วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ข้าวกล้อง




"ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเม็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไป หมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี่แหละเป็นคนจน" พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ




ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเม็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไป หมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี่แหละเป็นคนจน" พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ข้าวกล้องเมล็ดสีน้ำตาล หน้าตาไม่สวยใสเหมือนข้าวขัดขาว แต่การกินข้ากล้องนั้นทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มได้นานกว่า จึงไม่ทำให้อ้วน เพราะข้าวกล้องอุดมด้วยเส้นใยอาหารและคุณ ค่าทางอาหารมากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว บางคนอาจจะคุ้นเคยกับการเรียกข้าวกล้องว่า ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวแดง เพราะในสมัยโบราณชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินเอง จึงเรียกกันว่าข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวจึง เปลี่ยนมาเรียกว่า ข้าวกล้อง แต่ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็ล้วนแล้ว แต่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกัน




การกินข้าวกล้องเป็นประจำทุกวัน จะช่วยป้องกันโรคเหน็บชา


โรคโลหิตจาง กรรมวิธีการหุงข้าวกล้องก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร แต่ถ้าใครหุงไม่เป็นอาจทำให้ข้าวแข็งไม่น่ารับประทาน พลอย ทำให้ไม่อยากทานข้าวกล้องไปเสียอีก วิธีง่ายๆ เลยคือเริ่มจาก การเก็บสิ่งแปลกปลอมออกเสียก่อน และควรซาวข้าวเพียงครั้ง เดียวเพื่อไม่ให้สูญเสียวิตามินไปกับน้ำซาวข้าว ในการหุงข้าวกล้องนั้น ต้องใส่น้ำในปริมาณที่มากกว่าการหุงข้าว ขาวเพราะข้าวกล้องมีเยื่อหุ้มเมล็ด การดูดซึมน้ำจะยากกว่าจึงต้อง ใช้เวลาหุงนาน แต่เพื่อเป็นการประหยัดเวลาควรจะแช่ข้าวกล้อง ก่อนหุงประมาณ 5-10 นาที ข้าวกล้องที่หุงแล้วจะได้นุ่มหอมน่ารับ ประทาน การรับประทานข้าวกล้องนั้น สำหรับผู้ที่รับประทานใหม่ๆ อาจจะ ไม่เคยชิน รู้สึกฝืดคอแต่หากรับประทานไประยะหนึ่งจะรู้สึกว่า ข้าวกล้องหอม ยิ่งเคี้ยวนานๆ ก็จะได้รสชาติหวานอร่อย ได้รส ชาติมากกว่าข้าวขาว เคล็ดลับในการรับประทานข้าวกล้องอีกประการหนึ่งที่อยากจะ แนะนำคือ ควรรับประทานขณะที่ยังอุ่น เพราะข้าวจะนุ่มและ ควรรับประทานข้าวกล้องที่สุกแล้วให้หมด ในมื้ออาหารนั้น เพราะข้าวกล้องจะบูดเสียได้ง่ายกว่าข้าวขาวทั่วไป

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Poitiers






Poitiers,

Potchiers[1] en poitevin, est une commune française, chef-lieu (préfecture) du département de la Vienne et de la région Poitou-Charentes.
Ses habitants sont appelés les Poitevins (comme pour le Poitou)[2] ; on utilise parfois Pictaviens[3][4], un gentilé savant formé au XIXe siècle, dérivé du nom du peuple gaulois des Pictons. Poitiers est la ville intra muros la plus peuplée du département de la Vienne, de la région Poitou Charente devant la Rochelle (80 014), la ville centre de la première agglomération pitco charentaise (Près de 120 000 habitants) devant la Rochelle (Plus de 110 000) et enfin son unité urbaine constitue le centre d'une aire urbaine de plus de 200 000 habitants, la première régionale devant celle de la ville de la Rochelle (170 000).

Situation [modifier]

La ville de Poitiers est située sur le Seuil du Poitou, passage peu élevé entre le Massif armoricain à l'ouest et le Massif central à l'est. Il s'agit donc d'une voie de passage facile entre le Bassin parisien et le Bassin aquitain, à 340 km au sud-ouest de Paris, 180 km de Nantes et à 220 km de Bordeaux. Poitiers jouit donc d’une position favorable sur une route commerciale et militaire.

Site [modifier]
Le site de Poitiers est un vaste promontoire en spatule enserré entre les vallées de la Boivre et du Clain, qu'il domine d’une cinquantaine de mètres de haut. Les rivières ont creusé de profondes vallées. Ce promontoire est relié au plateau par un pédoncule étroit, au lieu-dit la Tranchée, qui tire son nom du fossé creusé pour couper ce passage et isoler ainsi Poitiers du pays environnant. Le premier creusement daterait de l’oppidum gaulois, et il fut maintenu jusqu'au XVIIIe siècle. L'aspect défensif du site est donc prépondérant, mais son intérêt provient également d'une vaste superficie (2,3 km sur 1,3 km, soit 250 ha) très facilement défendable, jusqu'à l'invention de l'artillerie du moins. Ces deux caractères, étendue et facilité de la défense, ont fait que le site de la ville n'a pas été déplacé à l'époque romaine, comme cela est souvent arrivé (Alésia, Lutèce). Ce vaste espace permettait de faire pâturer les troupeaux à l'abri, puis à partir du Moyen Âge, d'aménager des jardins potagers et des vignes.
Les rivières étaient franchies sur des gués entretenus, sur les sites des actuels pont Joubert et pont Saint-Cyprien. En cas de siège, les gués étaient démolis.
Actuellement, la ville de Poitiers s'étend sur le plateau de part et d'autre des vallées, notamment en direction de l'est (campus universitaire, centre hospitalier, zones commerciales et d'habitation) et du Nord (technopole du Futuroscope).

Histoire

Article détaillé : Histoire de Poitiers.
Poitiers a laissé son nom à trois grandes batailles :
la première bataille de Poitiers 507, ou bataille de Vouillé est la moins connue. Elle fut remportée par Clovis Ier sur Alaric II roi des Wisigoths (au lieu appelé Campus Vogladensis) au nord-ouest de Poitiers, et permit la conquête de toute la zone entre Loire et Pyrénées ;
la bataille de Poitiers en 732 à Moussais, sur la commune de Vouneuil-sur-Vienne, au Nord de Poitiers, avec la victoire des Francs dirigés par Charles Martel sur les troupes Maures et leurs alliés ;
la bataille de 1356, qui eut lieu à Nouaillé-Maupertuis au sud de Poitiers, avec la victoire des Anglais commandés par le Prince noir contre les Français du roi Jean le Bon.
(Voir l'article Poitou pour les autres batailles du Seuil du Poitou).

Antiquité [modifier]
La ville existait déjà à l'arrivée de César, sous la forme d'un oppidum celte nommé Lemonum, terme qui serait issu du gaulois « Lemo- » orme[6]. Les Romains l'aménagèrent au Ier siècle de notre ère, la dotant d’un amphithéâtre de grande taille (détruit presque entièrement en 1857), de plusieurs thermes, d'au moins trois aqueducs, le tout donnant un statut de premier plan à la ville (vestiges aux Arcs de Parigny). Il est possible qu'au second siècle de notre ère, la ville fut la capitale de la province d'Aquitaine.
Au IVe siècle, une épaisse muraille de six mètres d'épaisseur et dix de hauteur ceint la ville sur 2,5 kilomètres. Celle-ci est réduite au sommet et flanc est du promontoire. Saint Hilaire évangélise la ville au IVe siècle. Les fondations du baptistère Saint-Jean datent de cette époque. La cité prend ensuite le nom définitif de Poitiers, en rapport avec le peuple des Pictons.
Voir aussi Vestiges archéologiques de Poitiers
Moyen Âge [modifier]
À l'époque médiévale, Poitiers tire parti de son site défensif, et de sa situation géographique, loin du centre du pouvoir franc. Siège d'un évêché depuis le IVe siècle, la ville est également la capitale du comté du Poitou, dont les comtes dirigent une importante principauté regroupant le Poitou et l'Aquitaine.
Au IXe siècle, le nom de Grand-rue apparait dans les chartes. C'est la plus ancienne trace d'un nom de rue conservée en Europe. Cette rue correspond à la ligne de plus faible pente, et donc la moins fatigante, pour monter du gué (actuel pont) Saint-Joubert au plateau, et elle est un itinéraire remontant à l'Âge du Fer. Grossièrement orienté est-ouest, il servit d'axe decuman au quadrillage orthogonal des rues à l'époque romaine. C'est également au IXe siècle que l'abbé Mellebaude fait construire l'hypogée des Dunes.
Une première tentative de création de commune a lieu, de façon autonome par les habitants en 1138 (peut-être par la confrérie Saint-Hilaire[7]), qui appellent les bourgs et villes voisins à former une ligue[8]. La commune est rapidement supprimée par le roi de France. Aliénor d'Aquitaine fit construire une nouvelle muraille au XIIe siècle longue de 6 000 mètres, enserrant tout le promontoire.
Lors de la révolte des fils d’Henri II, la ville reste fidèle au roi d’Angleterre, ce qui lui permet d’obtenir une charte communale vers 1175[9],[10], sur le modèle des Établissements de Rouen. La charte est confirmée par Aliénor d’Aquitaine en 1199, puis par les rois de France. Aliénor d’Aquitaine fait également des travaux au palais des comtes-ducs et construire un nouveau marché. Elle meurt à Poitiers en avril 1204, et la ville est prise par Philippe Auguste en août de la même année.
La route de Saint-Jacques-de-Compostelle passant par Poitiers, la ville accueille de nombreux pèlerins, qui y font halte pour vénérer les reliques de sainte Radegonde ou de saint Hilaire.

Statue de Jeanne d'Arc, au square du palais de Justice.
Au XIVe siècle, la ville échoit en apanage au troisième fils de Jean II le Bon, le duc de Berry (commanditaire des Très riches heures du duc de Berry). Il embellit le palais médiéval des comtes de Poitiers, en y aménageant notamment le donjon (dit tour Maubergeon). De même il embellit l'ancien château triangulaire, visible dans le manuscrit des Très riches heures, au mois de juillet. En 1385 il fait construire un des premiers beffrois, le "Gros horloge", aujourd'hui disparu..



Galerie [modifier]


Poitiers






Poitiers,

Potchiers[1] en poitevin, est une commune française, chef-lieu (préfecture) du département de la Vienne et de la région Poitou-Charentes.
Ses habitants sont appelés les Poitevins (comme pour le Poitou)[2] ; on utilise parfois Pictaviens[3][4], un gentilé savant formé au XIXe siècle, dérivé du nom du peuple gaulois des Pictons. Poitiers est la ville intra muros la plus peuplée du département de la Vienne, de la région Poitou Charente devant la Rochelle (80 014), la ville centre de la première agglomération pitco charentaise (Près de 120 000 habitants) devant la Rochelle (Plus de 110 000) et enfin son unité urbaine constitue le centre d'une aire urbaine de plus de 200 000 habitants, la première régionale devant celle de la ville de la Rochelle (170 000).

Situation [modifier]

La ville de Poitiers est située sur le Seuil du Poitou, passage peu élevé entre le Massif armoricain à l'ouest et le Massif central à l'est. Il s'agit donc d'une voie de passage facile entre le Bassin parisien et le Bassin aquitain, à 340 km au sud-ouest de Paris, 180 km de Nantes et à 220 km de Bordeaux. Poitiers jouit donc d’une position favorable sur une route commerciale et militaire.

Site [modifier]
Le site de Poitiers est un vaste promontoire en spatule enserré entre les vallées de la Boivre et du Clain, qu'il domine d’une cinquantaine de mètres de haut. Les rivières ont creusé de profondes vallées. Ce promontoire est relié au plateau par un pédoncule étroit, au lieu-dit la Tranchée, qui tire son nom du fossé creusé pour couper ce passage et isoler ainsi Poitiers du pays environnant. Le premier creusement daterait de l’oppidum gaulois, et il fut maintenu jusqu'au XVIIIe siècle. L'aspect défensif du site est donc prépondérant, mais son intérêt provient également d'une vaste superficie (2,3 km sur 1,3 km, soit 250 ha) très facilement défendable, jusqu'à l'invention de l'artillerie du moins. Ces deux caractères, étendue et facilité de la défense, ont fait que le site de la ville n'a pas été déplacé à l'époque romaine, comme cela est souvent arrivé (Alésia, Lutèce). Ce vaste espace permettait de faire pâturer les troupeaux à l'abri, puis à partir du Moyen Âge, d'aménager des jardins potagers et des vignes.
Les rivières étaient franchies sur des gués entretenus, sur les sites des actuels pont Joubert et pont Saint-Cyprien. En cas de siège, les gués étaient démolis.
Actuellement, la ville de Poitiers s'étend sur le plateau de part et d'autre des vallées, notamment en direction de l'est (campus universitaire, centre hospitalier, zones commerciales et d'habitation) et du Nord (technopole du Futuroscope).

Histoire

Article détaillé : Histoire de Poitiers.
Poitiers a laissé son nom à trois grandes batailles :
la première bataille de Poitiers 507, ou bataille de Vouillé est la moins connue. Elle fut remportée par Clovis Ier sur Alaric II roi des Wisigoths (au lieu appelé Campus Vogladensis) au nord-ouest de Poitiers, et permit la conquête de toute la zone entre Loire et Pyrénées ;
la bataille de Poitiers en 732 à Moussais, sur la commune de Vouneuil-sur-Vienne, au Nord de Poitiers, avec la victoire des Francs dirigés par Charles Martel sur les troupes Maures et leurs alliés ;
la bataille de 1356, qui eut lieu à Nouaillé-Maupertuis au sud de Poitiers, avec la victoire des Anglais commandés par le Prince noir contre les Français du roi Jean le Bon.
(Voir l'article Poitou pour les autres batailles du Seuil du Poitou).

Antiquité [modifier]
La ville existait déjà à l'arrivée de César, sous la forme d'un oppidum celte nommé Lemonum, terme qui serait issu du gaulois « Lemo- » orme[6]. Les Romains l'aménagèrent au Ier siècle de notre ère, la dotant d’un amphithéâtre de grande taille (détruit presque entièrement en 1857), de plusieurs thermes, d'au moins trois aqueducs, le tout donnant un statut de premier plan à la ville (vestiges aux Arcs de Parigny). Il est possible qu'au second siècle de notre ère, la ville fut la capitale de la province d'Aquitaine.
Au IVe siècle, une épaisse muraille de six mètres d'épaisseur et dix de hauteur ceint la ville sur 2,5 kilomètres. Celle-ci est réduite au sommet et flanc est du promontoire. Saint Hilaire évangélise la ville au IVe siècle. Les fondations du baptistère Saint-Jean datent de cette époque. La cité prend ensuite le nom définitif de Poitiers, en rapport avec le peuple des Pictons.
Voir aussi Vestiges archéologiques de Poitiers
Moyen Âge [modifier]
À l'époque médiévale, Poitiers tire parti de son site défensif, et de sa situation géographique, loin du centre du pouvoir franc. Siège d'un évêché depuis le IVe siècle, la ville est également la capitale du comté du Poitou, dont les comtes dirigent une importante principauté regroupant le Poitou et l'Aquitaine.
Au IXe siècle, le nom de Grand-rue apparait dans les chartes. C'est la plus ancienne trace d'un nom de rue conservée en Europe. Cette rue correspond à la ligne de plus faible pente, et donc la moins fatigante, pour monter du gué (actuel pont) Saint-Joubert au plateau, et elle est un itinéraire remontant à l'Âge du Fer. Grossièrement orienté est-ouest, il servit d'axe decuman au quadrillage orthogonal des rues à l'époque romaine. C'est également au IXe siècle que l'abbé Mellebaude fait construire l'hypogée des Dunes.
Une première tentative de création de commune a lieu, de façon autonome par les habitants en 1138 (peut-être par la confrérie Saint-Hilaire[7]), qui appellent les bourgs et villes voisins à former une ligue[8]. La commune est rapidement supprimée par le roi de France. Aliénor d'Aquitaine fit construire une nouvelle muraille au XIIe siècle longue de 6 000 mètres, enserrant tout le promontoire.
Lors de la révolte des fils d’Henri II, la ville reste fidèle au roi d’Angleterre, ce qui lui permet d’obtenir une charte communale vers 1175[9],[10], sur le modèle des Établissements de Rouen. La charte est confirmée par Aliénor d’Aquitaine en 1199, puis par les rois de France. Aliénor d’Aquitaine fait également des travaux au palais des comtes-ducs et construire un nouveau marché. Elle meurt à Poitiers en avril 1204, et la ville est prise par Philippe Auguste en août de la même année.
La route de Saint-Jacques-de-Compostelle passant par Poitiers, la ville accueille de nombreux pèlerins, qui y font halte pour vénérer les reliques de sainte Radegonde ou de saint Hilaire.

Statue de Jeanne d'Arc, au square du palais de Justice.
Au XIVe siècle, la ville échoit en apanage au troisième fils de Jean II le Bon, le duc de Berry (commanditaire des Très riches heures du duc de Berry). Il embellit le palais médiéval des comtes de Poitiers, en y aménageant notamment le donjon (dit tour Maubergeon). De même il embellit l'ancien château triangulaire, visible dans le manuscrit des Très riches heures, au mois de juillet. En 1385 il fait construire un des premiers beffrois, le "Gros horloge", aujourd'hui disparu..



Galerie [modifier]


วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

***LOMO---




โลโมกราฟี (อังกฤษ: Lomography) เป็นเครื่องหมายการค้าของ Lomographische AG ประเทศออสเตรีย สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับการถ่ายภาพ. โดยได้ซื้อสิทธิ์การใช้ชื่อมาจากโลโม (LOMO PLC) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเลนส์ของรัสเซีย. กล้อง 35 มม. LOMO LC-A ถูกโปรโมตโดยผู้ที่ชื่นชอบในงานแสดงภาพต่าง ๆ ทั่วโลก
สถานีโทรทัศน์บีบีซีเคยได้นำมาทำเป็นภาพยนตร์สารคดี “Lomo Documentary” [1

ประวัติ
เดิมทีกล้องโลโม่ออกแบบมาเพื่อใช้ในหน่วยงานสายลับของกองทัพรัสเซีย โดย LOMO ย่อมาจาก Leningrad Optical Machinery Organization ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตเลนส์เพื่อใช้ในโครงการอวกาศของกิจการกองทัพและผลิตเลนส์ที่ใช้ในกล้องโทรทัศน์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและอุตสาหกรรมของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น มีคำสั่งให้หน่วยงาน LOMO ผลิตกล้องเลียนแบบกล้องคอมแพคท์ของญี่ปุ่นขึ้นมาให้เร็วที่สุด ถูกที่สุดและมากที่สุด เพื่อแจกจ่ายให้พลเมืองรัสเซียทุกคนได้รู้จักการถ่ายรูป โดยมีคำขวัญว่า "คอมมิวนิสต์อันทรงเกียรติทุกคนควรมีกล้อง Lomo Kompakt Automat LC-A เป็นของตัวเอง" โดยผู้ผลิตกล้อง Lomo Kompakt Automat LC-A คือ Michail Aronowitsch Radionov อดีตสายลับ KGB
ต่อมาเมื่อในปี พ.ศ. 2534 Matthias Fiegl และ Wolfgang Stranzinger หนึ่งในผู้บริหารบริษัท Lomographische AG เดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองปราก สาธารณรัฐเช็ก แต่ลืมนำกล้องถ่ายรูปไปด้วย จึงไปซื้อและได้รู้จักกับกล้อง Lomo Kompakt Automat โดยบังเอิญ และหลังจากได้ถ่ายและล้างรูปจากร้านล้างรูปธรรมดาในซุเปอร์มาร์เก็ต ผลออกมา พบว่าภาพถ่ายมีสีสันจัดจ้านดูผิดเพี้ยน แต่มีความสวยงามจนทำให้พวกเขาได้หลงใหลกับภาพที่ปรากฏขึ้น และในปี 2535 Fiegl และเพื่อนได้จัดตั้งบริษัท Lomographische AG ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังจากนั้นไม่นานกระแสความนิยมในโลโม่กระจายไปทั่วโลก ภายใต้แนวความคิดว่า "Lomography is an analog lifestyle product"

เอกลักษณ์
โลโมกราฟีเน้นการถ่ายภาพจากระดับเอว การใช้สีจัดเกิน สิ่งปนเปื้อนบนเลนส์ และจุดตำหนิอย่างจงใจ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นศิลปะ เป็นนามธรรม เหล่านี้เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพโลโมกราฟีนิยมชมชอบ. ด้วยขนาดที่เล็ก ทำให้กล้องโลโมเป็นที่นิยมสำหรับการพกพา และใช้บันทึกภาพในชีวิตประจำวัน. นอกจากนี้ ความสามารถในการถ่ายในที่ ๆ มีแสงน้อยได้ ทำให้มันเป็นที่นิยมสำหรับการภาพทีเผลอ (แคนดิด) การรายงานด้วยภาพ และภาพเหตุการณ์จริง (photo vérité, คำว่า vérité เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ความจริง)
คุณสมบัติของโลโมแต่ละรุ่นมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน เช่น Holka และ Diana เป็นกล้อง Medium Format, Actionsampler และ Supersampler สร้างภาพได้หลายเฟรมหลายแอคชั่นในการกดชัตเตอร์ครั้งเดียว, Pop- 9 จะให้ภาพซ้ำแบบ Pop Art, Colorsplash มีแฟลชที่เปลี่ยนสีได้, Fisheye ลักษณะภาพจะดูนูน ขอบรูปวงกลม ดีไซน์กล้องที่ดูกึ่งๆ คลาสสิก, LC-A+ มีการ Recite ในเชิงประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นกล้องโลโม่รุ่นแรกตั้งแต่สมัยสายลับรัสเซีย
คติของโลโมกราฟีคือ "ไม่ต้องคิด ถ่ายไปเลย" ("don't think, just shoot")
กฎ 10 ข้อ ของโลโมกราฟี
1 พกกล้องโลโมของคุณไปทุกที่
2 ใช้มันตอนไหนก็ได้ - ทั้งกลางวันและกลางคืน
3 โลโมกราฟีไม่ใช่สิ่งสอดแทรก, แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคุณ
4 ถ่ายจากเอว
5 เข้าใกล้วัตถุที่คุณต้องการความโลโม ให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้
6 ไม่ต้องคิด
7 ทำให้เร็ว
8 คุณไม่จำเป็นต้องรู้ล่วงหน้าว่าคุณจะถ่ายได้อะไรในฟิล์ม
9 และคุณก็ไม่จำเป็นต้องรู้หลังจากถ่าย เช่นกัน
10 ไม่ต้องห่วงเรื่องกฏหรอก

สังคมโลโม
แบรนด์โลโมค่อย ๆ เจริญเติบโต จนมีสังคมทางเว็บไซต์ ด้วยอาศัยสมรรถนะของเทคโนโลยี 2.0 ที่ผู้ใช้สามารถทำให้ฐานชุมชนของแบรนด์เติบโตขึ้นได้ด้วยตัวเอง ที่สามารถให้อับโหลดภาพฟรี การโพสต์ข้อเขียน ยังมีการใช้กลยุทธ์การบริหารงานผ่านเครือข่ายตั้งแต่ระดับโลกผ่านเว็บไซต์ lomography.com และในระดับภูมิภาคเอเชียกับ lomographyasia.com ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในฮ่องกง ขณะเดียวกันยังมีการทำตลาดแบบโลคอล ตามหัวเมืองหลักๆ ของโลกกว่า 70 แห่ง ซึ่งแต่ละประเทศในระดับท้องถิ่นมีการจัด ประกวดภาพถ่าย การทำ Workshop การจัดLomo trip การให้บริการหลังการขาย หรือหากเดินทางไปต่างประเทศ ผู้ถือสัญชาติ Lomographer สามารถใช้กล้องเป็นวีซ่า เพื่อเข้าไปขอคำปรึกษาในด้านต่างๆ ได้ เช่น การหาร้านอัดภาพในประเทศนั้นๆ ปัญหาในการใช้กล้อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมของสาวกโลโม่ทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุด ในงาน Lomo World Congress ซึ่งล่าสุดจัดขึ้นที่ลอนดอน
ส่วนในประเทศไทยมีการก่อตั้งสมาคม Lomography ประเทศไทย ซึ่งเคยมีการจัดงานร่วมกับ“ไทเกอร์เบียร์” นำไปใช้ในการจัดงาน “Tiger Translate” กิจกรรมใหญ่ ดนตรี ศิลปะ กับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

วันอัฏฐมีบูชา





วันอัฏฐมีบูชาวันอัฏฐมีบูชา คือวันแรม ๘ ค่ำแห่งเดือนวิสาขะ(เดือน๖)เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้นๆวันนี้จึงเรียกว่า"วันอัฏฐมีบูชา"เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว๘วันมัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินาราพร้อมด้วยประชาชนและพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธานได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์แห่งกรุงกุสินาราวันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจและวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่ง พระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “วันอัฏฐมี”นั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์ และ อุบาสก อุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่น ที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่
ความสำคัญ เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติ ภาวนามัยกุศล
การปฏิบัติตน๑. ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน๒. รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนา๓. แผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์และญาติผู้ล่วงลับ๔. นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปเวียนเทียนเป็นพุทธบูชา

ประวัติ
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 8 วัน มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา เป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้น เมื่อเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะ เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่


ประวัติพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในพุทธประวัติ
พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 โดยพวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด 7 วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง
พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ
พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ 500 รูปโดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด
หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่างๆ ดังนี้
กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี
กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์
กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ
กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม
มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ
กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา
พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์
มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา
กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน
โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า ตุมพะ แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกสถูปนี้ว่า ตุมพสถูป)
สำหรับกรณีของกษัตริย์เมืองโมริยะนั้น ได้ส่งผู้แทนมาหลังจากที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทั้ง 8 เมืองไปแล้วจึงได้อัญเชิญพระอังคารไปแทน ส่วนโทณพราหมณ์ ก็ได้สร้างสถูปบรรจุทะนานที่ใช้สำหรับตวงพระบรมสารีริกธาตุสำหรับตนเอง และผู้คนได้สักการะดังที่ได้กล่าวไป


ความสำคัญ
วันอัฏฐมีคือวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องมีความเสียใจและสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง จึงเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล

พิธีอัฏฐมีบูชา
การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชาในประเทศไทยนั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ เช่น วันวิสาขบูชา เป็นต้น
ประเพณีวันอัฏฐมีบูชาในประเทศไทย

ประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลอง
ในประเทศไทย พบประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองที่
วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประเพณีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้รับการสนับสนุนจากทางหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยจัดเป็นงาน "วันอัฏฐมีบูชารำลีก เมืองทุ่งยั้ง" ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดงานในวันวิสาขบูชา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 รวม 9 วัน กิจกรรมภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน จนถึงพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า(จำลอง) มีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เรือยาว




ประวัติเรือยาว

ประวัติเรือยาว ในการแข่งขันเรือประจำปีของวัดต่าง ๆ นั้นนับว่าเป็นปกติวิสัย แต่วัดใดที่จัดให้มีการแข่งเรือและมีคู่เรือชิงเดิมพันแล้วจะทำให้งานแข่งเรือขงวัดน ั้น ๆ มีชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีเพราะจะเป็นการดึงดูดผู้ชมเข้าไปชมการแข่งขันกันมาก ฉะนั้น การแข่งขันเรือที่มีการเดิมพันจึงจัดได้ว่าเป็นการแข่งเรือครั้งสำคัญที่จะนำมาเล่าส ู่กันฟังพอสังเขป การแข่งขันเรือชิงเดิมพันในสมัยก่อนมีน้อยมากและเดิมพันก็มีน้อย เช่น เรือไกรทองของวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เคยพายเดิมพันกับเรือเพชรน้ำค้าง จังหวัดสิงห์บุรี เรือธนูทอง พายเดิมพันกับเรือศรีธารา เรือแม่ขวัญมงคลทองพายเดิมพันกับเรือประกายเพชร เรือประกายเพชรพายเดิมพันกับเรือผ่องนภา เรือแม่ขวัญมงคลทองพายเดิมพันกับเรือเทวีนันทวัน เพชรน้อยและช้างแก้ว แต่การพายในครั้งนั้น ๆ ไม่ค่อยเป็นข่าวโด่งดังอะไรมากนัก เพราะยังขาดการประชาสัมพันธ์งาน การแข่งขันเรือเดิมพันที่แพร่หลายในปัจจุบันเกิดจา กทางวัดราชช้างขวัญซึ่งเป็นวัดหนึ่งในจังหวัดพิจิตรที่กล้าจัดเป็นครั้งสำคัญที่รวบร วมไว้ในประวัติการแข่งเรือและเป็นวัดแรกที่กล้าลงทุนเชิญเรือต่างจังหวัดมาพายเดิมพั นกับเรือดังของจังหวัดพิจิตร นั่นก็คือในปี พ.ศ.2522 ผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลปากทาง ซึ่งเป็นประธานจัดงานแข่งเรือประเพณีของวัดราชช้างขวัญได้เชิญเรือศรีสุริโยทัยจากวั ดจุฬามณี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีผู้ใหญ่ถวิล แสงจักร เป็นผู้จัดการ โดยคิดค่าลากจูงเป็นเงินสด 20,000.- บาท มาพายเดิมพันกับเรือแม่พิกุลทอง จากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณเผอิญ จิตรากร เป็นผู้จัดการเรือ โดยคิดค่าลากจูง 5,000.- บาท พายชิงรางวัลเงินสด 200,000.- บาท (พายเดิมพันข้างละ 100,000.- บาท) และได้เชิญคุณไพฑูรย์ แก้วทอง ในสมัยนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร มาเป็นประธานตัดสินเรือครั้งนี้ ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือแม่พิกุลทองจากจังหวัดพิจิตรเป็นฝ่ายชนะ ในเที่ยวที่ 2 เรือศรีสุริโยทัยเป็นฝ่ายชนะ จึงยกเลิกเดิมพันกันไปหลังจากปี 2522 เป็นต้นมาการพายเรือเดิมพันจึงได้ระบาดแพร่หลายจากวงเงินหมื่นเป็นแสน เป็นล้านและเป็นสิบล้าน ซึ่งจะนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้.-ในปี พ.ศ.2523 เป็นปีที่มีการแข่งเรือครั้งสำคัญที่สุด จะนับว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ขณะนี้ยังหาเรือคู่ใดลบสถิติเงินเดิมพันไม่ได้ นั่นคือ ทางวัดท่าหลวงได้จัดงานแข่งเรือประจำปีและจัดให้มีเรือคู่พิเศษพายชิงรางวัลเงินสด 3 ล้านบาท ระหว่างเรือศรทอง จากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณประทีป ชัยสุวิรัตน์ เป็นผู้จัดการเรือ พายกับเทวีนันทวัน ซึ่งมีคุณสมชัย ฤกษ์วรารักษ์ หรือรู้จักกันดีในนามของเสี่ยแหย เป็นผู้จัดการ ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือเทวีนันทวนันชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับเงินรางวัลไป ในเวลา 2 เดือนต่อมาเรือคู่นี้ได้พบกันอีกครั้งหนึ่งที่สนามวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งการพบกันครั้งนี้นับว่าเป็นประวัติการณ์ที่มีการเล่นเดิมพันกันสุงสุด ทางคณะกรรมการได้จัดโต๊ะมุมน้ำเงินรับเก็บเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายใดเงินเดิมพันเข้ามาก็จะประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามนำเงินเข้าไปประกบ สรุปรวมเรือคู่นี้พายกันครั้งนั้นประมาณ 10 ล้านบาท ผลก็ปรากฏว่าเรือศรทองจากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ล้างแค้นได้สำเร็จเอาชนะเรือเทวีนันทวันทั้งสองเที่ยว ซึ่งเป็นปมปริศนาของคนวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2524 ทางวัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดงานแข่งเรือประเพณีขึ้นโดยมีคู่เรือคู่พิเศษชิงรางวัลเงินสด 100,000.- บาท ระหว่างเรือแม่ขวัญมงคลทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กับเรือกิจสังคม จากวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผลปรากฏว่าเรือแม่ขวัญมงคลทองชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับรางวัลเงินสด 100,000.- บาทไป และในปีนี้เรือทั้งคู่ได้ไปพายแก้มือกันที่วัดตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชิงรางวัลเงินสดเท่าเดิม ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือกิจสังคมเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือแม่ขวัญมงคลทองเป็นฝ่ายชนะ จึงได้ยกเลิกเดิมพันกันไปในปี พ.ศ.2525 การแข่งขันเรือยาวใหญ่ทรุดลงจึงจัดให้มีการแข่งขันเรือยาวกางกันบ้างที่วัดราชช้างขว ัญโดยผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ได้เชิญเรือแม่ขันเงินซึ่งช่างทางภาคใต้ขุดไดว้และเป็นเรือวัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร ควบคุมโดยคุณสมชาย สกุลเกียรติวงศ์ พายเดิมพัน 200,000.- บาท กับเรือดังของพิจิตรคือเรือประกายเพชรจากวัดวังจิก อำเภอโพธฺ์ประทับช้าง ในการแข่งขันครั้งนี้ใคร ๆ ก็เล่นเรือทางภาคเหนือคือเรือประกายเพชร เพราะขณะนั้นกำลังเต็งจ๋าเลยทีเดียวและพอเรือแม่ขันเงินซึ่งเดินทางมาโดยรถยนต์สิบล้ อพอเรือถึงวัดราชช้างขวัญใคร ๆ ก็ว่าเป็นเรือต่อไม่ใช่เรือขุด ความจริงเป็นเรือขุดเช่นกัน แต่คนพิจิตรเสียอย่างใจถึงต่างก็ถือข้างประกายเพชรพอเรือแม่ขันเงินพายโชว์เที่ยวเดี ยวเท่านั้นเองคนหันไปเล่นแม่ขันเงิน ผลปรากฎว่าเรือแม่ขันเงินชนะไปทั้งสองเที่ยวพอขึ้นในปี พ.ศ.2526 การแข่งเรือเดิมพันก็ทรุดหนักลงไป เพราะหาเรือพายกันไม่ได้ต่างก้รู้ฤทธฺ์กันหมดทำให้การแข่งเรือจืดชืดกันไปหลายสนาม เรือบางคู่ตกลงจะพายเดิมพันกับผู้จัดก็ออกประกาศงานอย่างดีแต่พอเวลาแข่งจริงไม่มีเด ิมพันก็เข้าตำราที่ว่า "เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย" เป็นของคู่กัน งานแข่งเรือตามวัดเล็กวัดน้อยก็เลิกจัด เพราะจัดแล้วก็ขาดทุน มีแต่จังหวัดใหญ่ ๆ เช่น พิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรี อยุธยา สระบุรี ที่ยังจัดกันอยู่และในการจัดก้มีการขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวบ้าง สมเด็จพระบรมราชินีนาถบ้าง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชบ้าง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีบ้างและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภ รณ์วลัยลักษณ์บ้าง บางแห่งก็ขอถ้วยจากนายกรัฐมนตรี บางแห่งก็ขอถ้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ บางแห่งเป็นถ้วยปลัดกระทรวง บางแห่งเป็นถ้วย ส.ส.หรือถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดก็ทำให้งานแข่งเรือสืบทอดกันมาทุกวันนี้ในปี พ.ศ.2527 ที่วัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้เชิญเรือเทพนรสิงห์ จากจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีคุณชลิตเทพ โพธิ์ใบ เป็นผู้จัดการเรือ มาพายเดิมพันกับเรือไกรทอง ซึ่งมีผู้ใหญ่หิรัญ คัชมาตย์ เป็นผู้จัดการเรือโดยตกลงพายกันสองสนาม สนามแรกพายที่วัดหัวดง เดิมพันกัน 2 ล้านบาท และสนามที่ 2 จะพายกันที่วัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี พายกันอีก 3 ล้านบาท ซึ่งสนามทั้ง 2 สนามก็ได้อย่างมากจากวัดเกาะหงษ์ นั่นก็คือมีการตั้งโต๊ะมุมน้ำเงินขึ้นรับเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ผลการแข่งขันสนามแรกที่วัดหัวดง เรือเจ้าถิ่นคือเรือไกรทองเอาชนะทัง 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไป หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมาไปพายล้างแค้นที่วัดเสาไห้ปรากฎว่าเรือเจ้าถิ่นคือเรือเทพนรสิงห์เอาชนะ 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไปก็ไม่รู้พายกัน 2 เที่ยวใครโชคดีใครโชคร้ายบางรายโชคดีทั้ง 2 สนาม บางรายโชคร้ายทั้ง 2 สนามก็มีครับในปี พ.ศ.2528 วัดราชช้างขวัญได้จัดการแข่งชันเรือประเพณีขึ้นและได้จัดให้มีคู่เรือเดิมพันกันถึง 3 คู่ คือ.- คู่ที่ 1 ระหว่างเรือมณีสายชล จากวัดบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก พายเดิมพันเงินสด 20,000.- บาท กับเรือแม่ศรีจุฑาธิป จากโรงงานทอผ้าจังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าเรือมณีสายชล จากจังหวัดพิจิตรชนะ 2 เที่ยว ได้เงินเดิมพันไป คุ่ที่ 2 ระหว่างเรือขุนเพ่ง จากวัดยางคอยเกลือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพันเงินสด 40,000.- บาท กับเรือจันทวดี จากโรงงานทอผ้าจังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าเรือจันทวดี จากพิษณุโลกชนะ 2 เที่ยว ได้เงินเดิมพันไป คู่ที่ 3 ระหว่างเรือขวัญชาติไทย (เทพนรสิงห์ 88 ในปัจจุบัน) จากวัดราชช้างขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพันเงินสด 80,000.- บาท กับเรือพรพระเทพจากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือพรพระเทพชนะ แต่เที่ยวที่ 2 เรือขวัญชาติไทยชนะจึงยกเลิกเงินเดิมพันกันไปในปี พ.ศ.2529 การแข่งเรือยาวใหญ่ที่เป็นคู่รักคู่แค้นเห็นจะมีอยู่ 2 คู่ คือ ระหว่างเรือพรพระเทพกับเรือแม่พิกุลทอง ซึ่งคู่นี้พายกัน 3 เที่ยว หลายสนามและแต่ละเที่ยวสร้างความหวาดเสียวให้ผู้ชมเป็นอย่างมาก เพราะแพ้ชนะกันฉิวเฉียด ใครอยู่สายน้ำดีจะชนะทุกเที่ยวไปและอีกคู่หนึ่งคือเรือพรพระเทพกับเรือเทพนรสิงห์ ซึ่งก็พายกันสนุก แต่อย่างไรก็ตามในการแข่งขันเรือประเพณีของวัดท่าหลวงในปีนี้มีคู่เรือที่สนุกที่สุด คือ เรือประกายเพชรซึ่งเคยเป็นแชมป์เรือยาวกลางถึง 3 ปีซ้อน พายกับเรือเพชรชมพูจากวัดบางมูลนาก ราคาต่อรองเที่ยวแรกประกายเพชรเป็นต่อ 8 เอา 1 ผลปรากฏว่าเรือประกายเพชรแพ้ เที่ยวที่สองเรือประกายเพชรเป็นต่อ 3 เอา 2 ก็แพ้อีก ทำให้เซียนกระเป๋าฉีกไปตาม ๆ กัน ต่อมาหลังจากที่แข่งที่จังหวัดพิจิตรแล้ว ทางวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดให้มีการแข่งขันเรือคู่เดิมพันอีกคู่หนึ่งซึ่งเป็นคู่เรือที่ยังมิได้เคยพายกั นเลยนั่นก็คือเรือเทพนรสิงห์ จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ควบคุมโดยคุณชลิตเทพ โพธิ์ใบ พายเดิมพัน 100,000.- บาท กับเรือพรพระเทพ จากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ควบคุมโดยคุณแอ๊ด เทวดา ผลปรากฏว่าเรือพรพระเทพชนะทั้งสองเที่ยวรับเงินเดิมพันไปในปี พ.ศ.2530 ก็มีการจัดการแข่งขันเรือประเพณีและมีการพายเดิมพันเรือคู่พิเศษขึ้นที่วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ระหว่างเรือรักไทย จากวัดท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพัน 100,000.- บาท กับเรือจันทรืเจ้า จากวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือจันทร์เจ้าเอาชนะไป 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไป ต่อมาในปีเดียวกันนี้ได้มีการแข่งเรือเดิมพันกันอีกสนามหนึ่งโดยใช้ฝีพายจากภาคใต้ขึ ้นมาพายคือการจัดงานแข่งเรือประเพณีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีเรือเทพพิษณุ จากจังหวัดพิษณุโลก ใช้ฝีพายชุดเจ้าแม่ตาปี จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี พายกับเรือมณีสายชล จากวัดบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยพายเดิมพันกันเป็นเงิน 1 ล้านบาท ก็ปรากฏว่าเรือมณีสายชลชนะไป 2 เที่ยว ได้รับเงินเดิมพันไปในปี พ.ศ.2531 มีการแข่งเรือเดิมพันกันอีกครั้งหนึ่งคือวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดให้เรือพรพระเทพ จากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พายเดิมพัน 400,000.- บาท กับเรือศรสุวรรณ จากวัดสุวรรณราชหงษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ในการแข่งขันครั้งนี้ในเที่ยวแรกเรือพรพระเทพจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือศรสุวรรณเป็นฝ่ายชนะได้ยกเลิกเดิมพันกันไปการแข่งขันเรือครั้ง สำคัญนอกจากจะเป็นการแข่งเรือประเพณีและสอดแทรกคู่เรือเดิมพันเข้าไปเพื่อให้งานครึก ครื้นแล้วก็จะมีการแข่งเรือชิงแชมป์ประเทศไทยที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผ ู้จัดการขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมีเรือเข้าแข่งขันน้อย เพราะค่าใช้จ่ายในการแข่งขันสูงมากก็เห็นจะมีการแข่งขันเรือชิงแชมป์ประเทศไทยในปี พ.ศ.2533 ซึ่งทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดขึ้นที่ลำน้ำจักราช อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีเรือเข้าแข่งขัน 50 กว่าลำ นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยจัดมา ผลก็ปรากฏว่าเรือเทพไพฑูรย์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ได้เข้าชิงแชมป์กับเรือเทพนรสิงห์ 88 จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ผลก็คือเรือเทพไพฑูรย์ได้แชมป์ประเทศไทยในปี 2533


การสร้างเรือยาว
การสร้างเรือยาว การสร้างเรือเข้าทำการแข่งขันในสมัยปัจจุบันของจังหวัดพิจิตร คงจะเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เพราะป่าถูกปิดทำให้ การชักลากไม้ไม่สะดวก ชาวเรือยาวทั้งหลาย มีแต่คิดหา วิธีนำเอาเรือยาวเก่ามาทำการซ่อมแซมใหม่ดังเช่นในปี พ.ศ.2533 ชาวเรือยาวของจังหวัดพิจิตรมีการซ่อมแซมเรือเรือเก่ามาทำการแข่งขัน หลายลำด้วยกัน เพราะการซ่อม เรือเก่าราคาซ่อมยังถูกกว่าการขุดเรือใหม่มากกมาย อย่างน้อย ๆ การขุดเรือยาวแต่ละลำต้องใช้เงินเป็นแสนบาท แต่การ ซ่อมเรือเก่ามาแข่งนั้นอาจจะใช้เงินเป็นหมื่น ๆ บาทเท่านั้นเอง เท่าที่เก็บรวบรวมข้อมูลในปี 2533 มีเรือระดับแชมป์ ๆ ทำการซ่อมแซม เพื่อเข้าทำการ แข่งขันหลายลำด้วยกัน เรือธนูทองจากวัดรังนก อำเภอสามง่าม เรือแม่ตะเคียนทองจากวัดจระเข้ผอม อำเภอสามง่าม เรือเพชรชมพู จากวัด บางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก เรือแม่ พิกุลทองจากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง เรือแม่ขวัญมงคลทอง 3 ปีซ้อนจากวัด ราชช้างขวัญ อำเภอเมือง เรือศรทอง นักล่าเดิมพันเงินล้านจากวัดวังกลม อำเภอเมือง เรือขุนไกร จากวัดหงษ์ อำเภอเมือง และอีกหลายลำท่กำลังเตรียมการอยู่ มิใช่เรือยาวของชาวจังหวัดพิจิตรเท่านั้นชาวเรือจังหวัดอื่นก็คิดซ่อมแซม เรือเข้าทำการแข่งขันเหมือนกัน เช่น เรือศรีสุนทร จากวัดบ้านสร้าง อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ก็ซ่อมใหม่ และ เปลี่ยนชื่อเสียเลย โดยใช้ชื่อ ว่าธงชัยในการขุดเรือยาวใหญ่มีชาวเรือยาวหลายรายอยากจะขุด แต่ดังที่กล่าวมาการหาไม้มากมายเพราะป่าถูกปิด ไม้แต่ละต้น ที่นำมาขุดใช้ขุดเรือจะต้องยาวถึง 14 วาเศษ และต้องใช้ไม้ขนาดใหญ่ด้วย จึงทำให้การขุดเรือ ใหม่เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ราคาค่าขุดเรือในปัจจุบันของจังหวัดพิจิตรก็ตกวาละประมาณ 7,000-8,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามยังม ีชาวเรือต่างจังหวัดคิดขุดเช่นในภาคอีสานมีขุดใหม่หลายลำ เช่น เรือนารายณ์ประสิทธิ์ จากวัดต้นตาล อำเภอเสาไห้ นอกจากนี้ชาวกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาครก็ขุดเรือยาวใหญ่ซึ่งขุดอยู่จังหวัดระยองจำนวนหนึ่งลำ ทางกองทัพเรือ ก็ขุดเสร็จลงน้ำอีกหนึ่งลำในปี พ.ศ.2533 เรือของจังหวัดพิจิตรได้ทำการขุดเรือใหม่เพื่อไว้ต่อกรกับเรือต่างจังหวัดถึง 4 ลำด้วยกัน ซึ่งจะขอนำ รายละเอียดมาเล่า สู่กันฟังดังนี้.- ลำแรกเป็นเรือที่ชาวบ้านหัวดง อำเภอเมือง สร้างขึ้นใหม่ก็คือเรือเพชรไกรทอง ซึ่งได้ขุดจากไม้ตะเคียนทองลำต้นขนาด 15 กำช่างไม้ มีความยาว 14 วา 9 นิ้ว กว้าง 43.5 นิ้ว ไม้ที่นำมาขุดได้มาจากเขตติดต่อขอหมู่บ้านรักไทยกับหมู่บ้าน ร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ผู้ที่มีความสามารถไปนำไม ้มาขุด คือนายเลิศ โพนามาศ กับนายเล็ก บุญม่วง และได้นำไม้มาถึงวัดหัวดงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2532 เริ่มทำการขุดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2532 โดยมีนายเลิศ โพธามาศ เป็นหัวหน้าช่าง มีนายจัด วิเชียรสรรค์ เป็นรองหัวหน้าช่าง และมีช่างลูกมืออีกหลายคนคือนายบุญธรรม สิงห์พรม นายเชื้อ ทิมอ่อง นายวิเชียร วิเชียรสรรค์ นายสุข ฤกษดี ทำการขุดเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 โขนหัวเรือ ทำด้วยไม้กระท้อนที่ได้จากบ้านนายสวัสดิ์ พูลคล้าย โขนท้ายเป็นไม้สำโรงที่ได้จากวัดเขารูปช้าง ไม้กงเรือเป็นไม้ประดู่ ที่ได้ มาจากวัดบึงนาราง รวมแล้วเรือเพชรไกรทองได้ ไม้มาประกอบเป็นเรือหลายหมู่บ้าน ด้วยกัน ความยาวตลอดโขนหัว ถึงโขนท้าย ยาว 17 วา 3 ศอก 13 นิ้ว เผอิญขุดเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 บรรดาชาวบ้านหัวดงจึงนำเลขเศษ 13 นิ้ว ไปเสี่ยงโชคเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2532 เลขท้าย 2 ตัวล่างออกเป็น 13 พอดิบพอดี ทำให้รวยกันไปหลายรายนับว่า อัศจรรย์ยิ่งในการสร้างเรือเพชรไกรทองต้องหมดค่าใช้จ่ายไปรวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000.- บาท ซึ่งก็มีคุณนกเล็ก สดสีและคุณ สายพิณ พหลโยธิน บริษัท ที.ซี.มัยซิน หรือเรารู้จักกันในนามกระทิงแดง บริจาคเงินสดมา 90,000.- บาท นอกจากนี้ก็มี คุณสมาน (เม้ง) เจียมศรีพงษ์ มอบเงินสดให้อีก 10,000.- บาท ที่เหลือ นอกนั้นพ่อค้าประชาชนชาวบ้านหัวดงช่วยกันบริจาคเมื่อขุดเสร็จแล้วคณะกรรมการจึงได้ประชุมเพื่อตั้งชื่อเรือโดยท่านเจ้าอาวาสวัดหัวดงเป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมมีมติตั้งชื่อเรือลำใหม่ว่า "เพชร ไกรทอง" คำว่าเพชร หมายถึงองค์หลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของ ชาวจังหวัดพิจิตรและเพชรนนี้มี ความหมายอีกนัยหนึ่งคือเป็นเครื่อง ประดับ ที่แข็งที่สุด สำหรับคำว่าไกรทองนั้นเป็น ชื่อเรือดั้งเรือเดิมของวัดหัวดงและไกรทองก็เป็นพระเอกในเรื่องไกรทอง ซึ่งพระราชนิพนธ์โดย พระบาท สมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกด้วย ในการลงน้ำได้จัดพิธีใหญ่โต โดยเริ่มกระทำพิธีทางพุทธ เมื่อเวลา 13.39 น. และเริ่มทำพิธีทางพรหมเมื่อเวลา 14.00 น. มีคุณสุพงษ์ ศรลัมพ์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดพิจิตรสวมพวงมาลัยและผ้าแพรที่โขนหัวและเจิมหัวเรือมีคุณวิโรจน์ โรจนวาศ นายอำเภอเมืองพิจิตร คุณทวีป กันแดง ศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร พ.ต.ท.ประคอง อาจคงหาญ สวป.สภ.อ.เมืองพิจิตร และตัวแทนเรืออีกหลายลำมาร่วมสวมพวงมาลัย หลังจากปะพรมน้ำมนต์แล้วได ้ยกเรือ ลงแตะพื้นน้ำหน้า วัดหัวดงเมื่อเวลา 14.29 น. ต่อมาที่สร้างขึ้นใหม่ก็คือเรือเทพเทวฤทธิ์ของชาววัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งได้ไม้ตะเคียนทอง มาจากป่าภูฮวด เขตติดต่อกับภูเขา หินล่องกล้า ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตัดต้นไม้เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2532 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 และได้ชักลาก ออกจากป่ามาถึงวัดหาดมูลกระบือเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2533 เริ่มทำการขุดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ช่างขุดก็มีนายฉาย โรจน์สว่าง อดีตกำนันตำบลย่านยาว อำเภอเมือง เป็นหัวหน้าช่างและมีช่างลูกมือซึ่งเป็นชาวบ้านวัดหาดมูลกระบืออีกหลายคนช่วยขุด ใช้เวลาในการขุดประมาณ 3 เดือนเศษก็เสร็จ รวมค่าใช้จ่ายไปประมาณ 60,000.- บาท การตั้งชื่อเรือเทพเทวฤทธิ์เนื่องจากได้มีการทำพิธีบวงสรวงว่า จะให้ตั้งชื่อว่าอะไรก็ขอให้บอกเป็นนิมิต หลังจากทำพิธี บวงสรวงได้ 3 วัน ปรากฏว่าพอตก กลางคืนเกิดนิมิตขึ้น คือ มีคนรูปร่างสูงใหญ่แต่งตัวเหมือนนักรบโบราณมีเครื่องแต่งตัว สวยงามมาก ใส่ชฎาหรือมงกุฎถือดาบเป็นแสงวาว ซึ่งเกิดนิมิตอยู่ถึง 3 วัน จึงได้ตั้งชื่อว่า เทพเทวฤทธิ์เรือเทพเทวฤทธิ์ได้กระทำพิธีลงน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2533 ตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5 ที่กล่าวมาแล้วคือ เรือเพชร ไกรทอง กับเรือเทพ เทวฤทธิ์ เป็นไม้ที่ได้มาจากจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 2 ลำ และช่างผู้ขุดก็เป็นช่าง จากจังหวัด พิจิตรเหมือนกัน ลำต่อไปที่จะเสนอเป็นเรือของ จังหวัดพิจิตรที่ได้ไม้มาจากจังหวัดอุตรดิตย์และขุดโดยช่างทางภาคใต้ เรือของจังหวัดพิจิตรที่เกิดขึ้นในปี 2533 และขุดโดยช่างทางภาคใต้คือ เรือป่าลั่น ไม้ที่นำมาขุด คือ ไม้ตะเคียนทองที่ได้ มาจากอำเภอทองแสงขันธ์ จังหวัดอุตรดิตย์ ขุดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 โดยนายเอื้อน พรหมขจร จากบ้านพล้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยคิดค่าขุดวาละ 7,000.- บาท ความยาวของตัวเรือ 14 วา 9 นิ้ว ทำการลงน้ำในวันที่ 15 กรกฎาคม 2533การตั้งชื่อเรือป่าลั่น เนื่องจากเรือลำนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ที่ได้ไม้นำมารขุดเรือ ทางคณะกรรมการจึงตั้งชื่อให้สอดคล้องกับท่าน จึงตั้งชื่อว่า "ป่าลั่น"เรือลำสุดท้ายที่เกิดขึ้นของจังหวัดพิจิตรในปี พ.ศ.2533 ก็เห็นจะได้แก่เรือตรีทอง โดยไม้ที่จะนำมาขุดเรือตรีทอง มาจากแห่งเดียวกับเรือป่าลั่น คือ จาก อำเภอทองแสงขันธ์ จังหวัดอุตรดิตย์ จะขุดประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533 และคิดว่าจะให้เสร็จก่อนงานแข่งขันเรือประเพณีของจังหวัดพิจิตร ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน พ.ศ.2533 ช่างที่จะทำการขุดก็คือช่างทางภาคใต้ได้แก่นายเอื้อน พรหมขจร จากบ้านพล้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งรายละเอียดของเรือป่าลั่นและเรือตรีทองได้รับรายละเอียดจากคุณนิวัมน์ น้อยอ่ำกับคุณนิเวศน์ น้อยอ่ำ ผู้ควบคุม เรือ 2 ลำนี้ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยจะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ.2533 ทางจังหวัดพิจิตรมีเรือขุดใหม่รวม 4 ลำด้วยกันและเป็นการประชันกันระหว่าง ช่างเหนือ กับช่างใต้ว่าใครจะขุดได้แล่นกว่ากัน สนามแรกที่จะประลองก็คงจะเป็นวัดท่าหลวงพระอารามหลวง จังหวัดพิจิตร ประมวลภาพเรือเก่า

วิทยุโบราณ




ประวัติของวิทยุ

ความเป็นมาของวิทยุนั้นเริ่มตั้งแต่ Whetstone ได้คิดสัญญาณทางไกลโดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อ ค.ศ. 1836 ต่อมาเมื่อปีค.ศ. 1944 Samual Morse ได้คิดเครื่องส่งรหัสทางเครื่องส่งสัญญาณทางไกลแม่เหล็กไฟฟ้า (หรือเรียกว่าโทรเลข) จากWashington และ Boltimore ได้สำเร็จความจริงแล้วนั้นการค้นคว้าของ Morseได้สำเร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1832 แต่เกิดอุปสรรคในการเผยแพร่และคุณภาพยังไม่ดีพอ
อย่างไรก็ตาม James Clerk Maxwell ชาวอังกฤษได้พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อ ค.ศ.1864 และต่อมาได้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจได้ค้นคว้าเพิ่มเติมและเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศมาใช้งาน
ต่อมาชาวแฮมเบริก เยอรมันตะวันตกชื่อ Hertz ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ผลิตเครื่องมือที่สามารถนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร และประกาศให้ชาวโลกได้รับทราบเมื่อ ค.ศ. 1885 ผลงานของเขาได้รับการยกย่องเรียกเป็นคลื่นวิทยุ “เฮิร์ส “ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ Guglielmo Marconi อายุ 21 ปี ได้ค้นคว้าสร้างวิทยุขึ้นสำเร็จ โดยเริ่มส่งคลื่นโดยไม่ต้องใช้สายและนำความคิดในการสร้างคลื่นวิทยุของ”เฮิร์ส”มาใช้ในการดำเนินงาน
ความสนใจจากการค้นคว้าของ Marconi ทำให้ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lord Kelvin ส่งวิทยุซึ่ง Marconi เป็นผู้คิดค้นจัดตั้งขึ้น ระหว่างเกาะ Wight และ Bornemouth เมื่อปี 1898 และต่อจากนั้นอีกไม่นานก็ได้ใช้วิทยุสื่อสารจาก Kingstown แก่หนังสือพิมพ์ Daily Express ของกรุงดับลิน และต่อมาอีกไม่นาน Duoretet และ Roger ก็ได้ทดลองใช้ติดต่อระหว่างหอ Eiffel และ Panheon ที่กรุงปารีส
และในวันที่ 27 มีนาคม 1899 ได้เป็นวันที่จารึกในประวัติศาสตร์ของวงการวิทยุเมื่อ Marconi ทำการส่งวิทยุข้างช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จ จากการส่งวิทยุครั้งนี้ทำให้มีการตื่นเต้นกันทั่วอังกฤษและทำให้เขาจดทะเบียนลิขสิทธิ์ทันที
ทางด้านเครื่องรับวิทยุในระยะแรกก่อนที่จะใช้ระบบทรานซิสเตอร์นั้นเป็นวิทยุแร่ ซึ่งคล้ายๆกับการใช้ถ่านไฟฉาย คือเมื่อแร่ยังมีกำลังก็สามารถฟังได้ชัดแต่เมื่อคุณภาพของแร่ใกล้หมดลงคุณภาพการรับก็ลดลง คุณภาพเสียงก็เบามาก เครื่องรับแต่ละเครื่องต้องมีเครื่องฟังเสียงครอบหูในระยะแรกแม้ไม่มีคลื่นส่งวิทยุหลายคลื่น แต่ผู้รับก็จำต้องหาคลื่นโดยต้องรับคลื่นตามกระแสลม ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านการรับฟัง
และในปี 1907 ชาวอเมริกันชื่อ ได้คิดสร้างหลอดวิทยุชนิดมีกำลังรับส่งดีขึ้น ทำให้คุณภาพของวิทยุได้เพิ่มประสิทธิภาพขึ้น
ในเมื่อเครื่องรับเครื่องส่งวิวัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ การเสนอข่าวและรายการต่างๆก็เพิ่มมากขึ้นเช่นปี 192 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มีนาคม สถานีวิทยุ Chelmsford ของอังกฤษได้ออกอากาศในรายการข่าวและดนตรีโดยใช้เวลาครั้งละไม่นาน ในเดือนมิถุนายนสถานีเดียวกันนี้ได้ร่วมกับหนังสือพิมพ์ Daily Mail ถ่ายทอดเพลงจากวงดนตรีดุริยางค์แห่งหนึ่ง และในวันที่ 2 กันยายนปีเดียวกัน วันที่ 7 พฤศจิกายน สถานี K.D.K.A.ของบริษัท Westinghouse ที่เมือง Pittsburgh สหรัฐอเมริกา ได้เปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงโดยเร่งกระจายข่าวเกี่ยวกับการเลือกประธานาธิบดี Harding และในปี ค.ศ. 1920 นี้เหมือนกัน รัสเซียก็ได้เริ่มมีสถานีวิทยุ ส่วนฝรั่งเศษนั้นในเดือนกันยายน 1921 ฝรั่งเศษได้ส่งกระจายเสียงทางวิทยุจากสถานีซึ่งตั้งที่หอ Eiffel ทั้งนี้โดยส่งเป็นข่าวสั้นๆ
ต่อมาในปี 1924 สถานวิทยุกระจายเสียงชื่อ Radiola แห่งกรุงปารีส ได้ส่งกระจายเสียงเป็นประจำทุกวัน และการส่งกระจายเสียงเหมือนเป้นการถ่ายทอดเสียงในนอกสถานที่ก็ได้ปรากฏขึ้นเป้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 1930 ได้มีการถ่ายทอดพระราชดำรัสเปิดประชุมทหารเรือที่ลอนดอน โดยมีพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ของอังกฤษเป็นผู้ประทานพระราชดำรัส โดยมีวิทยุกระจายเสียงถึง 242 สถานีเป็นผูถ่ายทอด จากจำนวนวิทยุกระจายเสียง 242 สถานีนั้น เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในยุโรป 125 สถานี
ส่วนสถานีวิทยุ BCC ( British Broadcast Corparation ) ได้เริ่มส่งกระจายเสียงเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1922 และได้เป็นแม่แรงสำคัญในการถ่ายทอดพระราชดำรัสเปิดการประชุมทหารเรือที่ลอนดอน ในวันที่ 21 มกราคม 1930 ด้วย


ประวัติความเป็นมาของวิทยุแห่งประเทศไทย

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประชาชนต่างพากันตื่นเต้นและปีติยินดีเป็นที่สุด เมื่อได้รับฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตรงจากเครื่องรับวิทยุหรือเครื่องแร่ที่ใช้หูฟัง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะในยุคนั้นน้อยครั้งที่สามัญชนจะได้รับฟังกระแสพระราชดำรัสจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยตรง
พิธีเปิดวิทยุกระจายเสียง
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 เป็นวันที่ทางราชการได้ทำพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นเป็นครั้งบแรกในประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 พิธีเปิดสถานีวิทยุได้กระทำโดยอันเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากที่นัางอัมรินทร์วินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง แล้วถ่ายทอดไปตามสายเข้าเครื่องวิทยุกระจายเสียงที่ตั้งอยู่ที่พญาไท ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมโดยตลอดของ พลเอก พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน นายทหารช่างผู้นำวิชาวิทยุกระจายเสียงเข้ามาในประเทศไทย และได้ทรงริเริ่มงานนี้ด้วยพระองค์เองตั้งแต่งานด้านช่างวิทยุจนกระทั่งงานผู้ประกาศ
การออกอากาศเป็นทางการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้ออกอากาศเป็นทางการครั้งแรกนี้ใช้ความยาวคลื่น 363 เมตร หรือความถี่ 826.41 กิโลเฮิตซ์ เครื่องส่งบริษัทฟิลลิปส์มีกำลังออกอากาศ 2.5 กิโลวัตต์ เสาอากาศสูง 40 เมตร ใช้สัญญาณเรียกขาน (CALL-SIGH)ว่า HSP1 อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมไปรษณีย์โทรเลข ส่งกระจายเสียงเป็นประจำทุกคืนเว้นคืน
ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ได้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นลำดับมา ตั้งแต่ปี 2471 ซึ่งขณะนั้น พลเอก พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงคมนาคม ทรงฝักใฝ่พระหฤทัยงานด้านวิทยุ อันเป็นวิวัฒนาการใหม่ของโลกในยุคนั้นอย่างจริงจัง เทื่อพระองค์เสด็จกลับจากการศึกษาด้านคมนาคมในต่างประเทศแล้วทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น โดยส่งคลื่นสั้นขนาด 37 เมตร มีกำลังออกอากาศ 200 วัตต์ มาทำการทดลอง เริ่มทดลองที่ตึกไปรษณีย์วัดเสียบปากคลองโอ่งอ่าง ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2471 ใช้ชื่อสถานีว่า “สถานี 4 พีเจ “
ต่อมาได้ย้ายไปดำเนินงานใหม่ที่ศาลาแดง และได้เปลี่ยนคลื่นเป็น 29.5 เมตร เพิ่มกำลังส่งเป็น 500 วัตต์ ใช้ชื่อใหม่ว่า “2 พี เจ “แต่การส่งคลื่นสั้นไม่เป็นผลดีต่อการรับฟังภายในประเทศเจ้าหน้าทีช่างวิทยุที่ศาลาแดงจึงเปลี่ยนไปใช้ขนาดกลางหรือที่เราเรียกกันติดปากว่าคลื่นยาว ขนาด 320 เมตร หรือตรงกับความถี่ 937 กิโลเฮิตซ์ พร้อมทั้งเพิ่มกำลังส่งเป็น 1 กิโลวัตต์ ได้มีการทดลองเรื่อยมา ประชาชนก็นิยมสร้างเครื่องรับชนิดแร่ที่ใช้หูฟังมากขึ้นจนถึงกับมีการตั้งร้านค้า เครื่องรับวิทยุขึ้น ทางราชการเห็นประโยชน์และความสำคัญจึงได้มีการสั่งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงจากบริษัทฟิลลิปส์ประเทศฮอลันดา เข้ามาอีกเครื่องหนึ่ง

ส่งวิทยุคลื่นสั้นและเอฟ.เอ็ม.เป็นครั้งแรก
ปี 2495 ได้รับงบประมาณให้ซื้อเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นสำหรับใช้ในการกระจายเสียงภาคต่างประเทศ มีกำลังออกอากาศ 50 กิโลวัตต์ 1 เครื่อง ความถี่ 11910 กิโลเฮิตซ์ติดตั้งที่ซอยอารี ถนนพหลโยธิน และออกอากาศเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2496 นอกจากนั้น ยังได้สั่งซื้อเครื่องส่ง ระบบเอฟ.เอ็ม. อีก 2 เครื่อง แรกได้ใช้ถ่ายบทอดรายการแทนสายโทรศัพท์จากห้องส่งกระจายเสียงไปยังเครื่องส่งที่ซอยอารีในบางครั้งเมื่อสายเคเบิ้ลเสีย หรือมีการรบกวน จนกระทั่ง 2499 จึงได้มีระบบ เอฟ.เอ็ม. ออกอากาศจริงจัง ซึ่งเป็นการเริ่มส่งกระจายเสียงด้วยระบบ เอฟ.เอ็ม.เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ปี 2506 กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับงบประมาณให้จัดซื้อเครื่องส่งกำลังสูง 100 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง เป็นเครื่องคลื่นขนาดกลางสำหรับกระจายเสียงภาคในประเทศของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 1เครื่อง และเครื่องคลื่นสันสำหรับส่งกระจายเสียงในต่างประเทศอีก 1 เครื่อง เครื่องส่งคลชื่นขนาดกลางหรือคลื่นยาวตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา จ. นครปฐม ออกอากาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2508 ด้วยความถี่ 830 กิโลเฮิตซ์ ซึ่งเป็นความถี่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนเครื่องส่ง 100 กิโลวัตต์ คลื่นสั้นไปตั้งที่ตำบล คลองห้า จ.ปทุมธานี ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2510 ประมาณปี 2510 ด้วยเหตุผลจาการเสนอแนะทางด้านเทคนิค ได้มีการสับความถี่กันเพื่อผลทางด้านการฟังนอกประเทศ
นอกจากการปรับปรุงขยายงานด้านเครื่องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยซึ่งเป็ฯสถานีวิทยุกระจายเสียงในส่วนกลางแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ยังได้ขยายงานการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย ด้วยความมุ่งหมายให้ประชาชนทั่วทุกภ่คทุกท้องถิ่นสามารถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยทั่งถึงกัน รวมทั้งด้วยเหตุผลทางด้านรายการที่สามารถดำเนินงานสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การอาชีพ และความต้องการของประชาชน ในแต่ละท้องถิ่นด้วย และกรมประชาสัมพันธ์ก็ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคทุกภาคเป็นลำดับมา จนกระทั่งปัจจุบันกรมประชาสัมพันธ์มีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วราชอาณาจักร
ภาคกลาง
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
ความถี่ เอ.เอ็ม. 830 920 4830 6070 7115 กิโลเฮิตซ์
เอฟ.เอ็ม. 93.5 เมกกะเฮิตซ์
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
ภาค เอฟ.เอ็ม. สเตอริโอมัลติเพล็กซ์ 92.5 เมกกะเฮิตซ์
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ภาคต่างประเทศ
ความถี่ เอ.เอ็ม.920 9655 11905 กิโลเฮิตซ์
เอฟ.เอ็ม 97.0 เมกกะเฮิตซ์
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยภาคพิเศษ ถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


สถานีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 1000 กิโลวัตต์
ตามปกติสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยภาคปกติที่กรุงเทพมหานคร ใช้เครื่องส่งกระจายเสียงที่มีกำลังออกอากาศ 100 กิโลวัตต์ โดยมีสถานีเครื่องส่งอยู่ที่ตำบล ศาลายา อำเภอ นครชัยศรี จังหวัด นครปฐม ไม่สามารถกระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย คณะรัฐมนตรีชุดนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการจัดซื้อเครื่องส่งกระจายเสียงความถี่ขนาดกลาง กำลังออกอากาศ 500 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ส่วนประกอบมาใช้แทนเครื่องส่งเดิม และคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้มีการประชาสัมพันธ์ดำเนินการจัดซื้อจาก บริษัท NEC ตามที่คณะกรรมการประกวดราคาเสนอ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2522 การดำเนินงานก่อสร้างและติดตั้งเสร็จเรียบร้อยใช้ส่งออกอากาศได้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2524 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 126,172,580- บาท
สถานีเครื่องส่งตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ตำบล หนองโรง อำเภอ หนองแค จังหวัด สระบุรี ในที่ดินราชพัสดุเนื้อที่ 300 ไร่ ใช้งบประมาณในการถมที่เพื่อสร้างอาคาร ถนน เป็นเงิน 2,389,600- บาท
กรมโยธาธิการเป็นผู้ออกแบบอาคารสถานีฯ เป้นอาคาร 2 ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ 300 ตารางวา ชั้นล่าง เป็นที่ติดตั้งเครื่องส่ง 500 กิโลวัตต์ จำนวน 21 เครื่อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ และยังใช้เป็นสำนักงานที่ทำการของสานีฯ ซึ่งประกอบด้วยห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องพักสำหรับผู้อยู่เวรประจำ ห้องเตรียมอาหาร ห้องเก็บพัสดุ ห้องประชุม ห้องควบคุม ห้องปฐมพยาบาล และห้องสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ส่วนชั้นที่ 2 เป็นที่ติดตั้งเครื่องระบายความร้อนของเครื่องส่ง
การจัดหากระแสไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้จัดกระแสไฟฟ้าแรงสูง 22000 โวลท์ เข้าไปยังสถานีฯ โดยมีสถานีลดลงเหลือ 6600 โวลท์ จ่ายให้กับเครื่องส่ง 500 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
ด้านการส่งวิทยุกระจายเสียง 500 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ประกอบต่างๆ บริษัทนิปปอนอีเลคทริค ลิมิเต็ด (NEC) เป็นผู้ผลิตเครื่องส่งรวมทั้งอุปกรณ์รวมและการติดตั้งทดสอบ ทดลอง
ระบบของเครื่องส่ง เป็นเครื่องระบบ เอ.เอ็ม.ความถี่ในการส่งออกอากาศ 891 กิโลเฮิตซ์ หรือความยาวคลื่น 336.7 เมตร ประกอบด้วยเครื่องส่งขนาดกำลังส่ง 500 กิโลวัตต์ หรือแยกส่งเพียงเครื่องใดเครื่องหนึ่งให้มีกำลังส่ง 500 กิโลวัตต์ โดยอีกเครื่องหนึ่งต่อตรงไปยังสายอากาศจำลองเพื่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาก็ได้ การควบคุมการทำงานของเครื่องส่งรวมทั้งการกำหนดกำลังในการส่งออก อากาศและวงจรป้องกันควบคุมไม่ได้เกิดการผิดพลาด ใช้วงจรคอมพิวเตอร์ 3 ชุด ควบคุม เครื่องส่งได้ออกแบบไว้ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ส่วนประกอบเกือบทั้งหมดจึงใช้วัตถุกึ่งตันนำ มีส่วนที่ใช้หลอดเพื่อการขยายในวงจรขยายกำลังเพียง 3 ภาคเท่านั้น
ระบบสายอากาศ ประกอบด้วยสายอากาศจำนวน 3 ต้น และวงจรควบคุม กำหนดทิศทางในการส่งคลื่นวิทยุให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ในรูปแบบต่างๆ 5 รูปแบบ คือ
1) ออกแบบให้ขอบเขตบริการสามารถครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยมากที่สุด
2) กำลังส่งส่วนใหญ่จะพุ่งไปทางทิศใต้ สามารถครอบคลุมได้ถึงประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
3) กำลังส่งส่วนใหญ่จะพุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึงประเทศกัมพูชา และเวียดนาม
4) กำลังส่งส่วนใหญ่จะพุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึงประเทศลาว เวียดนาม ฮ่องกง และจีน
5) กำลังส่งสูงสุดจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึงประเทศพม่า จีน บังคลาเทศ ปากีสถาน เนปาล และบางส่วนของประเทศอินเดีย
สำหรับห้องส่งกระจายเสียง ซึ่งอยู่ในปัจจุบันใช้อาคารกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณให้ดำเนินงานจัดสร้างอาคารห้องส่งกระจายเสียงแห่งประเทศไทยขึ้นใหม่ โดยกรมโยธาธิการเป็นผู้ออกแบบให้ตามความต้องการของกรมประชาสัมพันธ์ อาคารนี้มีลักษณะเป็นศูนย์กระจายเสียงของสถานีกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โดยจัดสร้าง ณ ที่ดินข้างโรงเรียนเสนาธิการทหาร และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต มีห้องแสดงขนาดใหญ่ 2 ห้อง ห้องผู้ประกาศ และห้องผู้บรรยาย สำหรับการออกอากาศได้พร้อมๆ กัน 4 รายการ ทั้งภาคในประเทศ และภาคต่างประเทศ กับมีศูนย์ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงอยู่ในอาคารศูนย์กระจายเสียงนี้ด้วย
รายการที่ใช้ในการส่งออกอากาศ เป็นรายการจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยภาคปกติ จากกรุงเทพฯ การถ่ายทอดรายการผ่านระบบไมโครเวฟ จากกรมประชาสัมพันธ์ ไปยังสถานีทวนสัญญาณซึ่งติดตั้งไว้ที่สถานีรับของวิทยุเอเชียเสรี จังหวัดปทุมธานี แล้วถ่านทอดสัญญาณต่อไปยังสถานีเครื่องส่ง 100 กิโลวัตต์ ระหว่างห้องส่งที่กรมประชาสัมพันธ์และสถานีเครื่องส่ง 1000 กิโลวัตต์ จะมีวิทยุติดต่อ วีเอชเอฟ ใช้ติดต่อประสานงานได้ตลอดเวลา จึงไม่มีอุปสรรคในการปฏิบัติงานเแต่ประการใด


ความแตกต่างของระบบคลื่น F.M.กับ A.M.
ในการส่งของเครื่องส่งวิทยุ (Tranmitter) อันเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่คงตัว แล้วส่งผ่านอากาศและเดินไประยะไกลๆนั้น เมื่อเสียงที่เพิ่มจากกำลังแล้วมาจากห้องส่งไปยังเครื่องส่ง จะส่งมาในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังจุดหมายปลายทาง คือ สายอากาศของเครื่องรับวิทยุและในเครื่องรับวิทยุก็มีกลไกหนึ่งชื่อว่า Tuner คือสามารถทำเสียงให้เกิดขึ้นได้หลังจากที่คลื่นได้เดินทางมาพบกับเสาอากาศและมายังเครื่อง Tuner เมื่อถูกปรับให้ได้คลื่นเสียงที่มีความถี่เหมาะสม Tuner ก็จะรับคลื่นแม่เหล็กอันนั้นไว้ แล้วมาแยกคลื่นเสียงที่อาศัยมาส่งเข้าเครื่องขยายและลำโพงออกมาเป็นเสียงดังเดิมซึ่งก็มีสองวิธีด้วยกัน
1) Amplitude Modulation หรือระบบ A.M.อันเป็นการผสมคลื่นทางช่วงสูง
2) Frequency Modulation หรือระบบ F.M. อันเป็นการผสมความถี่ระบบ
A.M. (Amplitude Modulation) ใช้กับวิทยุทั่วๆไปนั้น คลื่นเสียงสามารถเดินทางเป็นระยะไกลๆได้ ถูกส่งไปด้วยกำลังที่แรงพอ แต่เสียงถูกตัดด้วยความถี่5,000 C.P.S. = (Cycle per Second) อันหมายถึงความสั่นต่อวินาที
F.M.(Frequency Modulation )ส่งกระจายเสียงด้วยระบบที่สูงกว่า เสียงจะไม่ถูกรบกวนและมีช่วงความถี่สูงถึง 15,000 c.p.s.= (Cycle per second) แต่ระยะการรับฟังได้อยู่ในขอบเขตของแนวสายตา (Line of Sight) เหมือนกับโทรทัศน์ในปัจจุบัน

TELEVISION




โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์




ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 จาก วังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) สำหรับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของไทยนั้น ก็คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทั้งชื่อ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และ เอ็นบีที เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - VHF Band-1 ช่อง 3 (ปัจจุบันออกอากาศในระบบ UHF Band-4 ช่อง 32และระบบ Band-5 ช่อง 60)
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 - VHF Band-1 ช่อง 5
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 - VHF Band-3 ช่อง 7
สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี - VHF Band-3 ช่อง 9
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย - VHF Band-3 ช่อง 11
สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย - UHF Band-4 ช่อง 29 (รับช่วงในการส่งสัญญาณต่อจากไอทีวีและทีไอทีวี)

คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย
VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12)
UHF มีจำนวน 39 ช่อง คือ ช่อง 21-69
ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น
VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง13-84




ประเภทของโทรทัศน์
ชื่อ
ขนาด
อัตราส่วน
อักษรย่อ
Standard Definition Television 704 × 480 1.4 : 1.0 SDTV (480p)
High Definition Television 1920 × 1080 1.7 : 1.0 HDTV (1080p)
Quad Full High Definition Television*3840 × 2160 1.7 : 1.0 QHDTV (2160p)
Super Hi-Vision Television* 7680 × 4320 1.7 : 1.0 SHVTV (4320p)


เป็นรูปแบบโทรทัศน์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต