วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของโค้ก
















































ในปี 1898 อากาศของเมืองนิวเบิร์น รัฐนอร์ธ คาโรไลนา ร้อนและชื้นเหมือนอย่างเช่นเคย เภสัชกรหนุ่มนาย คาเลบ แบรดแฮม ได้คิดคิดค้นเครื่องดื่มชนิดใหม่ซึ่งปรุงขึ้นด้วยเครื่องเทศ น้ำผลไม้ และ น้ำเชื่อม เพื่อเป็นบริการให้แก่ลูกค้าในร้านขายยาของเขาและได้รับความนิยมเหนือความคาดหมาย นี่จึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดื่มซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในขณะนี้... เป๊ปซี่-โคล่า
ในปี 1902 เขาเริ่มดำเนินกิจการบริษัท Pepsi-Cola ในห้องด้านหลังร้านขายยา เขาจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าและได้รับมอบสิทธิบัตรเมื่อ 16 มิถุนายน ในปี 1903 ในตอนแรกเขาผสมเครื่องดื่มด้วยตัวเองและจำหน่ายผ่านตู้กดน้ำ แต่ในไม่ช้าคาเลบเริ่มรู้ตัวว่ามีโอกาสอันดีรออยู่ - นั่นคือการบรรจุขวดเป๊ปซี่-โคล่า เพื่อที่ว่าทุกๆ คนในวงกว้างจะได้สามารถลิ้มรสเครื่องดื่มของเขาได้ในปี 1903 ธุรกิจเป๊ปซี่-โคลาเริ่มต้นด้วยโฆษณาภายใต้แนวคิดว่า "สดชื่น มีชีวิตชีวา ช่วยย่อยอาหาร" ทำให้ คาเลบขายเครื่องดื่มของเขาได้ 7,968 แกลลอน ในปี 1905 เขาได้ขยายการบรรจุขวดเป๊ปซี่-โคล่าออกไปอีก 2 สาขาให้กับนักลงทุนอิสระในเมือง ชาร์ล็อต และ เดอร์แฮม นอร์ธคาโรไลนา

ในปี 1906 ได้สาขาขยายเพิ่มขึ้นอีกเป็น 15 สาขาในปี 1907 เพิ่มก้าวกระโดดไปเป็น 40 สาขาในปี 1910 มีสาขาของเป๊ปซี่-โคลาตั้งอยู่ใน 24 รัฐ และขายเครื่องดื่มได้กว่า 100,000 แกลลอนต่อปีในปี 1913 บทบรรณาธิการหนังสือ Greensboro Patriot ได้กล่าวถึงคาเลบว่า "กระตือรือร้นและเปี่ยมพลังในธุรกิจ" อีกทั้งเขายังได้รับการกล่าวถึงว่าอาจถูกเสนอชื่อลงเลือกตั้งอีกด้วยในปี 1923 คาเลบกลับไปยังร้านขายยาของตัวเองแล้วขายเครื่องหมายการค้าเป๊ปซี่-โคลาให้แก่บริษัท คราเวน โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น นับเป็นครั้งแรกที่เป๊ปซี่-โคลามีเจ้าของหลายรายในปี 1931 แม้ว่าเขาจะใช้ความพยายามอย่างที่สุด มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ของบริษัท แต่ Pepsi-Cola ก็ต้องประสบปัญหาล้มละลายอีกเป็นครั้งที่สอง จนกระทั่ง ชาร์ลส์ จี กัธ ผู้ผลิตลูกกวาดที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่งได้เข้ามากอบกู้ Pepsi-Cola กัธ เป็นประธานกลุ่มบริษัท Loft ซึ่งเป็นสาขาใหญ่ของร้านขายลูกกวาดและตู้น้ำโซดาในแถบชายฝั่งภาคตะวันออก เขาเล็งเห็นว่า Pepsi-Cola คือโอกาสที่จะหยุดการดำเนินสัมพันธ์ธุรกิจกับบริษัท Coca-Cola และในเวลาเดียวกันเพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับตู้น้ำโซดาของ Loft ด้วย ซึ่งนับว่าเขาคิดถูก เพราะภายใต้การนำของกัธ Pepsi-Cola กลายมาเป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง ภายใน 2 ปีหลังจากที่ขายกิจการ Pepsi-Cola ทำรายได้ 1 ล้านดอลลาร์ เป็นการเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาใหม่อีกครั้ง ความยากลำบากในครั้งนั้นมีเหตุเนื่องมาจากการที่ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงความตกต่ำของระบบเศรษฐกิจซึ่งกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลกดังที่เราทราบกันในปี 1934 บริษัทย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังเมือง ลอง ไอร์แลนด์ นิวยอร์ค และอีก 4 ปีหลังจากนั้น วอลเตอร์ เอส แม็ค ก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานคนใหม่ของ Pepsi-Cola แม็คเชื่อว่าการโฆษณาเป็นรากฐานทางการตลาดที่มั่นคงของเครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ และได้ใช้การ์ตูนสั้น "Pepsi & Pete" ในการโปรโมทความได้เปรียบทางด้านราคาของเป๊ปซี่ด้วยประโยคว่า "ได้สองเท่าเพียงจ่ายแค่ห้าเซ็นต์" ("Twice as much for a nickel") ในปี 1940 นิตยสาร LIFE ได้ให้นิยามว่า “อมตะ” และ Advertising Age ได้จัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 อันดับที่น่าจดจำแห่งศตวรรษที่ผ่านมา "ในเวลาที่ไม่มีใครใช้เพลงโฆษณาแต่โฆษณานี้ใช้" ในที่สุดแล้ว Pepsi-Cola ก็เติบโตยิ่งกว่าบริษัทลูกกวาดที่เข้ามาเป็นเจ้าของเสียอีก และได้ตัดสินใจจะเปลี่ยนชื่อจาก Loft Incorporated เป็น Pepsi-Cola Company

ในปี 1950 มีการนำฝาขวดมาออกแบบเป็นโลโก้ใหม่ และเป๊ปซี่ไม่ได้ทำโฆษณาโดยยึดจุดเด่นทางด้านราคาอีกต่อไปในปี 1958 ขวดรูปแบบใหม่ในแบบเกลียวที่สวยงามโดดเด่นถูกผลิตออกมา ซึ่งเป็นปีเดียวกับการรณรงค์โฆษณาใหม่ "อยากเข้ากันได้กับกลุ่ม ดื่มเป๊ปซี่สิในปี 1959 แล้ว มิส ครอวฟอร์ด ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหาร ในยุคนั้นชาวอเมริกันมีความตระหนักในเรื่องน้ำหนักตัวกันมากขึ้น โฆษณาของเป๊ปซี่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมนี้ด้วยแคมเปญเป๊ปซี่มีแคลอรี่ต่ำผ่านสโลแกน "ความสดชื่นแบบเบาๆ" (The Light Refreshment) และ "สดชื่นได้ โดยไม่ต้องเติม" (Refreshing Without Filling)ในปี 1962 ผู้นำทางสังคม ชาวอเมริกันร่วมสมัยอ้างว่าเป๊ปซี่เป็นสัญลักษณ์ของพวกเขา ภายใต้แนวคิด "มาเถิด! คุณคือคนยุคเป๊ปซี่" (Come Alive! You're in the Pepsi Generation") แคมเปญนี้ถูกปล่อยออกมาในตอนต้นของช่วงยุค 60s พร้อมกับเปลี่ยนมาใช้โลโก้ใหม่ โดยยังมีฝาจีบเป็นจุดเด่นเช่นเคย


ในปี 1973 เป็นช่วงที่เป๊ปซี่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคอันดับแรกของอเมริกาซึ่งมีการผลิตในสหภาพโซเวียต และโลโก้ดังกล่าวก็ถูกใช้มาต่อเนื่องถึง 18 ปีเลยนะในปี 1991 ทำให้เป๊ปซี่กลายเป็นผู้นำทางการตลาดในชาพร้อมดื่ม ด้วย ลิปตัน บริสก์ ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในตลาด และยังจับมือกับกาแฟสตาร์บัคส์ ผลิตกาแฟ แฟรปปูชิโน ซึ่งเป็นเครื่องดื่มกาแฟเย็นในรูปแบบใหม่ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว กลายเป็นกาแฟเย็นพร้อมดื่มที่ได้รับความนิยมที่สุด


ในปี 1998 เมื่อเป๊ปซี่เฉลิมฉลองครบ 100 ปี เป๊ปซี่แคนช่วยสนันสนุนภาพลักษณ์ใหม่รับศตวรรษใหม่ ภาพลักษณ์ใหม่ของเป๊ปซี่เรียกกันว่า "Globe" ภาพลูกทรงกลม 3 มิติ โดดเด่นออกจากพื้นหลังที่เป็นภาพน้ำแข็ง โลโก้นี้ปรากฏอยู่บนรถบรรทุกเป๊ปซี่ ตู้จำหน่าย คูลเลอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ... พูดง่ายๆ ว่าทุกอย่างที่เป็นของเป๊ปซี่เป๊ปซี่เป็นผู้นำแนวคิดวันหมดอายุมาใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้สามารถทราบได้ว่าเครื่องดื่มจะหมดอายุในวันไหน วันที่หมดอายุถูกใช้เป็นครั้งแรกบนบรรจุภัณฑ์ของไดเอทเป๊ปซี่ และกลายเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่ทั้งหมด วันหมดอายุยังกลายมาเป็นแบบแผนของอุตสาหกรรมอีกด้วยปัจจุบันนี้ PepsiCo เป็นบริษัทที่มีมูลค่า 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีพนักงานมากกว่า 150,000 คน ในมากกว่า 40 ภาษารอบโลก บริษัทยังคงเป็นที่รู้จักสวัสดิการที่ดีและโปรแกรมที่หลากหลาย เป็นบริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ในด้านอาหารและเครื่องดื่มทานสะดวก PepsiCo มีแผนการที่มุ่งมั่นในการขยายกิจการออกไปด้วยอาหารและเครื่องดื่มมากมาย ซึ่งให้รสชาติที่เยี่ยมยอด คุณค่าทางอาหาร และความสนุกตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น: