ประวัติความเป็นมาของว่าวไทย
คำว่า”ว่าว”เป็นคำที่คนไทยทุกชนชั้นทุกสมัยคุ้นเคยและสัมผัสมาตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ข้าราชบริพารและพระมหากษัตริย์ แต่ในที่นี้ จะกล่าวถึงว่าวจุฬา-ปักเป้า ซึ่งเป็นว่าวเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งแสดงถึงศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งยังเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ในสมัยโบราณที่พระมหากษัตริย์ของไทยในอดีต ทรงโปรดปรานและจัดให้มีการแข่งขันหน้าพระที่นั่งอีกด้วย
การเล่นว่าวในประเทศไทย มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย(พ.ศ.๑๗๘๑-๑๙๘๑) คือสมัยของพ่อกรุงศรีอินทราทิตย์ (หรือพระร่วง) ว่าวที่รู้จักกันมาก ได้แก่ "ว่าวหง่าว" หรือ”ว่าวดุ๋ยดุ่ย” ซึ่งจะใช้ชักขึ้นในพิธี "แคลง" ทุกหนทุกแห่ง เป็นความเชื่อของประชาชนในสมัยนั้นว่าเพื่อเป็นการเรียกลมหรือความโชคดีให้เกิดขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "ว่าวหง่าว" เป็นว่าวที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) คำว่า “ว่าวจุฬา" ปรากฏชื่อขึ้นในสมัยนี้ และยังสามารถช่วยในการรบได้ชนะ กล่าวคือ ได้นำว่าวจุฬาขึ้นและผูกหม้อกระสุนดินดำโดยใช้ชนวนถ่วงเวลาและชักให้ข้ามไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม ทำให้เกิดระเบิดไฟไหม้ขึ้น ทหารฝ่ายอยุธยาก็เข้าเมืองได้
สมัยแผ่นดินของพระพุทธเจ้าเสือซึ่งโปรดการชกมวยแล้วยังโปรดการเล่นว่าวและคว้าจุฬาปักเป้ากับ ข้าราชบริพารเสมอๆ คำว่า "ว่าวปักเป้า" จึงเป็นว่าวอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในสมัยนี้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา
สมัยรัตนโกสินทร์ ในราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้ามาก จัดการแข่งขันกลางแจ้ง (ท้องสนามหลวงในปัจจุบัน) เป็นที่สนุกสนานเมื่อเวลาที่ว่าวสายใดชนะพระองค์ ก็ทรงโปรดพระราชทานถ้วยรางวัลให้การแข่งขันเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้นมา โดยพระองค์เสด็จเป็นองค์ประธานในการแข่งขันเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ฉะนั้นจึงจัดได้ว่าว่าวจุฬา-ปักเป้า เป็นว่าวเอกลักษณ์ของชาติไทยชาติเดียวเท่านั้นที่สามารถนำมาเล่นใช้ต่อสู้กันได้
ในปัจจุบันได้จัดการแข่งขันว่าว "จุฬา-ปักเป้า" ขึ้นเป็นประเพณีของกีฬาไทย โดยใช้ชื่อว่า "งานประเพณีกีฬาไทย" ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งจัดการแข่งขันกีฬาของไทย อาทิเช่น ตะกร้อ กระบี่กระบอง หมากรุก และที่สำคัญคือ การแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้า ซึ่งงานนี้จัดโดยสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และยังได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานของภาครัฐบาลและเอกชนอื่นๆ ร่วมกันอีกด้วย
อาวุธของว่าวที่ใช้ในการแข่งขัน
ว่าวจุฬา จะมีอาวุธติดตัวอยู่ตรงสายว่าว เรียกว่า "จำปา" ใช้สำหรับเกี่ยวเหนียงและหางของว่าวปักเป้า ทำให้ว่าวปักเป้าเสียหางหรือเหนียงเข้าเครื่อง
ว่าวปักเป้า อาวุธของว่าวปักเป้าที่ใช้ในการต่อสู้กับว่าวจุฬา เรียกว่า "เหนียง" ซึ่งประกอบด้วยสายทุ้งและสายยืน สายทุ้งจะยาวกว่าสายยืนเล็กน้อย แต่ก็ใหญ่พอที่จะครอบว่าวจุฬาได้ ซึ่งทำให้ว่าวจุฬาเสียการทรงตัวและตกลงในที่สุด
เชือกที่ใช้ในการเล่นว่าว เราเรียกเชือกชนิดนี้ว่า "ป่าน" เป็นเชือกที่สามารถบังคับว่าวได้ง่าย เมื่อเรากระตุกว่าวแต่ละครั้งแรงจะส่งถึงตัวว่าวได้ทันที แต่ถ้าเป็นเชือกไนล่อนจะยืด แรงที่กระตุกจะส่งไปถึงตัวว่าวภายหลัง ทำให้ว่าวอืด ช้า ไม่ทันกาล ผู้จับจะบังคับว่าวไม่ได้รวดเร็วในขณะที่ทำการต่อสู้ เทคนิคการทำให้ป่านมีความเหนียวและยืดหยุ่นดี สะดวกในการกระตุกและบังคับว่าวได้ดังใจของผู้ชักก็คือ การกวดป่าน
ว่าวจุฬาที่ใช้ในการแข่งขันในปัจจุบัน จะมีขนาดอกตั้งแต่ ๘๐ นิ้วขึ้นไป ส่วนว่าวปักเป้าที่ใช้แข่งขัน จะมีขนาดอก ๓๔ ๑/๒ นิ้ว
ว่าวที่ใช้ในการแข่งขัน มักจะทำว่าวให้มีความแตกต่างกัน ๓ ชนิด เพื่อจะได้เลือกใช้ตามสภาพอากาศ ๑. ว่าวชนิดแข็ง คือ การเหลาโครงว่าวให้ค่อนข้างแข็งที่จะทนต่อแรงลมได้ดี ในวันแข่งที่มีลมแรง แต่ถ้านำมาใช้ในสภาพลมอ่อน จะทำให้ว่าวหนักและตกลงมาได้ง่าย
การเล่นว่าวในประเทศไทย มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย(พ.ศ.๑๗๘๑-๑๙๘๑) คือสมัยของพ่อกรุงศรีอินทราทิตย์ (หรือพระร่วง) ว่าวที่รู้จักกันมาก ได้แก่ "ว่าวหง่าว" หรือ”ว่าวดุ๋ยดุ่ย” ซึ่งจะใช้ชักขึ้นในพิธี "แคลง" ทุกหนทุกแห่ง เป็นความเชื่อของประชาชนในสมัยนั้นว่าเพื่อเป็นการเรียกลมหรือความโชคดีให้เกิดขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "ว่าวหง่าว" เป็นว่าวที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) คำว่า “ว่าวจุฬา" ปรากฏชื่อขึ้นในสมัยนี้ และยังสามารถช่วยในการรบได้ชนะ กล่าวคือ ได้นำว่าวจุฬาขึ้นและผูกหม้อกระสุนดินดำโดยใช้ชนวนถ่วงเวลาและชักให้ข้ามไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม ทำให้เกิดระเบิดไฟไหม้ขึ้น ทหารฝ่ายอยุธยาก็เข้าเมืองได้
สมัยแผ่นดินของพระพุทธเจ้าเสือซึ่งโปรดการชกมวยแล้วยังโปรดการเล่นว่าวและคว้าจุฬาปักเป้ากับ ข้าราชบริพารเสมอๆ คำว่า "ว่าวปักเป้า" จึงเป็นว่าวอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในสมัยนี้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา
สมัยรัตนโกสินทร์ ในราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้ามาก จัดการแข่งขันกลางแจ้ง (ท้องสนามหลวงในปัจจุบัน) เป็นที่สนุกสนานเมื่อเวลาที่ว่าวสายใดชนะพระองค์ ก็ทรงโปรดพระราชทานถ้วยรางวัลให้การแข่งขันเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้นมา โดยพระองค์เสด็จเป็นองค์ประธานในการแข่งขันเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ฉะนั้นจึงจัดได้ว่าว่าวจุฬา-ปักเป้า เป็นว่าวเอกลักษณ์ของชาติไทยชาติเดียวเท่านั้นที่สามารถนำมาเล่นใช้ต่อสู้กันได้
ในปัจจุบันได้จัดการแข่งขันว่าว "จุฬา-ปักเป้า" ขึ้นเป็นประเพณีของกีฬาไทย โดยใช้ชื่อว่า "งานประเพณีกีฬาไทย" ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งจัดการแข่งขันกีฬาของไทย อาทิเช่น ตะกร้อ กระบี่กระบอง หมากรุก และที่สำคัญคือ การแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้า ซึ่งงานนี้จัดโดยสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และยังได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานของภาครัฐบาลและเอกชนอื่นๆ ร่วมกันอีกด้วย
อาวุธของว่าวที่ใช้ในการแข่งขัน
ว่าวจุฬา จะมีอาวุธติดตัวอยู่ตรงสายว่าว เรียกว่า "จำปา" ใช้สำหรับเกี่ยวเหนียงและหางของว่าวปักเป้า ทำให้ว่าวปักเป้าเสียหางหรือเหนียงเข้าเครื่อง
ว่าวปักเป้า อาวุธของว่าวปักเป้าที่ใช้ในการต่อสู้กับว่าวจุฬา เรียกว่า "เหนียง" ซึ่งประกอบด้วยสายทุ้งและสายยืน สายทุ้งจะยาวกว่าสายยืนเล็กน้อย แต่ก็ใหญ่พอที่จะครอบว่าวจุฬาได้ ซึ่งทำให้ว่าวจุฬาเสียการทรงตัวและตกลงในที่สุด
เชือกที่ใช้ในการเล่นว่าว เราเรียกเชือกชนิดนี้ว่า "ป่าน" เป็นเชือกที่สามารถบังคับว่าวได้ง่าย เมื่อเรากระตุกว่าวแต่ละครั้งแรงจะส่งถึงตัวว่าวได้ทันที แต่ถ้าเป็นเชือกไนล่อนจะยืด แรงที่กระตุกจะส่งไปถึงตัวว่าวภายหลัง ทำให้ว่าวอืด ช้า ไม่ทันกาล ผู้จับจะบังคับว่าวไม่ได้รวดเร็วในขณะที่ทำการต่อสู้ เทคนิคการทำให้ป่านมีความเหนียวและยืดหยุ่นดี สะดวกในการกระตุกและบังคับว่าวได้ดังใจของผู้ชักก็คือ การกวดป่าน
ว่าวจุฬาที่ใช้ในการแข่งขันในปัจจุบัน จะมีขนาดอกตั้งแต่ ๘๐ นิ้วขึ้นไป ส่วนว่าวปักเป้าที่ใช้แข่งขัน จะมีขนาดอก ๓๔ ๑/๒ นิ้ว
ว่าวที่ใช้ในการแข่งขัน มักจะทำว่าวให้มีความแตกต่างกัน ๓ ชนิด เพื่อจะได้เลือกใช้ตามสภาพอากาศ ๑. ว่าวชนิดแข็ง คือ การเหลาโครงว่าวให้ค่อนข้างแข็งที่จะทนต่อแรงลมได้ดี ในวันแข่งที่มีลมแรง แต่ถ้านำมาใช้ในสภาพลมอ่อน จะทำให้ว่าวหนักและตกลงมาได้ง่าย
๒. ว่าวชนิดกลาง คือ การเหลาโครงว่าวไม่แข็งจนเกินไป ไม่อ่อนจนเกินไป ใช้ในวันที่สภาพลมแรงปานกลาง ๓. ว่าวชนิดอ่อน คือ การเหลาโครงว่าวให้อ่อนกว่าว่าวชนิดกลางลงมาอีก เพื่อใช้ให้กับสภาพลมอ่อน ช่วยให้ว่าวขึ้นได้ง่ายในสภาพลมอ่อน
ฉะนั้นในการแข่งขันว่าวแต่ละครั้ง สายว่าวที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องเตรียมว่าวมาให้ครบทั้ง ๓ ชนิด เพื่อสะดวกในการชักให้ขึ้น และบังคับว่าวให้ได้ดีตามสภาพอากาศ ว่าวแต่ละชนิดจะมีกี่ตัวก็ได้ ในการแข่งขันไม่จำกัดจำนวน ยิ่งสายว่าวของใครมีว่าวมากก็ยิ่งดี ก็ยิ่งได้เปรียบคู่ต่อสู้ เพราะในการแข่งขันจะมีว่าวหักบ้าง ฉีกขาดบ้าง
ในการแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้า แต่ละปี ผู้แข่งขันทุกท่านได้ตระหนักและซาบซึ้งคำว่า "กีฬา" และคำที่ว่า "น้ำใจของนักกีฬา" อย่างถูกต้องแล้ว ภาพพจน์ที่ได้จะมีคุณค่าและนำความภาคภูมิใจมาสู่บรรพบุรุษของเราในอดีตและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่กาอนุรักษ์ไว้เป็นกีฬาของไทยประจำชาติเราต่อไป ฉะนั้นพวกเราซึ่งเป็นลูกหลานสืบทอดกันมา ควรอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย อันเป็นมรดกที่มีคุณค่าให้คงอยู่ไว้สืบไป
ฉะนั้นในการแข่งขันว่าวแต่ละครั้ง สายว่าวที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องเตรียมว่าวมาให้ครบทั้ง ๓ ชนิด เพื่อสะดวกในการชักให้ขึ้น และบังคับว่าวให้ได้ดีตามสภาพอากาศ ว่าวแต่ละชนิดจะมีกี่ตัวก็ได้ ในการแข่งขันไม่จำกัดจำนวน ยิ่งสายว่าวของใครมีว่าวมากก็ยิ่งดี ก็ยิ่งได้เปรียบคู่ต่อสู้ เพราะในการแข่งขันจะมีว่าวหักบ้าง ฉีกขาดบ้าง
ในการแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้า แต่ละปี ผู้แข่งขันทุกท่านได้ตระหนักและซาบซึ้งคำว่า "กีฬา" และคำที่ว่า "น้ำใจของนักกีฬา" อย่างถูกต้องแล้ว ภาพพจน์ที่ได้จะมีคุณค่าและนำความภาคภูมิใจมาสู่บรรพบุรุษของเราในอดีตและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่กาอนุรักษ์ไว้เป็นกีฬาของไทยประจำชาติเราต่อไป ฉะนั้นพวกเราซึ่งเป็นลูกหลานสืบทอดกันมา ควรอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย อันเป็นมรดกที่มีคุณค่าให้คงอยู่ไว้สืบไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น