วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552

วันจักรี


วันจักรี ตรงกับวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์
ประวัติการตั้งชื่อวันจักรีมีว่า เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย มาจนทุกวันนี้
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ ( ร.๑ - ๔ ) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น
ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ - ๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรด ฯ ให้เรียกวัน
ที่ ๖ เมษายนว่า “วันจักรี”


พระราชประวัติรัชกาลที่ 1

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระนามเดิม ทองด้วง ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2275 (รัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ) ได้รับราชการในรัชกาลพระเจ้าอุทุมพร ต่อมาเมื่อได้เป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พร้อมกับนายสินได้เป็นหลวงยกบัตรเมืองตาก เมื่อคราวพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ตั้งตัวอยู่ที่เมืองระยองนั้น หลวงยกบัตรได้แนะนำให้นายสุจินดาผู้น้องนำมารดาเจ้าตาก ซึ่งหนีพม่าไปอยู่แขวงเมืองเพชรบุรีไปถวายพระเจ้าตากด้วย จึงมีความชอบได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นพระมหามนตรี ต่อมานายสุดจินดาได้ไปรับหลวงยกบัตรพี่ชายเข้ามารับราชการอีก ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระราชวรินทร์ และได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพรยาจักรี และสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นลำดับมาจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระสัญญาวิปลาศ ทำความเดือดร้อนให้แก่ขุนนางราชการ และอาณาประชาราษฎรดังที่กล่าวมาแล้ว พระองค์ก็เสด็จจากการศึกเขมร เข้ามาปราบปรามการจลาจลให้กรุง สำเร็จโทษพระเจ้ากรุงธนบุรีเสียแะลทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ทรงพระนามตามที่พระสังฆราชาคณะ ฝ่ายคามวาสี อรัญวาสี พร้อมกันถวาย "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราชวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรินทราธาดาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ธรณินทราธิราช รัตนาภาศกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนศวรนาถนายก ดิลกนพรัตน์ราช ชาติอาชาวไศรย สมุทยุตโรมลสกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอักนิฐ ฤทธิราเมศวรธรรมิกราชาธิราช เดโชชัยพรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชฐวิสุทธิ์มกุฏ ประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมนาถบรมบริพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว"

ไม่มีความคิดเห็น: