วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

STRAWBERRY

นช่วงปลายฤดูหนาว จะเป็นช่วงที่เราได้ลิ้มรส "สตรอเบอร์รี่" ผลไม้ลูกเล็กๆ สีแดงสดที่มีสัญชาติฝรั่งแต่สามารถนำปลูกได้ในภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งมีอากาศเย็น


รสชาติเปรี้ยวอมหวานของสตรอเบอร์รี่นั้น หากนำมากินคู่กับของหวานอย่างไอศกรีมหรือเค้กสักชิ้นก็กลมกล่อมเข้ากันดี หรือแม้แต่จิ้มกินกับพริกกะเกลือก็เพลิดเพลินได้เช่นเดียวกัน และในความอร่อยชุ่มลิ้นนั้นก็มีคุณค่าและประโยชน์อยู่ด้วย อย่างแรกเลยก็คือสตรอเบอร์รี่ถือเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูง รวมไปถึงวิตามินเอ ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และแคลเซียม สำหรับวิตามินซีและวิตามินเอนั้นเป็นสารสำคัญที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ สตรอเบอร์รี่จึงเป็นผลไม้ที่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าผลไม้อื่นๆ อย่างส้ม องุ่นแดง กีวี กล้วยหอม และมะเขือเทศ

นอกจากนั้นก็ยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหลอดเลือดอุดตัน และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น และผลสตรอเบอร์รี่ยังอุดมด้วยไฟเบอร์เพคติน ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลได้ระดับหนึ่ง อีกทั้งวิตามินซีและธาตุเหล็กในสตรอเบอร์รี่ก็ยังมีประโยชน์ต่อระบบเลือดและหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันภาษาไทยแห่งชาติ


ความเป็นมา

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และ “วันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ



เหตุผล

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ สมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป



ทั้งนี้ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกิดเทคนิคใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสาร มี่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อและผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง สภาพการณ์เช่นนี้หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ การใช้ภาษาไทยของเราก็จะยิ่งเสื่อมลง จะส่งผลเสียหายต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยเป็นทวีคูณ



ทำไมจึงได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”

เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อๆ มาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ



วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ



ประโยชน์ที่ได้รับจากการมี “ วันภาษาไทยแห่งชาติ ”



คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ

๑. การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ

๒. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

๓. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระราชวังสนามจันทร์


พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า เนินปราสาท เพื่อเป็นสถานที่ประทับครั้งมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์และเมื่อบ้านเมืองถึงยามวิกฤต

พระราชวังใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี โดยมี หลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลป์) ซึ่งต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯเลื่อนยศเป็นพระยาวิศุกรรม ศิลปประสิทธิ์ เป็นแม่งาน และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2450 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระราชทานนามว่า "พระราชวังสนามจันทร์" ตามชื่อสระน้ำโบราณหน้าโบสถ์พราหมณ์ (ปัจจุบันไม่มีโบสถ์พราหมณ์เหลืออยู่แล้ว) สระน้ำจันทร์ หรือ สระบัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชพินัยกรรมแสดงพระราชประสงค์ยกพระราชวังสนามจันทร์ให้เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยมีใจความว่า

" บรรดาที่ดินตึกรามทั้งใหญ่ น้อย ที่รวมอยู่ในเขตซึ่งเรียกว่า "พระราชวังสนามจันทร์" เป็นสมบัติส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยแท้ไม่ได้รับมฤดกมาจากสมเด็จพระบรมชนกนารถมิได้ ข้าพเจ้าได้เก็บทุนในตำแหน่งหน้าที่พระยุพราชและทุนอื่น ๆ สร้างที่สนามจันทร์ และสร้างพระที่นั่งซึ่งเรียกว่า พระพิมานประฐม นั้นขึ้นก่อน ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้ราชสมบัติแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้เอาเงินพระคลังข้างที่ทำนุบำรุงที่นี้ตลอดมาเป็นส่วนตัวทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจะเอาที่พระราชวังสนามจันทร์ไปรวมเข้ากับกองมฤดกใหญ่นั้นหาควรไม่ ข้าพเจ้ามีสิทธิ์ตามกฎหมายเหมือนสามัญชน ที่จะยกที่นี้ให้แก่ผู้ใดก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อสิ้นตัวข้าพเจ้าไปแล้ว ข้าพเจ้าขอยกที่นี้ให้แก่รัฐบาลสยามเป็นสิทธิขาด เพื่อทำเป็นโรงเรียนนายร้อยทหารบก"[1]

ในปัจจุบัน พระราชวังสนามจันทร์อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง โดยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการอำนวยการบูรณะพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นองค์ประธาน ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย นายนาวิน ขันธหิรัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ลิขิต กาญจนาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายคืนพระราชวังสนามจันทร์แก่สำนักพระราชวัง[2]

วันชาติฝรั่งเศส

วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า "The Feast of the Federation" เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ "Champs-de-Mars" ในกรุงปารีส แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย "the Third Republic*"นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันชาติฝรั่งเศส"และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น
ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฝรั่งเศสนั้นเริ่มมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันอย่างเป็นทางการเมื่อ 300 ปีก่อน ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 ทรงแต่งตั้งคณะทูตเดินทางมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศไทยในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ถึงกรุงศรีอยุธยา ขณะเดียวกับพระองค์ทรงส่งคณะทูตฝ่ายไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึงพระราชวังแวร์ซายส์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนอีกด้วย นับแต่นั้นเป็นต้นมาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจึงปฏิบัติสืบต่อเรื่อยมาถึงทุกวันนี้ โดยทั้งสองฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนความร่วมมือทั้งทางด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาและอื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้กระทรวงและองค์กรต่าง ๆ ของฝรั่งเศสได้ให้การช่วยเหลือแก่ประเทศไทยนำไปใช้ในโครงการต่าง ๆ เป็นเงินกว่า 250 ล้านบาท แต่กระนั้นก็ตามฝรั่งเศสก็ยังเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายไม่มากนักสำหรับคนไทย แม้ว่าจะมีบทบาทในฐานะประเทศที่ยังใหญ่ในด้านศิลปวัฒนธรรมมาช้านานก็ตาม แต่ทั้งนี้ในความจริงแล้วนั้นฝรั่งเศสจัดได้ว่าเป็นประเทศที่ 4 รองจากญี่ปุ่น,เดนมาร์ก และเยอรมณีในการให้ความร่วมมือกันมากที่สุดในระดับทวิภาคี
นอกจากนี้ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาฝรั่งเศสได้ตอกย้ำที่จะดำเนินการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนสาขาอื่น ๆ ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ อยู่นี้จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนจากรัฐบาลและทุนส่วนตัว จึงได้มีการจัดนิทรรศการการศึกษาในฝรั่งเศส เพื่อให้เข้าใจว่าแท้จริงแล้วการศึกษาในฝรั่งเศสไม่แพงอย่างที่คิด ซึ่งเสียค่าเล่าเรียนตกปีละ 10,000 บาทโดยประมาณเพื่อนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศ
ในเรื่องของความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างฝรั่งเศสกับไทย ซึ่งรู้กันดีว่ากำลังกดดันจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม ปีที่แล้วแต่อย่างไรก็ดีภาพที่ออกมากลับตัดกันอย่างสิ้นเชิง โดยสินค้าผู้บริโภคที่ฝรั่งเศสนำเข้าประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับคงที่ ขณะที่ประเทศไทยกลับส่งสินค้ามากขึ้นสาเหตุจากการลดค่าเงินบาท จึงส่งผลให้มีส่วนส่งเสริมการส่งออกของสินค้าของไทยได้มากขึ้น ซึ่งบรรดาบริษัทของชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นฐานการส่งออกของสินค้าไทยต่างรู้พึงพอใจกับยอกการส่งออกไปสู่ตลาดทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการมุ่งเน้นที่ตลาดภายในประเทศของบริษัทย่อยของฝรั่งเศสประจำปรเทศไทยภาพที่ออกมาปรากฎผลดีในระยะสั้นเท่านั้น แต่หัวใจสำคัญก็คือการลงทุนซึ่งประเทศไทยได้มุ่งเป้าไปที่แผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้มีการร่างในรายละเอียดของแผนการใหญ่เพื่อดึงนักลงทุนต่างชาติให้ห้นมาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสกำลังเฝ้าจับตามอง

ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก มีประวัติศาสตร์ที่เจริญรุ่งเรืองมาช้านาน เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่ประเทศฝรั่งเศสได้รับการขนานนามว่าเป็นแหล่งกำเนิดศิลปและความคิดริเริ่มสร้างสรรอันสำคัญของโลก คำว่า "ฝรั่งเศส" มีความหมายหลายประการเกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านต่าง ๆ เช่น ความเป็นผู้นำทางการเมืองและการปกครอง ประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการปฏิวัติตลอดการและเป็นประเทศมหาอำนาจที่สำคัญประเทศหนึ่ง ประเทศฝรั่งเศสมีชื่อเสียงทางด้านศิลป ปรัชญา, วรรณคดี, ลักษณะ, สังคม, แฟชั่น หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตโดยการแสวงหาความสุขมาบำเรอจิตใจและอาหารการกินอีกด้วย ด้านภาษาประจำชาติ ภาษาฝรั่งเศสนับเป็นภาษาสากลอันดับ 2 รองจากภาษาอังกฤษ ซึ่งมีผู้นิยมใช้ภาษาฝรั่งเศสอย่างกว้างขวาง ปรัชญาเมธีผู้มีแนวความคิดก้าวหน้าได้เกิดขึ้นในประเทศนี้มากมายหลายท่าน

กรุงปารีสได้ชื่อว่าเป็นมหานครที่มีความสวยงามที่สุดในทวีปยุโรป มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีโบราณสถานที่สำคัญและมีคุณค่าทางศิลปกรรม เช่น พระราชวังแวร์ซายส์,หอไอเฟลและโบราณวัตถุทางศิลปด้านต่าง ๆ ที่น่าชม ประเทศฝรั่งเศสมีความรุ่งเรืองทางด้านวรรณกรรมและจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงในโลก


ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่สอง ของทวีปยุโรป คือมี ขนาดรองจากประเทศรุสเซียและใหญ่กว่าประเทศอังกฤษ 2 เท่า แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศกลุ่มยุโรปตะวันตก 6 ประเทศซึ่งมี อังกฤษ, ไอร์แลนด์เหนือ,ไอร์แลนด์,ฝรั่งเศส,เบลเยี่ยม,เนเธอร์แลนด์,ลักเซมเบอร์ก, ในบรรดาประเทศเหล่านี้ประเทศฝรั่งเศสนับว่าใหญ่ที่สุดในเขตภูมิภาคนี้ อาณาเขต ของประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศเบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก,เยอรมันนี, ทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศสวิส,อิตาลี,เยอรมนี, ด้านทิศตะวันตกจดอ่าวบิสเคย์และทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงช่องแคบอังกฤษ สำหรับทางตอนใต้ติดกับฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและติดต่อกับประเทศสเปน

ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่รวมประมาณ 212,207 ตารางไมล์ หรือประมาณ547,026 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บริเวณทางตอนเหนือซึ่งติดต่อกับประเทศเบลเยี่ยม บริเวณบางส่วนของทุ่งฟลานเดอร์สเคยเป็นสนามรบที่สำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารของฝ่ายสัมพันธ์มิตรเคยพากันล้มตายมากมายในดินแดนดังกล่าว มีดอกไม้สีแดงขึ้นอยู่โดยทั่วไปในบริเวณนี้ ทุ่งกว้างแห่งนี้จะเบ่งบานด้วยดอกไม้สีสดไสไม่จืดตา แต่เป็นสัญญลักษณ์ที่ระลึกถึงผู้วายชนม์ในสงครามครั้นนั้นมาจนกระทั่งทุกวันนี้

พื้นที่ภูมิประเทศของฝรั่งเศสประมาณ 2 ในสามส่วนจะเป็นที่ราบ ที่ราบสูงและภูเขาจะอยู่ทางทิศตะวันออกและบริเวณส่วนกลาง ที่ราบที่สำคัญได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น้ำลัวร์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำการอนน์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำโรน ส่วนทางทิศตะวันออกและตอนกลางของประเทศเป็นบริเวณที่มีภูเขา พื้นแผ่นดินจะเป็นที่ราบสูงตามเชิงเขา มีภูเขาที่สำคัญคือ ภูเขาแซแวง ภูเขาโคตดอร์ ภูเขาปีรีนิสเป็นภูเขายาวเหยียดตลอดแนวชายแดนภาคใต้ติดต่อกับประเทศสเปน และบริเวณนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชนชาวเขาเผ่าปาสต์ (Basgues) และเผ่าแคตาลาน (Catalan) ส่วนทางด้านชายแดนอิตาลีมีภูเขาแอลป์ปกคลุมด้วยหิมะทอโพลนตลอดเวลา ตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์มียอดภูเขาสูงชื่อยอดบองบลังค์ สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 15,780 ฟุต นับเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรปตะวันตก ส่วนบริเวณด้านตะวันออกชายแดนที่ติดต่อกับสวิส มีภูเขาจูรา นอกจากนี้แล้วยังมีภูเขาวอสก์ (Vosges) เป็นภูเขาขนาดเล็กในมณฑลอัลซาสใกล้กับชายแดนสวิส.

ภูมิอากาศในภูมิภาคต่าง ๆ ของฝรั่งเศส คือ บริเวณตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศคล้ายคลึงกับประเทศอังกฤษมาก คือ มีภูมิอากาศอบอุ่นและมีฝนตกชุก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกแถบภูเขาแอลป์จะมีหิมะปกคลุม มีละอองหิมะและกลุ่มหมอกหนาทึบ ในฤดูร้อนทุ่งหญ้าจะอุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ในฤดูหนาวและฤดูร้อนจะเป็นที่ตากอากาศสำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย ภูมิอากาศแถบภูมิภาคตอนใต้บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอากาศจะหนาวจัด เนื่องจากลมหนาวซึ่งพัดมาจากบริเวณเทือกเขาแอลป์และไพรีนี ประกอบกับมีลมหนาวซึ่งพัดมาจากยอดเขามีความเร็วและรุนแรงดุจมายเฮอริแคน โดยจะพัดหนักอยู่ 3-4 วันติดต่อกัน ทำให้ต้นไม้ตามบริเวณเขตแดนเอนลู่โค้งคดโดยทั่วไป

ส่วนภูมิอากาศพื้นที่แถบเขตชายแดนบนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก นับตั้งแต่เมืองดันเคิร์คตอนเหนือและตลอดถึงเมืองเฮ็นเดย์ตอนใต้จะมีลมทะเลพัดจากกระแสร์น้ำอุ่นกันฟ็สตรีม ช่วยเสริมให้อุณหภูมิบริเวณดังกล่าวไม่ร้อนหรือหนาวจัดจนเกินไป สำหรับภูมิอากาศทางภาคกลางซึ่งห่างไกลจากทะเลและภูเขาจะมีอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลและผันผวนผิดแยกไปบ้างเป็นครั้งคราว

ชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคต่าง ๆ ประชากรชาวฝรั่งเศสมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางเชื้อชาติศาสนาภาษาและเคยเป็นมหาอำนาจซึ่งมีอาณานิคมกว้างขวางในทวีปยุโรป อาณานิคมของฝรั่งเศสเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษก็จะไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลยประเทศซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสบางส่วนแม้จะได้รับอิสระเป็นเอกราชปกครองตนเองก็ตาม แต่ทว่าความเกี่ยวพันทางการเมืองและเศรษฐกิจก็ยังผูกพันกับฝรั่งเศสอย่างเหนียวแน่นดังนั้น ประเทศฝรั่งเศสจึงกลายเป็นศูนย์กลางประชาคมของประเทศต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในอาณานิคมหรือเครือจักรภพ เช่นแอฟริกาเหนือและแอฟริกากลาง เป็นต้น
ปารีส เป็นเมืองหลวงที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นนครหลวงที่สวยงามที่สุดในทวีปยุโรป มีโบราณสถานและอาคารซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะหอแอนไอเฟล (Eeffel Tower) เป็นสัญญลักษณ์ที่โดดเด่นประจำมหานครปารีส ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2432 เนื่องในโอกาสของงานมหกรรมโลก ซึ่งได้จัดขึ้นในปารีส ออกแบบเป็นลักษณะหอสูง คือ สองชั้นล่างเป็นสถานที่ร้านอาหารนา นาชนิด ชั้นที่ 3 ใช้สำหรับชมทีศนียภาพโดยรอบ ส่วนชั้นที่สูงสุดยอดถูกปิดตายไม่ให้ผู้คนขึ้น หอสูงไอเฟลเป็นหอคอยโครงเหล็กที่เคยถือว่าสูงที่สุดในโลกคือสูวถึง 985 ฟุต แต่ต่อมาภายหลังเมื่อมีการสร้างตึกไครส์เลอร์ในนิวยอร์คและหอโตเกียวซึ่งสูงถึง 1,092 ฟุต สถิติความสูงของหอไอเฟลจึงกลายเป็นรองไปแต่ชื่อเสียงของหอคอยแห่งนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายสำหรับชาวโลกมาช้านานแล้ว

ประชากรของประเทศฝรั่งเศสเท่าที่สำรวจครั้งล่าสุดในปี พ.ศ.2521 ปรากฎว่ามีพลเมืองประมาณ 50,300,000 คน ผู้คนพลเมืองจะมีอาชีพในทางการเกษตรกรรรมและอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้แบ่งแยกออกไปตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างผลิตผลทั้งสองประเภทนี้ โดยคำนึงถึงปัญหาเรืองอาหารการกินของประชากรภายในประเทศ ปัญหาการใช้แรงงานในการผลิตอุตสาหกรรมให้เพียงพอสำหรับใช้สอยและส่งเป็นสินค้าออกไปแข่งขันกับนา นา ประเทศอย่างมั่นคง

เขตภูมิภาคประเภทเกษตรกรรม ได้แก่พื้นที่ราบลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมายในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ที่ราบลุ่มบริเวณรอบนอกของปารีส มีการปลูกพืชจำพวกข้าวสาลี หัวผักกาด, น้ำตาล, เลี้ยงสัตว์จำพวกหมู, วัวนม, และสัตว์มีปีกอื่นๆ อีกตามสมควร

เขตอุตสาหกรรม แหล่งอุตสากรรมต่าง ๆ ของฝรั่งเศสกระจัดกระจายอยู่ในเมืองต่าง ๆ แต่พอจะจำแนกได้เป็น 4 เขตใหญ่ ๆ แต่ละเขตมีการผลิตอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะแร่เหล็กมีมากที่สุดในเมืองลอร์เรน (Lorraine) เป็นแหล่งสำคัญของแร่เหล็ก ดังนั้นอุตสาหกรรมด้านนี้จึงมีความสำคัญมากแม้ว่าแร่เหล็กของฝรั่งเศสจะมีคุณภาพเพียง 30 % ของน้ำหนัก สินแร่มีเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าแร่เหล็กของสวีเดน ซึ่งมีเปอร์เช็นต์สูง 60 เปอร์เช็นต์ แต่ประโยชน์ที่ได้รับคุ้มค่ากับการลงทุน และถือว่าประเทศฝรั่งเศสมีปริมาณแร่เหล็กมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป

เศรษฐกิจของฝรั่งเศสเป็นเศรษฐกิจแบบประเทศด้อยพัฒนา แรงงานมีอยู่น้อยและเป็นแรงงานที่ไม่ชำนาญงาน จำนวนประชากรก็มีอยุ่น้อยไม่พอเพียงต่อการเป็นผู้บริโภคของอุตสาหกรรมที่จะสร้างขึ้นมาเพื่อผลิตสินค้าสำหรับใช้บริดภคภายในฝรั่งเศส การสร้างถนนระบบโทรคมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีเลย พืชที่ปลูกได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวเจ้า ข้าวโพด กล้วย สับปะรด และอ้อย อ้อยนั้นส่วนใหญ่นำมาใช้ผลิตเหล้ารัม เพื่อส่งออก ผลผลิตของเกษตรกรมีไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในฝรั่งเศส เกษตรกรกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ ชาวอินเดียน และชาวศรีโอเล ซึ่งทำไร่นาแบบเลื่อนลอยอยู่ในบริเวณลึกเข้าไป เกษตรกลุ่มนี้จะเผาป่าแล้วย้ายถิ่นที่เพาะปลูกจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งเรื่อยไปพืชที่พวกเขาปลูกก็มีสำปะหลังและพืชชนิดอื่น ๆ อีก 2-3 ชนิดสำหรับใช้เป็นอาหารและปลูกสำหรับบริโภคเองเท่านั้น พวกเขาจะล่าสัตว์และจับปลาเพื่อใช้เป็นอาหารประกอบกับพืชที่คนได้ปลูกไว้
สิ่งที่นับว่าเป็นความผิดพลาดอย่างมาก คือ ผลผลิตทางการเกษตรมีไม่พอบริโภคทำให้ต้องสั่งซื้ออาหารจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากฝรั่งเศสได้ใช้ดินแดนฝรั่งเศสเป็นที่กันขังนักโทษ แล้วให้นักโทษทำไร่นาเสมือนหนึ่งทาส การทำไร่นาจึงได้รับการดูถูกว่าเป็นอาชีพที่ต่ำ ยกเว้นชาวอินเดียนที่ทำการเพาะปลูกเพื่อใช้บริโภคเองแล้วมีคนจำนวนน้อยที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม