรูปปั้นของ 2 เทวบาลผู้รักษาประตู ได้แก่ ฟูจิน (FUJIN)เจ้าแห่งสายลม มีอำนาจต่อสายลม แสงแดดและเมฆหมอก รูปองค์สีดำมืดเหมือนเมฆฝน หน้าตาน่ากลัว ห่มหนังเสือดาว มีถุงลมใหญ่พาดไหล่ทั้งสองข้าง ซึ่งอยู่ทางด้านขวา ส่วนด้านซ้าย คือ ไรจิน (RAIJIN) เจ้าแห่งอสุนีบาต รูปองค์สีแดง มีกลองเป็นเครื่องมือในการทำให้ฟ้าแลบและฟ้าผ่า
และเมื่อผ่านประตูนี้เข้าไป จะพบกับ ถนนนาคามิเซะ(NAKAMISE) หรือถนนคนเดินถนนคนเดินที่มีร้านขายของที่ระลึกพื้นเมือง เช่น ของที่ระลึก ตุ๊กตา เสื้อผ้า และขนมแบบญี่ปุ่น และของกินมากมายเรียงราย แบบเฉพาะญี่ปุ่นอยู่ที่เรียกกันว่า ถนนนาคามิเสะโดริ คล้ายกับเป็นการรวมเอาความเป็นญี่ปุ่นมาไว้ที่แห่งนี้ และยังมี ชินนาคามิเซะ (SHIN-NAKAMISE) เป็นถนนคนเดินที่มีหลังคาคลุมตลอด ถนนเส้นนี้ร้านค้าเป็นแบบเปิดปิดได้ แบบห้องแถว มีร้านค้าและและร้านอาหารให้เลือกอีกมากมาย
ภายในวัดก็จะมีให้สักการะเทพเจ้าคันนน โดยการรดน้ำ และตรงกลางวัดจะมีกระถางธูปขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นความเชื่อว่า ไปรับควันนี้ติดตัวมา จะโชคดีมีสุข เพราะฉะนั้นคนที่ไป ก็จะไปยืนอังรับเอาไอควันนั้นเข้าตัว และการทำบุญไหว้พระ ด้วยการโยนเหรียญลงในกล่อง และการเสี่ยงเซียมซี หรือ โอมิกุจิ (Omiguji)ส่วนเจ้าแม่กวนอิมจะประดิษฐานอยู่ภายใน ก่อนถึงจะถึงองค์เจ้าแม่กวนอิม จะต้องผ่านประตูที่สองที่เป็นประตูชั้นในประตูนี้มีชื่อว่า โฮโซมน (HOZOMON)หรือประตูแห่งขุมทรัพย์หรือความหมายที่แท้จริงก็คือ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง ด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม คือ ศาลเจ้าอาซากุสะ ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยเอโดะ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่กรุงโตเกียวถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดได้รับความเสียหายอย่างหนักแต่ศาลเจ้าแห่งนี้ไม่ได้รับความเสียหายแม้แต่น้อย
วัดเซ็นโซจิ (SENSOJI) หรือที่เรียกกันว่าวัดอาซากุสะ (ASAKUSA TEMPLE) เพราะที่ตั้งอยู่ในย่านอาซากุสะ ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าและมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโตเกียว สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 628-645 วัดนี้มีตำนานเล่าขานกันว่า มีสองพี่น้องตระกูล ฮิโนะคูมะ (HINOKUMA)ผู้มีอาชีพหาปลา ณ วันหนึ่งได้มาหาปลาที่แม่น้ำสุมิดะ แล้วได้เหวี่ยงแหพบกับ เทวรูปคันนง ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตาเข้าโดยบังเอิญ และแม้ว่าคนทั้งคู่จะนำรูปปั้นนี้กลับไปคืนแม่น้ำอีกสักกี่ครั้ง ก็จะมีเหตุให้รูปปั้นกลับมาอยู่ในมือของคนทั้งสองเสมอ ดังนั้น ด้วยความศรัทธาของสองพี่น้องและชาวบ้านของ หมู่บ้านละแวกนั้น จึงได้อัญเชิญเทวรูปคันนงประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ เชื่อกันว่าเจ้าแม่กวนอิมองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์มาก ขอพรอะไรก็ได้ตามปรารถนา และตำนานยังมีต่ออีกว่าในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับที่พบรูปปั้นได้ปรากฎมังกรทองตัวหนึ่งเลื้อยลงมาจากสวรรค์ จึงเป็นวัดที่เหล่าโชกุนและซามูไรให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมากในอดีต ปัจจุบันนี้วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงโตเกียว
จุดเด่นของวัดแห่งนี้คือ โคมแดงขนาดยักษ์ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณ ประตูคามินาริมง (Kaminarimon) (ประตูสายฟ้าฟาด) สร้างในปี 1960 ทั้งสองข้างของโคมแดงจะเป็นรูปปั้นของ 2 เทวบาลผู้รักษาประตู ได้แก่ ฟูจิน (FUJIN)เจ้าแห่งสายลม มีอำนาจต่อสายลม แสงแดดและเมฆหมอก รูปองค์สีดำมืดเหมือนเมฆฝน หน้าตาน่ากลัว ห่มหนังเสือดาว มีถุงลมใหญ่พาดไหล่ทั้งสองข้าง ซึ่งอยู่ทางด้านขวา ส่วนด้านซ้าย คือ ไรจิน (RAIJIN) เจ้าแห่งอสุนีบาต รูปองค์สีแดง มีกลองเป็นเครื่องมือในการทำให้ฟ้าแลบและฟ้าผ่า
และเมื่อผ่านประตูนี้เข้าไป จะพบกับ ถนนนาคามิเซะ(NAKAMISE) หรือถนนคนเดินถนนคนเดินที่มีร้านขายของที่ระลึกพื้นเมือง เช่น ของที่ระลึก ตุ๊กตา เสื้อผ้า และขนมแบบญี่ปุ่น และของกินมากมายเรียงราย แบบเฉพาะญี่ปุ่นอยู่ที่เรียกกันว่า ถนนนาคามิเสะโดริ คล้ายกับเป็นการรวมเอาความเป็นญี่ปุ่นมาไว้ที่แห่งนี้ และยังมี ชินนาคามิเซะ (SHIN-NAKAMISE) เป็นถนนคนเดินที่มีหลังคาคลุมตลอด ถนนเส้นนี้ร้านค้าเป็นแบบเปิดปิดได้ แบบห้องแถว มีร้านค้าและและร้านอาหารให้เลือกอีกมากมาย
ภายในวัดก็จะมีให้สักการะเทพเจ้าคันนน โดยการรดน้ำ และตรงกลางวัดจะมีกระถางธูปขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นความเชื่อว่า ไปรับควันนี้ติดตัวมา จะโชคดีมีสุข เพราะฉะนั้นคนที่ไป ก็จะไปยืนอังรับเอาไอควันนั้นเข้าตัว และการทำบุญไหว้พระ ด้วยการโยนเหรียญลงในกล่อง และการเสี่ยงเซียมซี หรือ โอมิกุจิ (Omiguji)ส่วนเจ้าแม่กวนอิมจะประดิษฐานอยู่ภายใน ก่อนถึงจะถึงองค์เจ้าแม่กวนอิม จะต้องผ่านประตูที่สองที่เป็นประตูชั้นในประตูนี้มีชื่อว่า โฮโซมน (HOZOMON)หรือประตูแห่งขุมทรัพย์หรือความหมายที่แท้จริงก็คือ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง ด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม คือ ศาลเจ้าอาซากุสะ ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยเอโดะ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่กรุงโตเกียวถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดได้รับความเสียหายอย่างหนักแต่ศาลเจ้าแห่งนี้ไม่ได้รับความเสียหายแม้แต่น้อย
พระราชวังอิมพีเรียล
พระราชวังอิมพีเรียล(โคเคียว) เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมจิ แห่งประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียวท่ามกลางคูน้ำล้อมรอบมาตั้งแต่สมัยเอโดะ บนพื้นที่มากกว่า 270 เอเคอร์ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นสวนป่าไม้ธรรมชาติ และเนื่องจากพระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ จึงไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม แต่จะมีเพียงกรณีพิเศษ 2 ปีที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าได้คือ วันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และวันที่ 2 มกราคม ของทุกปี ที่สมเด็จพระจักรพรรดิจะออกสมาคม เพื่ออวยพรให้ประชาชนเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ แต่จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าได้เพียงแค่บริเวณพระราชฐานชั้นนอกเท่านั้นภายในอุทยานชั้นในอันเป็นเขตพระราชฐาน เป็นอาคารคอนกรีตทรงเตี้ย หลังคาสีเขียว ซึ่งสร้างขึ้นแทนของเดิมที่ถูกทิ้งระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณที่นักท่องเที่ยวทั่วไปนิยมถ่ายรูปกันคือ สะพานนิจูบาชิ เป็นสะพานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างมากแล้ว ยังเป็นสะพานที่สามารถข้ามผ่านไปยังเขตพระราชฐานชั้นในได้อีกด้วย
พระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับของพระจักรพรรดิและพระราชวงศ์ อาณาบริเวณหลายแห่งในพระราชวังจึงมิได้เปิดให้เข้าชม แต่บางส่วนจะเปิดให้เข้าชมได้ในช่วงวันหยุดพิเศษ ตัวปราสาทสร้างตามรูปแบบในสมัยเอโดะ ล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพงหิน ทางเข้าหลักจะเป็นสะพานคู่หรือเรียกว่า นิจูบาชิ (Nijubashi) ที่สร้างได้อย่างสวยสง่างาม แต่ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปผ่าน ยกเว้นในช่วงปีใหม่และวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิที่จะเปิดให้พสกนิกร(บางคน)ข้ามมารับพระราชทานพรใกล้ๆที่ประทับ ทางด้านตะวันออกจะมีสวนดอกไม้ (Higashi Gyoen) ซึ่งจัดไว้อย่างสวยงามเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาพักผ่อนหย่อนใจได้ตลอดเวลา และเข้าไปยังเขตพระราชฐานได้ 3 ประตู จากทั้งหมด 8 ประตู คือ โอเตมง(Ote-mon), ฮิรากาวะมง(Hirakawa-mon) และคิตะฮาเนบาชิมง(Kitahanebashi-mon) ตัวพระตำหนักเป็นอาคารคอนกรีตทรงเตี้ยกว้างสร้างด้วยหินแกรนิตและบะซอลต์จากภูเขาไฟ คลุมด้วยหลังคาสีเขียว สร้างเสร็จในปี 1970 แทนพระตำหนักไม้หลังเดิมที่ถูกระเบิดในช่วงสงครามโลกในปี 1945
พระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับของพระจักรพรรดิและพระราชวงศ์ อาณาบริเวณหลายแห่งในพระราชวังจึงมิได้เปิดให้เข้าชม แต่บางส่วนจะเปิดให้เข้าชมได้ในช่วงวันหยุดพิเศษ ตัวปราสาทสร้างตามรูปแบบในสมัยเอโดะ ล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพงหิน ทางเข้าหลักจะเป็นสะพานคู่หรือเรียกว่า นิจูบาชิ (Nijubashi) ที่สร้างได้อย่างสวยสง่างาม แต่ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปผ่าน ยกเว้นในช่วงปีใหม่และวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิที่จะเปิดให้พสกนิกร(บางคน)ข้ามมารับพระราชทานพรใกล้ๆที่ประทับ ทางด้านตะวันออกจะมีสวนดอกไม้ (Higashi Gyoen) ซึ่งจัดไว้อย่างสวยงามเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาพักผ่อนหย่อนใจได้ตลอดเวลา และเข้าไปยังเขตพระราชฐานได้ 3 ประตู จากทั้งหมด 8 ประตู คือ โอเตมง(Ote-mon), ฮิรากาวะมง(Hirakawa-mon) และคิตะฮาเนบาชิมง(Kitahanebashi-mon) ตัวพระตำหนักเป็นอาคารคอนกรีตทรงเตี้ยกว้างสร้างด้วยหินแกรนิตและบะซอลต์จากภูเขาไฟ คลุมด้วยหลังคาสีเขียว สร้างเสร็จในปี 1970 แทนพระตำหนักไม้หลังเดิมที่ถูกระเบิดในช่วงสงครามโลกในปี 1945
วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
แต่เดิมเป็นพระราชวังที่ใหญ่โตมากที่สุดของโลก สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าฟิลิปป์ ออกุสต์ ในปี ค.ศ 1204 แต่มาเสร็จในสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ปี ค.ศ 1856 รวมใช้เวลาก่อสร้างถึง 7 รัชกาล เริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่ ค.ศ 1791 ปัจจุบันพระราชวังเก่าแก่แห่งนี้ มีสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญและใหญ่โตที่สุดในปารีส ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่เก็บรักษาวัตถุโบราณต่างๆที่มีค่าและมีชื่อเสียงของโลก เช่น ภาพเขียน La Jaconde หรือภาพโมนาลิซ่า อันเป็นภาพวาดของ Léonard de Vinci จิตกรและสถาปนิกชาวอิตาเลียน
พิพิธภัณฑ์นี้เป็นตึก 3 ชั้น ประกอบด้วยห้องถึง 225 ห้อง มีลวดลายสวยงาม
เป็นอย่างยิ่ง ทางตะวันตกของพิพิธภัณฑ์ติดกับแม่น้ำแซน ภายในมีวัตถุโบราณซึ่งเป็นศิลปะอันล้ำค่าจากชาติต่างๆที่ฝรั่งเศสเคยมีอิทธิพลปกครองมาในอดีต ส่วนใหญ่ได้มาจากตะวันออกกลางและอาณานิคมจากประเทศในเอเซีย เช่น รูป La Victoire de Samothrace, Vénus de Milo
พิพิธภัณฑ์นี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันอังคารและวันหยุดของทางราชการ วันพุธและวันอาทิตย์เปิดให้เข้าชมฟรี
ในปี 1981 Monsieur Ioeh Ming Pei สถาปนิกชาวอเมริกัน ได้เริ่มโครงการสร้างทางเข้าพิพิธภัณฑ์เป็นรูปปิรามิดแผ่นแก้ว ครอบคลุมเนื้อที่บนลาน Napoléon
เพื่อเป็นจุดรวมของทางเข้าพิพิธภัณฑ์อันเป็นศูนย์กลางที่ให้ข้อมูลในการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ใช้เป็นสถานที่นัดพบ ประชาสัมพันธ์ จุดเริ่มต้นของการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีที่สำหรับนั่งพักผ่อน แผนกรับฝากของ ที่ทำการไปรษณีย์ ที่รับแลกเปลี่ยนเงิน สำนักงานท่องเที่ยว แผนกต้อนรับ ห้องประชุม เอนกประสงค์ขนาด 430 ที่นั่ง ห้องสมุด ร้านค้า ภัตตาคาร รวมถึงแผนกบริหารงานบุคคล ห้องเก็บของ ห้องสำหรับงานบูรณะปฏิสังขรณ์ ห้องปฎิบัติการทดลองด้วย การก่อสร้างทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี 1995 รวมเวลา 14 ปี
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552
วัดพระเมรุ
วัดพระเมรุ ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม บริเวณสวนนันทอุทยาน ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ 3 กิโลเมตร อยู่ติดกับตลาดปฐมมงคล[1]
ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะทางกายภาพเดิมเป็นมูลดินกลมมีขนาดความกว้าง 8 เมตร สูง 10 เมตร ปกคลุมด้วยต้นหญ้าและต้นไม้ใหญ่อย่างหนาแน่น แต่ในปัจจุบันกลายเป็นซากโบราณสถานที่มีกองอิฐซ้อนกันขึ้นไปหลายชั้นผสมกับมูลดิน โดยมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่กลางโบราณสถานนับสิบต้นประกอบกับต้นหญ้าขึ้นรกรุงรัง ส่งผลให้ทัศนียภาพของโบราณสถานแห่งนี้ดูทรุดโทรมยิ่งนัก
[แก้] ประวัติ
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระเมรุเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม มีนาคม 2478 หน้า 3686[1] เดิมเป็นวัดเก่าแก่แต่ร้างมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยที่เมืองนครปฐมโบราณถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง โดยมีการเล่าขานเป็นตำนานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดแห่งนี้ เช่น ตำนานปู่โสมที่เฝ้าปกป้องรักษา หรือโพรงที่ชาวบ้านลักลอบขุดกรุซึ่งกล่าวกันว่าเป็นอุโมงค์ที่สามารถลอดทะลุไปยังวัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม ได้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2453 - 2468) ได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดพระเมรุ” จากลักษณะสัณฐานเดิมที่มีแต่ส่วนของฐานเป็นซากอิฐหักพัง ทำให้ชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวคิดว่าเป็นพระเมรุของพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ
ก่อนการขุดค้นวัดพระเมรุได้มีการรื้อทำลายโบราณสถานแห่งนี้หลายครั้ง ทั้งการขุดค้นหาสมบัติ การนำอิฐไปถมถนน และการขนอิฐไปสร้างสิ่งก่อสร้างในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. 2481 - 2482 จึงได้รับการขุดค้นและขุดแต่งโดยกรมศิลปากรร่วมกับสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (École française d'Extrême-Orient (EFEO)) ในความดูแลของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ นายปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont)[2] นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวฝรั่งเศสแห่งสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ ผลการขุดค้นในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขปริศนาเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันโบราณสถานวัดพระเมรุได้ขาดการบำรุงรักษาให้คงสภาพของโบราณสถานที่ได้ขุดแต่งเอาไว้ในครั้งอดีต ทำให้มีต้นไม้ขึ้นเป็นพงรกรุงรังดังที่เห็นจากสภาพในปัจจุบัน
ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะทางกายภาพเดิมเป็นมูลดินกลมมีขนาดความกว้าง 8 เมตร สูง 10 เมตร ปกคลุมด้วยต้นหญ้าและต้นไม้ใหญ่อย่างหนาแน่น แต่ในปัจจุบันกลายเป็นซากโบราณสถานที่มีกองอิฐซ้อนกันขึ้นไปหลายชั้นผสมกับมูลดิน โดยมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่กลางโบราณสถานนับสิบต้นประกอบกับต้นหญ้าขึ้นรกรุงรัง ส่งผลให้ทัศนียภาพของโบราณสถานแห่งนี้ดูทรุดโทรมยิ่งนัก
[แก้] ประวัติ
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระเมรุเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม มีนาคม 2478 หน้า 3686[1] เดิมเป็นวัดเก่าแก่แต่ร้างมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยที่เมืองนครปฐมโบราณถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง โดยมีการเล่าขานเป็นตำนานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดแห่งนี้ เช่น ตำนานปู่โสมที่เฝ้าปกป้องรักษา หรือโพรงที่ชาวบ้านลักลอบขุดกรุซึ่งกล่าวกันว่าเป็นอุโมงค์ที่สามารถลอดทะลุไปยังวัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม ได้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2453 - 2468) ได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดพระเมรุ” จากลักษณะสัณฐานเดิมที่มีแต่ส่วนของฐานเป็นซากอิฐหักพัง ทำให้ชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวคิดว่าเป็นพระเมรุของพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ
ก่อนการขุดค้นวัดพระเมรุได้มีการรื้อทำลายโบราณสถานแห่งนี้หลายครั้ง ทั้งการขุดค้นหาสมบัติ การนำอิฐไปถมถนน และการขนอิฐไปสร้างสิ่งก่อสร้างในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. 2481 - 2482 จึงได้รับการขุดค้นและขุดแต่งโดยกรมศิลปากรร่วมกับสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (École française d'Extrême-Orient (EFEO)) ในความดูแลของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ นายปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont)[2] นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวฝรั่งเศสแห่งสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ ผลการขุดค้นในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขปริศนาเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันโบราณสถานวัดพระเมรุได้ขาดการบำรุงรักษาให้คงสภาพของโบราณสถานที่ได้ขุดแต่งเอาไว้ในครั้งอดีต ทำให้มีต้นไม้ขึ้นเป็นพงรกรุงรังดังที่เห็นจากสภาพในปัจจุบัน
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552
วันสารทจีน
สารทจีน เป็นเทศกาลสำคัญทั้งของลัทธิขงจื๊อ พุทธศาสนา ศาสนาเต๋า และชาวบ้าน ในอดีตเป็นเทศกาลใหญ่มาก แต่ปัจจุบันลดความสำคัญลง นอกจากในวัดพุทธและวัดเต๋าแล้ว แพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวบ้านจีนภาคใต้ ตั้งแต่มณฑลหูเป่ย อานฮุย เจ้อเจียง ลงมาจนถึงกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ในหมู่ชาวจีนแคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และไหหลำ ยังคงเป็นเทศกาลใหญ่ เป็น ๑ ใน ๘ เทศกาลสำคัญประจำปีของจีนแต้จิ๋ว ในไทยสารทจีนเป็นเทศกาลจีนสำคัญอันดับ ๒ รองจากตรุษจีนเท่านั้น
เทศกาลนี้มีชื่อเป็นทางการว่า "จงหยวนเจี๋ย" แต้จิ๋วว่า "ตงหง่วงโจ็ย" แต่ชื่อทั่วไปนิยมเรียกว่า แต้จิ๋วอ่านว่า "ชิกว็วยะปั่ว" แปลว่า "(เทศกาล) กลางเดือน ๗" นอกจากนี้ยังมีชื่อที่นิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "กุ่ยเจี๋ย ( กุ๋ยโจ็ย)" แปลว่า "เทศกาลผี" ชื่อทั้งสามนี้ถ้าคุยกับคนจีนภาคใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ทุกคนจะรู้จักดี แต่คนปักกิ่งจะไม่รู้จักเลย เพราะเทศกาลนี้ปัจจุบันชาวบ้านจีนภาคเหนือไม่ได้ทำแล้ว คงเหลือแต่ในวัดพุทธและเต๋าเท่านั้น
คำ "จงหยวน " ที่เป็นชื่อเทศกาลนี้เป็นคนละคำกับ "จงหยวน " ซึ่งหมายถึง "ดินแดนลุ่มแม่น้ำฮวงโหตอนกลางและตอนล่างอันเป็นศูนย์กลางอารยธรรมจีน" จงหยวนที่เป็นชื่อเทศกาลได้มาจากชื่อเทพประจำเทศกาลนี้ของศาสนาเต๋า
วันเทศกาลสารทจีนคือวันเทวสมภพของเทพจงหยวน จึงเรียกว่า "จงหยวนเจี๋ย" (ตงหง่วงโจ็ย) แปลว่า เทศกาลเทพจงหยวน ตรงกับวันกลางเดือน ๗ จึงเรียกว่า "ชีเย่ว์ปั้น" ( ชิกว็วยะปั่ว) หมายถึงเทศกาลกลางเดือน ๗ แต่เทศกาลนี้มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นเดือน ๗ คือวัน ๑ ค่ำ เป็นวัน "เปิดยมโลก" ให้ผีทั้งหลายออกมารับการเซ่นสังเวย วัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันไหว้ใหญ่ทั้งผีบรรพชนและผีไม่มีญาติ วันสิ้นเดือน ๗ (๓๐ ค่ำ หรือแรม ๑๕ ค่ำ) เป็นวัน "ปิดประตูยมโลก" ผีทั้งที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดต้องกลับเข้ายมโลก วันต้นเดือน สิ้นเดือน มีพิธีไหว้ด้วย และมีพิธีทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้เปตชนครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ๗ อีกต่างหาก กิจกรรมทั้งหมดล้วนแต่เกี่ยวกับผี คนจีนจึงถือว่าเดือน ๗ เป็น "เดือนผี" และเทศกาลกลางเดือน ๗ คือ "เทศกาลผี" แต่ที่คนไทยเรียกสารทจีนเพราะวันนี้ใกล้กับวันสารทไทย อีกทั้งอยู่ในช่วงต้นฤดูสารทหรือชิวเทียน (Autumn) ของจีนอีกด้วย
เทศกาลจงหยวนมีที่มาจากประเพณีจีนโบราณ คือวันอุลลัมพนบูชาของพุทธศาสนาและความเชื่อของศาสนาเต๋ารวมกันอย่างกลมกลืน วัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณเป็นที่มาของลัทธิขงจื๊อและคตินิยมพื้นฐานของคนจีนตลอดมา ลัทธิขงจื๊อจึงเป็นศาสนาสำคัญที่สุดของจีนไปโดยปริยาย แต่ก็เข้ากันได้กับศาสนาพุทธและศาสนาเต๋าซึ่งเข้ามาแพร่หลายและเกิดขึ้นในภายหลัง จนในวิถีชีวิตคนจีนมีอิทธิพลของ ๓ ศาสนานี้อยู่คละเคล้ากันไป
เทพจงหยวน เทพประจำเทศกาลสารทจีน
เทพจงหยวนเป็นเทพประจำเทศกาลสารทจีน ชื่อเต็มว่า "จงหยวนต้าตี้-อธิบดีแห่งคืนเพ็ญกลาง" หรือ "ตี้กวนต้าตี้-ธรณิศมหาเสนาธิบดี" เรียกสั้นๆ ว่า "ตี้กวน-ธรณิศเสนา" มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทพแห่งมหาบรรพตทั้งห้า (ของจีน) ภูเขาและแม่น้ำ เจ้าที่ประจำเมืองทุกเมือง เทพในเมืองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตรวจดูโชคเคราะห์ของสรรพสัตว์ ตรวจบัญชีความดีความชั่วของมนุษย์ และหน้าที่สำคัญคือให้อภัยโทษแก่ผู้รู้ผิดกระทำพลีบูชาท่าน วัน15 ค่ำ เดือน 7ท่านจะลงมาตรวจบัญชีชั่วดีของมนุษย์แล้วประทานอภัยให้
นอกจากนี้ท่านยังต้องมาเป็นประธานดูแลการไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งคนเป็นผู้ไหว้ โดยท่านจะไปเจรจากับ "ลี่" ราชาของผีพวกนี้ ให้ช่วยคุมดูแลบริวารไม่ให้ทำร้ายมนุษย์ ฉะนั้นผู้คนจึงกินเจ ทำพิธีเซ่นสรวงบูชาท่าน เซ่นไหว้บรรพชน เพื่อให้ท่านอภัยโทษให้ทั้งแก่ตนเองและวิญญาณบรรพชน ปัจจุบันในไต้หวันนิยมไหว้ท่านตั้งแต่ยามแรกของวัน 15 ค่ำ จีนแบ่งวันคืนออกเป็น 12 ยาม ยามละ 2 ชั่วโมง ยามแรกคือช่วง 5 ทุ่มถึงตี1 (23.00-01.00 น.) ยามแรกของวัน15 ค่ำ ก็คือช่วง23.00-01.00 น. ของคืนวัน14 ค่ำ เพราะจีนเริ่มวันใหม่ตอน 5 ทุ่ม ถ้าไม่ไหว้ตอน 5 ทุ่ม ก็มาไหว้ตอนเที่ยงวันของวัน 15 ค่ำ หลังจากไหว้บรรพบุรุษไปแล้ว ในจีนแต่ละถิ่นเวลาไหว้ต่างกัน บางถิ่นก็ไม่ได้ไหว้แล้ว ส่วนในไทยไม่ปรากฏมีพิธีไหว้เทพจงหยวนโดยเฉพาะ ประเพณีนิยมการไหว้ในวันเทศกาลจีนของไทยจะไหว้เจ้าและเทวดาทั้งหมดตอนเช้า อนึ่งคนจีนในไทยนับถือ "ตี่จู๋เอี๊ย" คือ "เจ้าที่" มาก มีศาลเล็กๆ ตั้งอยู่ในบ้านแทบทุกบ้าน ตี่จู๋เอี๊ยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตี้กวน (ธรณิศเสนา) หรือเทพจงหยวน จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนของท่านประจำอยู่ทุกบ้าน การไหว้ตี่จู๋เอี๊ยจึงพออนุโลมแทนการไหว้เทพจงหยวนได้
ตำนานเทศกาลสารทจีน
ตำนานที่ 1
ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เซ็งฮีไต๋ตี๋ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง
ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ
ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ท้าวมัจจุราช) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน
การไหว้ในเทศกาลสารทจีน
กระดาษเงินกระดาษทอง
การไหว้ในเทศกาลสารทจีนแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้
1. ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่
จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็ขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง
2. ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ
คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง
3. ชุดสำหรับไหว้วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ
วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้ ขนมที่ใช้ไหว้
ของไหว้ในเทศกาลสารทจีน
ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี
ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ
เทศกาลนี้มีชื่อเป็นทางการว่า "จงหยวนเจี๋ย" แต้จิ๋วว่า "ตงหง่วงโจ็ย" แต่ชื่อทั่วไปนิยมเรียกว่า แต้จิ๋วอ่านว่า "ชิกว็วยะปั่ว" แปลว่า "(เทศกาล) กลางเดือน ๗" นอกจากนี้ยังมีชื่อที่นิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "กุ่ยเจี๋ย ( กุ๋ยโจ็ย)" แปลว่า "เทศกาลผี" ชื่อทั้งสามนี้ถ้าคุยกับคนจีนภาคใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ทุกคนจะรู้จักดี แต่คนปักกิ่งจะไม่รู้จักเลย เพราะเทศกาลนี้ปัจจุบันชาวบ้านจีนภาคเหนือไม่ได้ทำแล้ว คงเหลือแต่ในวัดพุทธและเต๋าเท่านั้น
คำ "จงหยวน " ที่เป็นชื่อเทศกาลนี้เป็นคนละคำกับ "จงหยวน " ซึ่งหมายถึง "ดินแดนลุ่มแม่น้ำฮวงโหตอนกลางและตอนล่างอันเป็นศูนย์กลางอารยธรรมจีน" จงหยวนที่เป็นชื่อเทศกาลได้มาจากชื่อเทพประจำเทศกาลนี้ของศาสนาเต๋า
วันเทศกาลสารทจีนคือวันเทวสมภพของเทพจงหยวน จึงเรียกว่า "จงหยวนเจี๋ย" (ตงหง่วงโจ็ย) แปลว่า เทศกาลเทพจงหยวน ตรงกับวันกลางเดือน ๗ จึงเรียกว่า "ชีเย่ว์ปั้น" ( ชิกว็วยะปั่ว) หมายถึงเทศกาลกลางเดือน ๗ แต่เทศกาลนี้มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นเดือน ๗ คือวัน ๑ ค่ำ เป็นวัน "เปิดยมโลก" ให้ผีทั้งหลายออกมารับการเซ่นสังเวย วัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันไหว้ใหญ่ทั้งผีบรรพชนและผีไม่มีญาติ วันสิ้นเดือน ๗ (๓๐ ค่ำ หรือแรม ๑๕ ค่ำ) เป็นวัน "ปิดประตูยมโลก" ผีทั้งที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดต้องกลับเข้ายมโลก วันต้นเดือน สิ้นเดือน มีพิธีไหว้ด้วย และมีพิธีทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้เปตชนครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ๗ อีกต่างหาก กิจกรรมทั้งหมดล้วนแต่เกี่ยวกับผี คนจีนจึงถือว่าเดือน ๗ เป็น "เดือนผี" และเทศกาลกลางเดือน ๗ คือ "เทศกาลผี" แต่ที่คนไทยเรียกสารทจีนเพราะวันนี้ใกล้กับวันสารทไทย อีกทั้งอยู่ในช่วงต้นฤดูสารทหรือชิวเทียน (Autumn) ของจีนอีกด้วย
เทศกาลจงหยวนมีที่มาจากประเพณีจีนโบราณ คือวันอุลลัมพนบูชาของพุทธศาสนาและความเชื่อของศาสนาเต๋ารวมกันอย่างกลมกลืน วัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณเป็นที่มาของลัทธิขงจื๊อและคตินิยมพื้นฐานของคนจีนตลอดมา ลัทธิขงจื๊อจึงเป็นศาสนาสำคัญที่สุดของจีนไปโดยปริยาย แต่ก็เข้ากันได้กับศาสนาพุทธและศาสนาเต๋าซึ่งเข้ามาแพร่หลายและเกิดขึ้นในภายหลัง จนในวิถีชีวิตคนจีนมีอิทธิพลของ ๓ ศาสนานี้อยู่คละเคล้ากันไป
เทพจงหยวน เทพประจำเทศกาลสารทจีน
เทพจงหยวนเป็นเทพประจำเทศกาลสารทจีน ชื่อเต็มว่า "จงหยวนต้าตี้-อธิบดีแห่งคืนเพ็ญกลาง" หรือ "ตี้กวนต้าตี้-ธรณิศมหาเสนาธิบดี" เรียกสั้นๆ ว่า "ตี้กวน-ธรณิศเสนา" มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทพแห่งมหาบรรพตทั้งห้า (ของจีน) ภูเขาและแม่น้ำ เจ้าที่ประจำเมืองทุกเมือง เทพในเมืองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตรวจดูโชคเคราะห์ของสรรพสัตว์ ตรวจบัญชีความดีความชั่วของมนุษย์ และหน้าที่สำคัญคือให้อภัยโทษแก่ผู้รู้ผิดกระทำพลีบูชาท่าน วัน15 ค่ำ เดือน 7ท่านจะลงมาตรวจบัญชีชั่วดีของมนุษย์แล้วประทานอภัยให้
นอกจากนี้ท่านยังต้องมาเป็นประธานดูแลการไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งคนเป็นผู้ไหว้ โดยท่านจะไปเจรจากับ "ลี่" ราชาของผีพวกนี้ ให้ช่วยคุมดูแลบริวารไม่ให้ทำร้ายมนุษย์ ฉะนั้นผู้คนจึงกินเจ ทำพิธีเซ่นสรวงบูชาท่าน เซ่นไหว้บรรพชน เพื่อให้ท่านอภัยโทษให้ทั้งแก่ตนเองและวิญญาณบรรพชน ปัจจุบันในไต้หวันนิยมไหว้ท่านตั้งแต่ยามแรกของวัน 15 ค่ำ จีนแบ่งวันคืนออกเป็น 12 ยาม ยามละ 2 ชั่วโมง ยามแรกคือช่วง 5 ทุ่มถึงตี1 (23.00-01.00 น.) ยามแรกของวัน15 ค่ำ ก็คือช่วง23.00-01.00 น. ของคืนวัน14 ค่ำ เพราะจีนเริ่มวันใหม่ตอน 5 ทุ่ม ถ้าไม่ไหว้ตอน 5 ทุ่ม ก็มาไหว้ตอนเที่ยงวันของวัน 15 ค่ำ หลังจากไหว้บรรพบุรุษไปแล้ว ในจีนแต่ละถิ่นเวลาไหว้ต่างกัน บางถิ่นก็ไม่ได้ไหว้แล้ว ส่วนในไทยไม่ปรากฏมีพิธีไหว้เทพจงหยวนโดยเฉพาะ ประเพณีนิยมการไหว้ในวันเทศกาลจีนของไทยจะไหว้เจ้าและเทวดาทั้งหมดตอนเช้า อนึ่งคนจีนในไทยนับถือ "ตี่จู๋เอี๊ย" คือ "เจ้าที่" มาก มีศาลเล็กๆ ตั้งอยู่ในบ้านแทบทุกบ้าน ตี่จู๋เอี๊ยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตี้กวน (ธรณิศเสนา) หรือเทพจงหยวน จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนของท่านประจำอยู่ทุกบ้าน การไหว้ตี่จู๋เอี๊ยจึงพออนุโลมแทนการไหว้เทพจงหยวนได้
ตำนานเทศกาลสารทจีน
ตำนานที่ 1
ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เซ็งฮีไต๋ตี๋ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง
ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ
ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ท้าวมัจจุราช) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน
การไหว้ในเทศกาลสารทจีน
กระดาษเงินกระดาษทอง
การไหว้ในเทศกาลสารทจีนแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้
1. ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่
จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็ขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง
2. ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ
คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง
3. ชุดสำหรับไหว้วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ
วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้ ขนมที่ใช้ไหว้
ของไหว้ในเทศกาลสารทจีน
ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี
ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)