ลิ้นจี่ เป็นไม้ผลที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Litchi chinensis, Somn สามารถขึ้นได้งอกงามในดินร่วนเหนียวหรือดินร่วน ปนทราย มีความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (PH) ประมาณ ๖ - ๗ มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปีประมาณ ๔๐ - ๖๐ นิ้วต่อปี มีอากาศหนาว ปานกลางจะช่วยให้ลิ้นจี่ออกดอกและติดผลมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทยมีดินที่อุดมสมบูรณ์อากาศหนาวพอสมควร จึงเป็นทำเลที่เหมาะแก่การปลูกลิ้นจี่
พันธุ์ลิ้นจี่ที่นิยมมี ๒ พันธุ์ คือ
๑. พันธุ์เบา เริ่มตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลสุกใช้เวลาประมาณ ๔๕ - ๕๐ วัน ได้แก่ พันธุ์แห้ว พันธุ์กระโหลกใบยาว
๒. พันธุ์หนัก เริ่มตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลสุกใช้เวลาประมาณ ๗๐ - ๗๕ วัน ได้แก่ พันธุ์กระโถนท้องพระโรง พันธุ์กระโนใบไหม้
สำหรับภาคกลางนิยมปลูกพันธุ์ค่อมและพันธุ์ลำเจียก ส่วนภาคเหนือนิยมปลูกพันธุ์โอวเฮียะ พันธุ์ฮงฮวย และพันธุ์จักรพรรดิ์
การขยายพันธุ์ส่วนมากใช้วิธีตอนกิ่งทั้งสิ้น ซึ่งได้ผลถึง ๙๐ -๙๕ % การเตรียมดินหากพื้นที่ต่ำและน้ำขังควรปลูกแบบ ยกร่องถ้าเป็นที่ราบดอนให้ปลูกแบบสวน ในเว้นระหว่างแถว ๑๒ x ๑๒ เมตร ขุดหลุมกว้างลึกยาว ๑ เมตร ผสมปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมักกับ ดินส่วนบนแล้วกลบลงจนเต็มหลุม ใช้ไม้ปักผูกเชือกยึดกับลำต้นป้องกันไม่ให้ต้นโยกไปมา และควรทำร่มบังแดด ในระยะหนึ่งก่อน ระยะแรกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ในหน้าฝนระวังอย่าให้น้ำท่วม ระยะลิ้นจี่ยังเล็ก (อายุ ๓ - ๔ ปี) ควรใช้ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ โดยโรยปุ๋ยรอบๆ ทรงพุ่มใบแล้วพรวนกลบต้นละ ๒๐๐ - ๓๐๐ กรัมต่อปี ส่วนที่ให้ผลแล้วควรใส่ ปุ๋ยพวกฟอสเฟตเพิ่มให้อีกต้นละ ประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ กรัม
ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วควบคู่กันไปด้วย เป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ควรตัดแต่งกิ่งที่เบียดเสียดกัน อยู่และกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ตอนกลางพุ่มที่ไม่ได้รับแสงแดดออก และควรปลูกต้นไม้รอบบริเวณสวน เช่น ต้นไผ่ ต้นสน ช่วยบังลมให้
ลิ้นจี่เริ่มออกผลเมื่ออายุ ๕ - ๖ ปี ผลมี ๒ รุ่น รุ่นแรกออกก่อน ผลัดใบ รุ่นหลังผลัดใบแล้วออกดอก การเก็บลิ้นจี่จะเลือกเก็บ เฉพาะช่อที่แก่สุกเต็มที่ มีสีแดงจัด ซึ่งลิ้นจี่จะสุกไม่พร้อมกัน เมื่อเก็บผลมาแล้วก็ตัดแต่งช่อให้สะอาดเก็บไว้ในที่มีลมโกรก หรือห้องที่มีอากาศโปร่ง
โรคและศัตรูของลิ้นจี่มีน้อย ศัตรูสำคัญคือ ไรแดง หรือแมงมุมแดงที่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ จะเกิดขึ้นในระยะ ที่ลิ้นจี่กำลังแตกใบอ่อน ป้องกันโดยใช้กำมะันผง ๑๐๐ กรัม ผสมน้ำ ๑ ปีบ ๑๒๐ ลิตร ฉีดพ่นตามที่ลิ้นจี่กำลังแตกใบใหม่ทุก ๑๐ -๑๕ วัน
ลิ้นจี่ปลูกในประเทศไทยมานานแล้ว สันนิษฐานว่าสวนลิ้นจี่เกิดขึ้นตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวจีนเป็นผู้นำเอาเข้ามา ในรูปกิ่งตอนหรือผลแล้วนำมาเพาะอีกทีหนึ่ง เพราะสมัยนั้นชาวจีนเข้ามาเมืองไทยมาก มีการซื้อขายสินค้าแลกเปลี่ยนกัน เชื่อว่าจะต้อง มีลิ้นจี่รวมอยู่ด้วยและคงจะมีการปรับปรุงบำรุงพันธุ์กันต่อๆ มา
ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เช่นที่อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และจังหวัดเชียงรายมีการปลูกลิ้นจี่มาก สันนิษฐานว่าพันธุ์ลิ้นจี่ ที่เข้ามาระยะหลังคงจากไต้หวัน เพราะมีหมู่บ้านที่เป็นเขตที่อยู่ของชาวจีนฮ่ออดีตทหารจีนก๊กมินตั๋งมาอาศัยอยู่ จึงได้รับความช่วย เหลือทางด้านพืชเมืองหนาว เช่น ลิ้นจี่ ท้อ และสาลี่ จากทางรัฐบาลไต้หวัน ประกอบกับโครงการหลวงมีนโยบายจะไม่ให้ชาว เขาย้ายถิ่นจึงสนับสนุนให้ปลูกพืชเมืองหนาวเหล่านี้ ทำให้มีปริมาณของลิ้นจี่ที่มีคุณภาพดีเพิ่มขึ้น และลิ้นจี่ทางภาคเหนือกับลิ้นจี่ทาง ภาคกลางสุกในเวลาแตกต่างกัน จึงนับว่าเป็นผลดีอย่างยิ่งแก่ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค
ลิ้นจี่นับเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของเชียงใหม่ โดยเฉพาะอำเภอฝางและแม่อายจะจัดให้มีการส่งเสริมการขายลิ้นจี่ โดยจัด "งานวันลิ้นจี่" ขึ้นทุกๆ ปี เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย ราคาลิ้นจี่ตกกิโลกรัมละ ๒๕ - ๓๐ บาท ในระยะที่ มีผลมากส่วนระยะที่มีผลน้อยก็อาจจะได้ราคาดีกว่านี้
พันธุ์ลิ้นจี่ที่นิยมมี ๒ พันธุ์ คือ
๑. พันธุ์เบา เริ่มตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลสุกใช้เวลาประมาณ ๔๕ - ๕๐ วัน ได้แก่ พันธุ์แห้ว พันธุ์กระโหลกใบยาว
๒. พันธุ์หนัก เริ่มตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลสุกใช้เวลาประมาณ ๗๐ - ๗๕ วัน ได้แก่ พันธุ์กระโถนท้องพระโรง พันธุ์กระโนใบไหม้
สำหรับภาคกลางนิยมปลูกพันธุ์ค่อมและพันธุ์ลำเจียก ส่วนภาคเหนือนิยมปลูกพันธุ์โอวเฮียะ พันธุ์ฮงฮวย และพันธุ์จักรพรรดิ์
การขยายพันธุ์ส่วนมากใช้วิธีตอนกิ่งทั้งสิ้น ซึ่งได้ผลถึง ๙๐ -๙๕ % การเตรียมดินหากพื้นที่ต่ำและน้ำขังควรปลูกแบบ ยกร่องถ้าเป็นที่ราบดอนให้ปลูกแบบสวน ในเว้นระหว่างแถว ๑๒ x ๑๒ เมตร ขุดหลุมกว้างลึกยาว ๑ เมตร ผสมปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมักกับ ดินส่วนบนแล้วกลบลงจนเต็มหลุม ใช้ไม้ปักผูกเชือกยึดกับลำต้นป้องกันไม่ให้ต้นโยกไปมา และควรทำร่มบังแดด ในระยะหนึ่งก่อน ระยะแรกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ในหน้าฝนระวังอย่าให้น้ำท่วม ระยะลิ้นจี่ยังเล็ก (อายุ ๓ - ๔ ปี) ควรใช้ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ โดยโรยปุ๋ยรอบๆ ทรงพุ่มใบแล้วพรวนกลบต้นละ ๒๐๐ - ๓๐๐ กรัมต่อปี ส่วนที่ให้ผลแล้วควรใส่ ปุ๋ยพวกฟอสเฟตเพิ่มให้อีกต้นละ ประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ กรัม
ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วควบคู่กันไปด้วย เป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ควรตัดแต่งกิ่งที่เบียดเสียดกัน อยู่และกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ตอนกลางพุ่มที่ไม่ได้รับแสงแดดออก และควรปลูกต้นไม้รอบบริเวณสวน เช่น ต้นไผ่ ต้นสน ช่วยบังลมให้
ลิ้นจี่เริ่มออกผลเมื่ออายุ ๕ - ๖ ปี ผลมี ๒ รุ่น รุ่นแรกออกก่อน ผลัดใบ รุ่นหลังผลัดใบแล้วออกดอก การเก็บลิ้นจี่จะเลือกเก็บ เฉพาะช่อที่แก่สุกเต็มที่ มีสีแดงจัด ซึ่งลิ้นจี่จะสุกไม่พร้อมกัน เมื่อเก็บผลมาแล้วก็ตัดแต่งช่อให้สะอาดเก็บไว้ในที่มีลมโกรก หรือห้องที่มีอากาศโปร่ง
โรคและศัตรูของลิ้นจี่มีน้อย ศัตรูสำคัญคือ ไรแดง หรือแมงมุมแดงที่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ จะเกิดขึ้นในระยะ ที่ลิ้นจี่กำลังแตกใบอ่อน ป้องกันโดยใช้กำมะันผง ๑๐๐ กรัม ผสมน้ำ ๑ ปีบ ๑๒๐ ลิตร ฉีดพ่นตามที่ลิ้นจี่กำลังแตกใบใหม่ทุก ๑๐ -๑๕ วัน
ลิ้นจี่ปลูกในประเทศไทยมานานแล้ว สันนิษฐานว่าสวนลิ้นจี่เกิดขึ้นตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวจีนเป็นผู้นำเอาเข้ามา ในรูปกิ่งตอนหรือผลแล้วนำมาเพาะอีกทีหนึ่ง เพราะสมัยนั้นชาวจีนเข้ามาเมืองไทยมาก มีการซื้อขายสินค้าแลกเปลี่ยนกัน เชื่อว่าจะต้อง มีลิ้นจี่รวมอยู่ด้วยและคงจะมีการปรับปรุงบำรุงพันธุ์กันต่อๆ มา
ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เช่นที่อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และจังหวัดเชียงรายมีการปลูกลิ้นจี่มาก สันนิษฐานว่าพันธุ์ลิ้นจี่ ที่เข้ามาระยะหลังคงจากไต้หวัน เพราะมีหมู่บ้านที่เป็นเขตที่อยู่ของชาวจีนฮ่ออดีตทหารจีนก๊กมินตั๋งมาอาศัยอยู่ จึงได้รับความช่วย เหลือทางด้านพืชเมืองหนาว เช่น ลิ้นจี่ ท้อ และสาลี่ จากทางรัฐบาลไต้หวัน ประกอบกับโครงการหลวงมีนโยบายจะไม่ให้ชาว เขาย้ายถิ่นจึงสนับสนุนให้ปลูกพืชเมืองหนาวเหล่านี้ ทำให้มีปริมาณของลิ้นจี่ที่มีคุณภาพดีเพิ่มขึ้น และลิ้นจี่ทางภาคเหนือกับลิ้นจี่ทาง ภาคกลางสุกในเวลาแตกต่างกัน จึงนับว่าเป็นผลดีอย่างยิ่งแก่ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค
ลิ้นจี่นับเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของเชียงใหม่ โดยเฉพาะอำเภอฝางและแม่อายจะจัดให้มีการส่งเสริมการขายลิ้นจี่ โดยจัด "งานวันลิ้นจี่" ขึ้นทุกๆ ปี เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย ราคาลิ้นจี่ตกกิโลกรัมละ ๒๕ - ๓๐ บาท ในระยะที่ มีผลมากส่วนระยะที่มีผลน้อยก็อาจจะได้ราคาดีกว่านี้
ลิ้นจี่เป็นไม้ผลอีกชนิดหนึ่งที่คนชอบรับประทานเนื่องจากมีรสชาติดี หวาน หอม สีสวย จึงทำให้เป็นที่ต้องการทั้งภายในและต่างประเทศนอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังแปรรูปเป็นลิ้นจี่ บรรจุกระป๋องด้วย ลิ้นจี่เป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อนลำต้นเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง เมื่อเจริญเต็มที่ลำต้นสูงประมาณ ๑๐ - ๑๒ เมตร เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ของภาคเหนือ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศหนาว ชอบดินร่วนซุย ความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง ๕ - ๖ มีการระบายน้ำดี และควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า ๔๐๐ เมตร ต้องการอากาศหนาวในช่วงออกดอก คือ ต่ำกว่า ๑๕ องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า ๒๕๐ ชั่วโมง หรือ ต่ำกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า ๕๐ ชั่วโมง แต่มีบางพันธุ์ซึ่งเป็นลิ้นจี่ที่ปลูกในเขตภาคกลาง ได้แก่ พันธุ์ค่อมสามารถออกดอกติดผลได้ในสภาพอากาศภาคกลาง
ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร / ปี ความชื้นสัมพัทธ์ในระยะก่อน ออกดอก ควรต่ำกว่า ๘๐ % และในระยะติดผลอยู่ในช่วง ๘๐ - ๑๐๐ % ลิ้นจี่อายุประมาณ ๓ ปี ถ้ามีการดูแลรักษาและการตัดแต่งที่ดี ลิ้นจี่จะให้ผลผลิตได้ดีมากกว่า ๓๐ ปี ระยะเวลาตั้งแต่ออกดอกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ ๔ เดือน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม / ต้น ขนาดผลลิ้นจี่อยู่ระหว่าง ๖๐ - ๙๐ ผล/กิโลกรัม ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่างกลางเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พันธุ์ส่งเสริม - ภาคเหนือ พันธุ์ฮงฮวยโอวเฮียะ กิมเจ็ง จักรพรรดิ - ภาคตะวันตก พันธุ์ค่อม
ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร / ปี ความชื้นสัมพัทธ์ในระยะก่อน ออกดอก ควรต่ำกว่า ๘๐ % และในระยะติดผลอยู่ในช่วง ๘๐ - ๑๐๐ % ลิ้นจี่อายุประมาณ ๓ ปี ถ้ามีการดูแลรักษาและการตัดแต่งที่ดี ลิ้นจี่จะให้ผลผลิตได้ดีมากกว่า ๓๐ ปี ระยะเวลาตั้งแต่ออกดอกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ ๔ เดือน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม / ต้น ขนาดผลลิ้นจี่อยู่ระหว่าง ๖๐ - ๙๐ ผล/กิโลกรัม ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่างกลางเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พันธุ์ส่งเสริม - ภาคเหนือ พันธุ์ฮงฮวยโอวเฮียะ กิมเจ็ง จักรพรรดิ - ภาคตะวันตก พันธุ์ค่อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น