วัดขนอนตั้งอยู่ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นที่รู้จักกันของคนทั่วไปโดยเชื่อว่าในอดีตสถานที่นี้เป็นที่ตั้งด่านเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณที่เรียกว่า “ ขนอน ” ซึ่งเป็นด่านเรียกเก็บภาษีทั้งในรูปของเงินและสิ่งของต่างๆ ผู้คนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้จึงใช้ชื่อที่ติดมาแต่เดิมและเรียกวัดนี้ว่า “ วัดขนอนโพธาวาส ” เมื่อด่านขนอนได้ถูกยกเลิกไปจึงเชื่อกันว่า สิ่งของเครื่องใช้เป็นจำนวนมากถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดขนอน
โบราณวัตถุจำนวนมากซึ่งรวบรวมไว้ที่วัดขนอนมีหลายประเภท เช่น เครื่องลายคราม ชามเบญจรงค์ พระพุทธรูปสมัยต่างๆ สมุดข่อย คัมภีร์ใบลาน กล่องใส่คัมภีร์ ภาพพระบฏ และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน แต่สิ่งที่ทำให้วัดขนอนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือ “ หนังใหญ่ ” ผู้ที่ริเริ่มจัดทำขึ้นคือ พระครูศรัทธาสุนทร หรือ หลวงปู่กล่อม (พ.ศ. ๒๓๙๑-๒๔๘๕) อดีตเจ้าอาวาสวัดขนอนร่วมด้วยครูอั๋ง ช่างจาด ช่างจ๊ะ และช่างพ่วง หนังใหญ่ซึ่งเป็นสมบัติของวัดขนอนที่มีมาแต่เดิมจำนวนทั้งหมด ๓๑๓ ตัว จัดเป็นคณะหนังใหญ่ที่มีจำนวนตัวหนังมากที่สุดและมีความงดงามสมบูรณ์ที่สุด
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำริขอให้วัดขนอนเก็บรักษาหนังใหญ่ชุดเดิมที่อายุนับร้อยปีไว้เพื่อเป็นสมบัติของชาติสืบต่อไปและจัดสร้างหนังใหญ่ชุดใหม่เพื่อใช้เล่นแทนชุดเดิมที่มีอายุร้อยกว่าปี
โครงการจัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ของวัดขนอนได้รับความร่วมมือจาก ๓ ฝ่าย คือ มหาวิทยาลัยศิลปากรนำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สน สีมาตรัง เป็นหัวหน้าฝ่ายงานช่างทำหน้าที่จัดทำตัวหนังใหญ่ทุกตัวและควบคุมโครงการทั้งหมด รวมทั้งได้นาย วาที ทรัพย์สิน บุตรชายของอาจารย์ สุชาติ ทรัพย์สิน ครูหนังและเจ้าของคณะหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาสาธิตกรรมวิธีและควบคุมการปรุหนังใหญ่ของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีและคณะกรรมการจังหวัดทำหน้าที่ประสานงานกับวัดขนอน และมหาวิทยาลัยศิลปากรในการจัดประชุมและการจัดหาทุน ส่วนพระครูสังฆบริบาล เจ้าอาวาสวัดขนอนในขณะนั้นและคณะกรรมการวัดทำหน้าที่ประสานงานกับจังหวัดในการนำหนังใหญ่ออกแสดงเพื่อหาทุนเข้าโครงการ
การไหว้ครูตัวหนังเจ้าก่อนการละเล่นหนังใหญ่
ในปัจจุบันวัดขนอนจัดทำพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ขึ้น โดยคัดเลือกตัวหนังใหญ่ชุดเดิมมาจัดนิทรรศการวัดประมาณ ๖๐ ตัว และมีการละเล่นหนังใหญ่ทุกวันเสาร์เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยผู้เป็นแม่งานในการต่อลมหายใจให้หนังใหญ่วัดขนอนคือ พระอธิการนุชิต วชิรวุฑโฒ (ลิ้นทอง) เจ้าอาวาสวัดขนอนรูปปัจจุบัน
แต่การดำเนินงานก็ประสบปัญหาที่สำคัญคือ ขาดผู้ที่สมัครใจที่จะมาเป็นผู้สืบทอดและผู้แสดงหนังใหญ่ เพราะปัจจุบันส่วนใหญ่คนที่มาเป็นทำหน้าที่เป็นผู้แสดงหนังใหญ่มักเป็นเด็กนักเรียนในชุมชนที่ต้องการหารายได้ระหว่างเรียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวแต่ไม่มีความสนใจอย่างแท้จริง รวมทั้งการแสดงหนังใหญ่เป็นการแสดงกึ่งพิธีกรรมที่ต้องใช้ผู้แสดงเป็นผู้ชายล้วน แต่ในปัจจุบันอนุโลมได้ให้ผู้หญิงร่วมแสดงได้หากมีความสนใจโดยให้แสดงเป็นตัวละครหญิง ส่วนนักเรียนที่มาชมหนังใหญ่กับทางโรงเรียนนั้นก็มาชมเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในโรงเรียนเท่านั้น
นอกจากนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณวัดขนอนก็ไม่นิยมชมการแสดงประเภทนี้เท่าใดนัก เนื่องจากอิทธิพลของความบันเทิงประเภทอื่นๆ เช่น การชมรายการโทรทัศน์ การชมภาพยนตร์และการฟังเพลง จะเห็นได้จากวันสงกรานต์เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๘ ที่ผ่านมาทางวัดขนอนได้จัดการละเล่นหนังใหญ่ร่วมกับวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี และจัดฉายหนังกลางแปลงที่ลานกลางแจ้งของวัดขนอน ปรากฏว่ามีผู้ชมหนังกลางแปลงมากกว่าการละเล่นหนังใหญ่จากทั้งสองวัด
งบประมาณที่ใช้ในกิจการหนังใหญ่วัดขนอนนั้นมีจำนวนจำกัดเนื่องจากผู้ให้สนับสนุนมีจำนวนน้อยรายทำให้ไม่สามารถดำเนินการสนับสนุนเผยแพร่ได้อย่างเต็มรูปแบบ เช่น ไม่สามารถให้เงินค่าตอบแทนแก่มัคคุเทศก์ได้ในกรณีที่นำผู้ที่สนใจมาชมพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่และการละเล่นหนังใหญ่ นอกจากคณะผู้สนใจในงานศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจังแล้วก็ไม่มีคณะทัวร์จากบริษัทนำเที่ยวนำผู้สนใจมาเยี่ยมชมวัดขนอนแต่อย่างใด
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้งานสืบทอดมหรสพหนังใหญ่วัดขนอนเป็นงานที่ยากลำบาก และทำให้พระอธิการนุชิต วชิรวุฑโฒ เจ้าอาวาส พยายามจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดขนอนขึ้นอีกทางหนึ่งเพื่อเป็นรักษาและสืบทอดสมบัติของวัดขนอนซึ่งเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของการบันทึกประวัติศาสตร์และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ผู้คนในชุมชนรับรู้และเล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมในชุมชนของตนมากขึ้นกว่าแต่เดิม
โบราณวัตถุจำนวนมากซึ่งรวบรวมไว้ที่วัดขนอนมีหลายประเภท เช่น เครื่องลายคราม ชามเบญจรงค์ พระพุทธรูปสมัยต่างๆ สมุดข่อย คัมภีร์ใบลาน กล่องใส่คัมภีร์ ภาพพระบฏ และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน แต่สิ่งที่ทำให้วัดขนอนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือ “ หนังใหญ่ ” ผู้ที่ริเริ่มจัดทำขึ้นคือ พระครูศรัทธาสุนทร หรือ หลวงปู่กล่อม (พ.ศ. ๒๓๙๑-๒๔๘๕) อดีตเจ้าอาวาสวัดขนอนร่วมด้วยครูอั๋ง ช่างจาด ช่างจ๊ะ และช่างพ่วง หนังใหญ่ซึ่งเป็นสมบัติของวัดขนอนที่มีมาแต่เดิมจำนวนทั้งหมด ๓๑๓ ตัว จัดเป็นคณะหนังใหญ่ที่มีจำนวนตัวหนังมากที่สุดและมีความงดงามสมบูรณ์ที่สุด
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำริขอให้วัดขนอนเก็บรักษาหนังใหญ่ชุดเดิมที่อายุนับร้อยปีไว้เพื่อเป็นสมบัติของชาติสืบต่อไปและจัดสร้างหนังใหญ่ชุดใหม่เพื่อใช้เล่นแทนชุดเดิมที่มีอายุร้อยกว่าปี
โครงการจัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ของวัดขนอนได้รับความร่วมมือจาก ๓ ฝ่าย คือ มหาวิทยาลัยศิลปากรนำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สน สีมาตรัง เป็นหัวหน้าฝ่ายงานช่างทำหน้าที่จัดทำตัวหนังใหญ่ทุกตัวและควบคุมโครงการทั้งหมด รวมทั้งได้นาย วาที ทรัพย์สิน บุตรชายของอาจารย์ สุชาติ ทรัพย์สิน ครูหนังและเจ้าของคณะหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาสาธิตกรรมวิธีและควบคุมการปรุหนังใหญ่ของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีและคณะกรรมการจังหวัดทำหน้าที่ประสานงานกับวัดขนอน และมหาวิทยาลัยศิลปากรในการจัดประชุมและการจัดหาทุน ส่วนพระครูสังฆบริบาล เจ้าอาวาสวัดขนอนในขณะนั้นและคณะกรรมการวัดทำหน้าที่ประสานงานกับจังหวัดในการนำหนังใหญ่ออกแสดงเพื่อหาทุนเข้าโครงการ
การไหว้ครูตัวหนังเจ้าก่อนการละเล่นหนังใหญ่
ในปัจจุบันวัดขนอนจัดทำพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ขึ้น โดยคัดเลือกตัวหนังใหญ่ชุดเดิมมาจัดนิทรรศการวัดประมาณ ๖๐ ตัว และมีการละเล่นหนังใหญ่ทุกวันเสาร์เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยผู้เป็นแม่งานในการต่อลมหายใจให้หนังใหญ่วัดขนอนคือ พระอธิการนุชิต วชิรวุฑโฒ (ลิ้นทอง) เจ้าอาวาสวัดขนอนรูปปัจจุบัน
แต่การดำเนินงานก็ประสบปัญหาที่สำคัญคือ ขาดผู้ที่สมัครใจที่จะมาเป็นผู้สืบทอดและผู้แสดงหนังใหญ่ เพราะปัจจุบันส่วนใหญ่คนที่มาเป็นทำหน้าที่เป็นผู้แสดงหนังใหญ่มักเป็นเด็กนักเรียนในชุมชนที่ต้องการหารายได้ระหว่างเรียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวแต่ไม่มีความสนใจอย่างแท้จริง รวมทั้งการแสดงหนังใหญ่เป็นการแสดงกึ่งพิธีกรรมที่ต้องใช้ผู้แสดงเป็นผู้ชายล้วน แต่ในปัจจุบันอนุโลมได้ให้ผู้หญิงร่วมแสดงได้หากมีความสนใจโดยให้แสดงเป็นตัวละครหญิง ส่วนนักเรียนที่มาชมหนังใหญ่กับทางโรงเรียนนั้นก็มาชมเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในโรงเรียนเท่านั้น
นอกจากนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณวัดขนอนก็ไม่นิยมชมการแสดงประเภทนี้เท่าใดนัก เนื่องจากอิทธิพลของความบันเทิงประเภทอื่นๆ เช่น การชมรายการโทรทัศน์ การชมภาพยนตร์และการฟังเพลง จะเห็นได้จากวันสงกรานต์เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๘ ที่ผ่านมาทางวัดขนอนได้จัดการละเล่นหนังใหญ่ร่วมกับวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี และจัดฉายหนังกลางแปลงที่ลานกลางแจ้งของวัดขนอน ปรากฏว่ามีผู้ชมหนังกลางแปลงมากกว่าการละเล่นหนังใหญ่จากทั้งสองวัด
งบประมาณที่ใช้ในกิจการหนังใหญ่วัดขนอนนั้นมีจำนวนจำกัดเนื่องจากผู้ให้สนับสนุนมีจำนวนน้อยรายทำให้ไม่สามารถดำเนินการสนับสนุนเผยแพร่ได้อย่างเต็มรูปแบบ เช่น ไม่สามารถให้เงินค่าตอบแทนแก่มัคคุเทศก์ได้ในกรณีที่นำผู้ที่สนใจมาชมพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่และการละเล่นหนังใหญ่ นอกจากคณะผู้สนใจในงานศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจังแล้วก็ไม่มีคณะทัวร์จากบริษัทนำเที่ยวนำผู้สนใจมาเยี่ยมชมวัดขนอนแต่อย่างใด
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้งานสืบทอดมหรสพหนังใหญ่วัดขนอนเป็นงานที่ยากลำบาก และทำให้พระอธิการนุชิต วชิรวุฑโฒ เจ้าอาวาส พยายามจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดขนอนขึ้นอีกทางหนึ่งเพื่อเป็นรักษาและสืบทอดสมบัติของวัดขนอนซึ่งเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของการบันทึกประวัติศาสตร์และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ผู้คนในชุมชนรับรู้และเล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมในชุมชนของตนมากขึ้นกว่าแต่เดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น