ประวัติเรือยาว
ประวัติเรือยาว ในการแข่งขันเรือประจำปีของวัดต่าง ๆ นั้นนับว่าเป็นปกติวิสัย แต่วัดใดที่จัดให้มีการแข่งเรือและมีคู่เรือชิงเดิมพันแล้วจะทำให้งานแข่งเรือขงวัดน ั้น ๆ มีชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีเพราะจะเป็นการดึงดูดผู้ชมเข้าไปชมการแข่งขันกันมาก ฉะนั้น การแข่งขันเรือที่มีการเดิมพันจึงจัดได้ว่าเป็นการแข่งเรือครั้งสำคัญที่จะนำมาเล่าส ู่กันฟังพอสังเขป การแข่งขันเรือชิงเดิมพันในสมัยก่อนมีน้อยมากและเดิมพันก็มีน้อย เช่น เรือไกรทองของวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เคยพายเดิมพันกับเรือเพชรน้ำค้าง จังหวัดสิงห์บุรี เรือธนูทอง พายเดิมพันกับเรือศรีธารา เรือแม่ขวัญมงคลทองพายเดิมพันกับเรือประกายเพชร เรือประกายเพชรพายเดิมพันกับเรือผ่องนภา เรือแม่ขวัญมงคลทองพายเดิมพันกับเรือเทวีนันทวัน เพชรน้อยและช้างแก้ว แต่การพายในครั้งนั้น ๆ ไม่ค่อยเป็นข่าวโด่งดังอะไรมากนัก เพราะยังขาดการประชาสัมพันธ์งาน การแข่งขันเรือเดิมพันที่แพร่หลายในปัจจุบันเกิดจา กทางวัดราชช้างขวัญซึ่งเป็นวัดหนึ่งในจังหวัดพิจิตรที่กล้าจัดเป็นครั้งสำคัญที่รวบร วมไว้ในประวัติการแข่งเรือและเป็นวัดแรกที่กล้าลงทุนเชิญเรือต่างจังหวัดมาพายเดิมพั นกับเรือดังของจังหวัดพิจิตร นั่นก็คือในปี พ.ศ.2522 ผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลปากทาง ซึ่งเป็นประธานจัดงานแข่งเรือประเพณีของวัดราชช้างขวัญได้เชิญเรือศรีสุริโยทัยจากวั ดจุฬามณี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีผู้ใหญ่ถวิล แสงจักร เป็นผู้จัดการ โดยคิดค่าลากจูงเป็นเงินสด 20,000.- บาท มาพายเดิมพันกับเรือแม่พิกุลทอง จากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณเผอิญ จิตรากร เป็นผู้จัดการเรือ โดยคิดค่าลากจูง 5,000.- บาท พายชิงรางวัลเงินสด 200,000.- บาท (พายเดิมพันข้างละ 100,000.- บาท) และได้เชิญคุณไพฑูรย์ แก้วทอง ในสมัยนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร มาเป็นประธานตัดสินเรือครั้งนี้ ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือแม่พิกุลทองจากจังหวัดพิจิตรเป็นฝ่ายชนะ ในเที่ยวที่ 2 เรือศรีสุริโยทัยเป็นฝ่ายชนะ จึงยกเลิกเดิมพันกันไปหลังจากปี 2522 เป็นต้นมาการพายเรือเดิมพันจึงได้ระบาดแพร่หลายจากวงเงินหมื่นเป็นแสน เป็นล้านและเป็นสิบล้าน ซึ่งจะนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้.-ในปี พ.ศ.2523 เป็นปีที่มีการแข่งเรือครั้งสำคัญที่สุด จะนับว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ขณะนี้ยังหาเรือคู่ใดลบสถิติเงินเดิมพันไม่ได้ นั่นคือ ทางวัดท่าหลวงได้จัดงานแข่งเรือประจำปีและจัดให้มีเรือคู่พิเศษพายชิงรางวัลเงินสด 3 ล้านบาท ระหว่างเรือศรทอง จากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณประทีป ชัยสุวิรัตน์ เป็นผู้จัดการเรือ พายกับเทวีนันทวัน ซึ่งมีคุณสมชัย ฤกษ์วรารักษ์ หรือรู้จักกันดีในนามของเสี่ยแหย เป็นผู้จัดการ ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือเทวีนันทวนันชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับเงินรางวัลไป ในเวลา 2 เดือนต่อมาเรือคู่นี้ได้พบกันอีกครั้งหนึ่งที่สนามวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งการพบกันครั้งนี้นับว่าเป็นประวัติการณ์ที่มีการเล่นเดิมพันกันสุงสุด ทางคณะกรรมการได้จัดโต๊ะมุมน้ำเงินรับเก็บเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายใดเงินเดิมพันเข้ามาก็จะประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามนำเงินเข้าไปประกบ สรุปรวมเรือคู่นี้พายกันครั้งนั้นประมาณ 10 ล้านบาท ผลก็ปรากฏว่าเรือศรทองจากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ล้างแค้นได้สำเร็จเอาชนะเรือเทวีนันทวันทั้งสองเที่ยว ซึ่งเป็นปมปริศนาของคนวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2524 ทางวัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดงานแข่งเรือประเพณีขึ้นโดยมีคู่เรือคู่พิเศษชิงรางวัลเงินสด 100,000.- บาท ระหว่างเรือแม่ขวัญมงคลทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กับเรือกิจสังคม จากวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผลปรากฏว่าเรือแม่ขวัญมงคลทองชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับรางวัลเงินสด 100,000.- บาทไป และในปีนี้เรือทั้งคู่ได้ไปพายแก้มือกันที่วัดตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชิงรางวัลเงินสดเท่าเดิม ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือกิจสังคมเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือแม่ขวัญมงคลทองเป็นฝ่ายชนะ จึงได้ยกเลิกเดิมพันกันไปในปี พ.ศ.2525 การแข่งขันเรือยาวใหญ่ทรุดลงจึงจัดให้มีการแข่งขันเรือยาวกางกันบ้างที่วัดราชช้างขว ัญโดยผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ได้เชิญเรือแม่ขันเงินซึ่งช่างทางภาคใต้ขุดไดว้และเป็นเรือวัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร ควบคุมโดยคุณสมชาย สกุลเกียรติวงศ์ พายเดิมพัน 200,000.- บาท กับเรือดังของพิจิตรคือเรือประกายเพชรจากวัดวังจิก อำเภอโพธฺ์ประทับช้าง ในการแข่งขันครั้งนี้ใคร ๆ ก็เล่นเรือทางภาคเหนือคือเรือประกายเพชร เพราะขณะนั้นกำลังเต็งจ๋าเลยทีเดียวและพอเรือแม่ขันเงินซึ่งเดินทางมาโดยรถยนต์สิบล้ อพอเรือถึงวัดราชช้างขวัญใคร ๆ ก็ว่าเป็นเรือต่อไม่ใช่เรือขุด ความจริงเป็นเรือขุดเช่นกัน แต่คนพิจิตรเสียอย่างใจถึงต่างก็ถือข้างประกายเพชรพอเรือแม่ขันเงินพายโชว์เที่ยวเดี ยวเท่านั้นเองคนหันไปเล่นแม่ขันเงิน ผลปรากฎว่าเรือแม่ขันเงินชนะไปทั้งสองเที่ยวพอขึ้นในปี พ.ศ.2526 การแข่งเรือเดิมพันก็ทรุดหนักลงไป เพราะหาเรือพายกันไม่ได้ต่างก้รู้ฤทธฺ์กันหมดทำให้การแข่งเรือจืดชืดกันไปหลายสนาม เรือบางคู่ตกลงจะพายเดิมพันกับผู้จัดก็ออกประกาศงานอย่างดีแต่พอเวลาแข่งจริงไม่มีเด ิมพันก็เข้าตำราที่ว่า "เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย" เป็นของคู่กัน งานแข่งเรือตามวัดเล็กวัดน้อยก็เลิกจัด เพราะจัดแล้วก็ขาดทุน มีแต่จังหวัดใหญ่ ๆ เช่น พิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรี อยุธยา สระบุรี ที่ยังจัดกันอยู่และในการจัดก้มีการขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวบ้าง สมเด็จพระบรมราชินีนาถบ้าง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชบ้าง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีบ้างและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภ รณ์วลัยลักษณ์บ้าง บางแห่งก็ขอถ้วยจากนายกรัฐมนตรี บางแห่งก็ขอถ้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ บางแห่งเป็นถ้วยปลัดกระทรวง บางแห่งเป็นถ้วย ส.ส.หรือถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดก็ทำให้งานแข่งเรือสืบทอดกันมาทุกวันนี้ในปี พ.ศ.2527 ที่วัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้เชิญเรือเทพนรสิงห์ จากจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีคุณชลิตเทพ โพธิ์ใบ เป็นผู้จัดการเรือ มาพายเดิมพันกับเรือไกรทอง ซึ่งมีผู้ใหญ่หิรัญ คัชมาตย์ เป็นผู้จัดการเรือโดยตกลงพายกันสองสนาม สนามแรกพายที่วัดหัวดง เดิมพันกัน 2 ล้านบาท และสนามที่ 2 จะพายกันที่วัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี พายกันอีก 3 ล้านบาท ซึ่งสนามทั้ง 2 สนามก็ได้อย่างมากจากวัดเกาะหงษ์ นั่นก็คือมีการตั้งโต๊ะมุมน้ำเงินขึ้นรับเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ผลการแข่งขันสนามแรกที่วัดหัวดง เรือเจ้าถิ่นคือเรือไกรทองเอาชนะทัง 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไป หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมาไปพายล้างแค้นที่วัดเสาไห้ปรากฎว่าเรือเจ้าถิ่นคือเรือเทพนรสิงห์เอาชนะ 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไปก็ไม่รู้พายกัน 2 เที่ยวใครโชคดีใครโชคร้ายบางรายโชคดีทั้ง 2 สนาม บางรายโชคร้ายทั้ง 2 สนามก็มีครับในปี พ.ศ.2528 วัดราชช้างขวัญได้จัดการแข่งชันเรือประเพณีขึ้นและได้จัดให้มีคู่เรือเดิมพันกันถึง 3 คู่ คือ.- คู่ที่ 1 ระหว่างเรือมณีสายชล จากวัดบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก พายเดิมพันเงินสด 20,000.- บาท กับเรือแม่ศรีจุฑาธิป จากโรงงานทอผ้าจังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าเรือมณีสายชล จากจังหวัดพิจิตรชนะ 2 เที่ยว ได้เงินเดิมพันไป คุ่ที่ 2 ระหว่างเรือขุนเพ่ง จากวัดยางคอยเกลือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพันเงินสด 40,000.- บาท กับเรือจันทวดี จากโรงงานทอผ้าจังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าเรือจันทวดี จากพิษณุโลกชนะ 2 เที่ยว ได้เงินเดิมพันไป คู่ที่ 3 ระหว่างเรือขวัญชาติไทย (เทพนรสิงห์ 88 ในปัจจุบัน) จากวัดราชช้างขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพันเงินสด 80,000.- บาท กับเรือพรพระเทพจากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือพรพระเทพชนะ แต่เที่ยวที่ 2 เรือขวัญชาติไทยชนะจึงยกเลิกเงินเดิมพันกันไปในปี พ.ศ.2529 การแข่งเรือยาวใหญ่ที่เป็นคู่รักคู่แค้นเห็นจะมีอยู่ 2 คู่ คือ ระหว่างเรือพรพระเทพกับเรือแม่พิกุลทอง ซึ่งคู่นี้พายกัน 3 เที่ยว หลายสนามและแต่ละเที่ยวสร้างความหวาดเสียวให้ผู้ชมเป็นอย่างมาก เพราะแพ้ชนะกันฉิวเฉียด ใครอยู่สายน้ำดีจะชนะทุกเที่ยวไปและอีกคู่หนึ่งคือเรือพรพระเทพกับเรือเทพนรสิงห์ ซึ่งก็พายกันสนุก แต่อย่างไรก็ตามในการแข่งขันเรือประเพณีของวัดท่าหลวงในปีนี้มีคู่เรือที่สนุกที่สุด คือ เรือประกายเพชรซึ่งเคยเป็นแชมป์เรือยาวกลางถึง 3 ปีซ้อน พายกับเรือเพชรชมพูจากวัดบางมูลนาก ราคาต่อรองเที่ยวแรกประกายเพชรเป็นต่อ 8 เอา 1 ผลปรากฏว่าเรือประกายเพชรแพ้ เที่ยวที่สองเรือประกายเพชรเป็นต่อ 3 เอา 2 ก็แพ้อีก ทำให้เซียนกระเป๋าฉีกไปตาม ๆ กัน ต่อมาหลังจากที่แข่งที่จังหวัดพิจิตรแล้ว ทางวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดให้มีการแข่งขันเรือคู่เดิมพันอีกคู่หนึ่งซึ่งเป็นคู่เรือที่ยังมิได้เคยพายกั นเลยนั่นก็คือเรือเทพนรสิงห์ จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ควบคุมโดยคุณชลิตเทพ โพธิ์ใบ พายเดิมพัน 100,000.- บาท กับเรือพรพระเทพ จากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ควบคุมโดยคุณแอ๊ด เทวดา ผลปรากฏว่าเรือพรพระเทพชนะทั้งสองเที่ยวรับเงินเดิมพันไปในปี พ.ศ.2530 ก็มีการจัดการแข่งขันเรือประเพณีและมีการพายเดิมพันเรือคู่พิเศษขึ้นที่วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ระหว่างเรือรักไทย จากวัดท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพัน 100,000.- บาท กับเรือจันทรืเจ้า จากวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือจันทร์เจ้าเอาชนะไป 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไป ต่อมาในปีเดียวกันนี้ได้มีการแข่งเรือเดิมพันกันอีกสนามหนึ่งโดยใช้ฝีพายจากภาคใต้ขึ ้นมาพายคือการจัดงานแข่งเรือประเพณีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีเรือเทพพิษณุ จากจังหวัดพิษณุโลก ใช้ฝีพายชุดเจ้าแม่ตาปี จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี พายกับเรือมณีสายชล จากวัดบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยพายเดิมพันกันเป็นเงิน 1 ล้านบาท ก็ปรากฏว่าเรือมณีสายชลชนะไป 2 เที่ยว ได้รับเงินเดิมพันไปในปี พ.ศ.2531 มีการแข่งเรือเดิมพันกันอีกครั้งหนึ่งคือวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดให้เรือพรพระเทพ จากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พายเดิมพัน 400,000.- บาท กับเรือศรสุวรรณ จากวัดสุวรรณราชหงษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ในการแข่งขันครั้งนี้ในเที่ยวแรกเรือพรพระเทพจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือศรสุวรรณเป็นฝ่ายชนะได้ยกเลิกเดิมพันกันไปการแข่งขันเรือครั้ง สำคัญนอกจากจะเป็นการแข่งเรือประเพณีและสอดแทรกคู่เรือเดิมพันเข้าไปเพื่อให้งานครึก ครื้นแล้วก็จะมีการแข่งเรือชิงแชมป์ประเทศไทยที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผ ู้จัดการขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมีเรือเข้าแข่งขันน้อย เพราะค่าใช้จ่ายในการแข่งขันสูงมากก็เห็นจะมีการแข่งขันเรือชิงแชมป์ประเทศไทยในปี พ.ศ.2533 ซึ่งทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดขึ้นที่ลำน้ำจักราช อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีเรือเข้าแข่งขัน 50 กว่าลำ นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยจัดมา ผลก็ปรากฏว่าเรือเทพไพฑูรย์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ได้เข้าชิงแชมป์กับเรือเทพนรสิงห์ 88 จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ผลก็คือเรือเทพไพฑูรย์ได้แชมป์ประเทศไทยในปี 2533
การสร้างเรือยาว
การสร้างเรือยาว การสร้างเรือเข้าทำการแข่งขันในสมัยปัจจุบันของจังหวัดพิจิตร คงจะเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เพราะป่าถูกปิดทำให้ การชักลากไม้ไม่สะดวก ชาวเรือยาวทั้งหลาย มีแต่คิดหา วิธีนำเอาเรือยาวเก่ามาทำการซ่อมแซมใหม่ดังเช่นในปี พ.ศ.2533 ชาวเรือยาวของจังหวัดพิจิตรมีการซ่อมแซมเรือเรือเก่ามาทำการแข่งขัน หลายลำด้วยกัน เพราะการซ่อม เรือเก่าราคาซ่อมยังถูกกว่าการขุดเรือใหม่มากกมาย อย่างน้อย ๆ การขุดเรือยาวแต่ละลำต้องใช้เงินเป็นแสนบาท แต่การ ซ่อมเรือเก่ามาแข่งนั้นอาจจะใช้เงินเป็นหมื่น ๆ บาทเท่านั้นเอง เท่าที่เก็บรวบรวมข้อมูลในปี 2533 มีเรือระดับแชมป์ ๆ ทำการซ่อมแซม เพื่อเข้าทำการ แข่งขันหลายลำด้วยกัน เรือธนูทองจากวัดรังนก อำเภอสามง่าม เรือแม่ตะเคียนทองจากวัดจระเข้ผอม อำเภอสามง่าม เรือเพชรชมพู จากวัด บางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก เรือแม่ พิกุลทองจากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง เรือแม่ขวัญมงคลทอง 3 ปีซ้อนจากวัด ราชช้างขวัญ อำเภอเมือง เรือศรทอง นักล่าเดิมพันเงินล้านจากวัดวังกลม อำเภอเมือง เรือขุนไกร จากวัดหงษ์ อำเภอเมือง และอีกหลายลำท่กำลังเตรียมการอยู่ มิใช่เรือยาวของชาวจังหวัดพิจิตรเท่านั้นชาวเรือจังหวัดอื่นก็คิดซ่อมแซม เรือเข้าทำการแข่งขันเหมือนกัน เช่น เรือศรีสุนทร จากวัดบ้านสร้าง อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ก็ซ่อมใหม่ และ เปลี่ยนชื่อเสียเลย โดยใช้ชื่อ ว่าธงชัยในการขุดเรือยาวใหญ่มีชาวเรือยาวหลายรายอยากจะขุด แต่ดังที่กล่าวมาการหาไม้มากมายเพราะป่าถูกปิด ไม้แต่ละต้น ที่นำมาขุดใช้ขุดเรือจะต้องยาวถึง 14 วาเศษ และต้องใช้ไม้ขนาดใหญ่ด้วย จึงทำให้การขุดเรือ ใหม่เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ราคาค่าขุดเรือในปัจจุบันของจังหวัดพิจิตรก็ตกวาละประมาณ 7,000-8,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามยังม ีชาวเรือต่างจังหวัดคิดขุดเช่นในภาคอีสานมีขุดใหม่หลายลำ เช่น เรือนารายณ์ประสิทธิ์ จากวัดต้นตาล อำเภอเสาไห้ นอกจากนี้ชาวกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาครก็ขุดเรือยาวใหญ่ซึ่งขุดอยู่จังหวัดระยองจำนวนหนึ่งลำ ทางกองทัพเรือ ก็ขุดเสร็จลงน้ำอีกหนึ่งลำในปี พ.ศ.2533 เรือของจังหวัดพิจิตรได้ทำการขุดเรือใหม่เพื่อไว้ต่อกรกับเรือต่างจังหวัดถึง 4 ลำด้วยกัน ซึ่งจะขอนำ รายละเอียดมาเล่า สู่กันฟังดังนี้.- ลำแรกเป็นเรือที่ชาวบ้านหัวดง อำเภอเมือง สร้างขึ้นใหม่ก็คือเรือเพชรไกรทอง ซึ่งได้ขุดจากไม้ตะเคียนทองลำต้นขนาด 15 กำช่างไม้ มีความยาว 14 วา 9 นิ้ว กว้าง 43.5 นิ้ว ไม้ที่นำมาขุดได้มาจากเขตติดต่อขอหมู่บ้านรักไทยกับหมู่บ้าน ร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ผู้ที่มีความสามารถไปนำไม ้มาขุด คือนายเลิศ โพนามาศ กับนายเล็ก บุญม่วง และได้นำไม้มาถึงวัดหัวดงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2532 เริ่มทำการขุดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2532 โดยมีนายเลิศ โพธามาศ เป็นหัวหน้าช่าง มีนายจัด วิเชียรสรรค์ เป็นรองหัวหน้าช่าง และมีช่างลูกมืออีกหลายคนคือนายบุญธรรม สิงห์พรม นายเชื้อ ทิมอ่อง นายวิเชียร วิเชียรสรรค์ นายสุข ฤกษดี ทำการขุดเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 โขนหัวเรือ ทำด้วยไม้กระท้อนที่ได้จากบ้านนายสวัสดิ์ พูลคล้าย โขนท้ายเป็นไม้สำโรงที่ได้จากวัดเขารูปช้าง ไม้กงเรือเป็นไม้ประดู่ ที่ได้ มาจากวัดบึงนาราง รวมแล้วเรือเพชรไกรทองได้ ไม้มาประกอบเป็นเรือหลายหมู่บ้าน ด้วยกัน ความยาวตลอดโขนหัว ถึงโขนท้าย ยาว 17 วา 3 ศอก 13 นิ้ว เผอิญขุดเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 บรรดาชาวบ้านหัวดงจึงนำเลขเศษ 13 นิ้ว ไปเสี่ยงโชคเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2532 เลขท้าย 2 ตัวล่างออกเป็น 13 พอดิบพอดี ทำให้รวยกันไปหลายรายนับว่า อัศจรรย์ยิ่งในการสร้างเรือเพชรไกรทองต้องหมดค่าใช้จ่ายไปรวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000.- บาท ซึ่งก็มีคุณนกเล็ก สดสีและคุณ สายพิณ พหลโยธิน บริษัท ที.ซี.มัยซิน หรือเรารู้จักกันในนามกระทิงแดง บริจาคเงินสดมา 90,000.- บาท นอกจากนี้ก็มี คุณสมาน (เม้ง) เจียมศรีพงษ์ มอบเงินสดให้อีก 10,000.- บาท ที่เหลือ นอกนั้นพ่อค้าประชาชนชาวบ้านหัวดงช่วยกันบริจาคเมื่อขุดเสร็จแล้วคณะกรรมการจึงได้ประชุมเพื่อตั้งชื่อเรือโดยท่านเจ้าอาวาสวัดหัวดงเป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมมีมติตั้งชื่อเรือลำใหม่ว่า "เพชร ไกรทอง" คำว่าเพชร หมายถึงองค์หลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของ ชาวจังหวัดพิจิตรและเพชรนนี้มี ความหมายอีกนัยหนึ่งคือเป็นเครื่อง ประดับ ที่แข็งที่สุด สำหรับคำว่าไกรทองนั้นเป็น ชื่อเรือดั้งเรือเดิมของวัดหัวดงและไกรทองก็เป็นพระเอกในเรื่องไกรทอง ซึ่งพระราชนิพนธ์โดย พระบาท สมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกด้วย ในการลงน้ำได้จัดพิธีใหญ่โต โดยเริ่มกระทำพิธีทางพุทธ เมื่อเวลา 13.39 น. และเริ่มทำพิธีทางพรหมเมื่อเวลา 14.00 น. มีคุณสุพงษ์ ศรลัมพ์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดพิจิตรสวมพวงมาลัยและผ้าแพรที่โขนหัวและเจิมหัวเรือมีคุณวิโรจน์ โรจนวาศ นายอำเภอเมืองพิจิตร คุณทวีป กันแดง ศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร พ.ต.ท.ประคอง อาจคงหาญ สวป.สภ.อ.เมืองพิจิตร และตัวแทนเรืออีกหลายลำมาร่วมสวมพวงมาลัย หลังจากปะพรมน้ำมนต์แล้วได ้ยกเรือ ลงแตะพื้นน้ำหน้า วัดหัวดงเมื่อเวลา 14.29 น. ต่อมาที่สร้างขึ้นใหม่ก็คือเรือเทพเทวฤทธิ์ของชาววัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งได้ไม้ตะเคียนทอง มาจากป่าภูฮวด เขตติดต่อกับภูเขา หินล่องกล้า ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตัดต้นไม้เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2532 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 และได้ชักลาก ออกจากป่ามาถึงวัดหาดมูลกระบือเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2533 เริ่มทำการขุดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ช่างขุดก็มีนายฉาย โรจน์สว่าง อดีตกำนันตำบลย่านยาว อำเภอเมือง เป็นหัวหน้าช่างและมีช่างลูกมือซึ่งเป็นชาวบ้านวัดหาดมูลกระบืออีกหลายคนช่วยขุด ใช้เวลาในการขุดประมาณ 3 เดือนเศษก็เสร็จ รวมค่าใช้จ่ายไปประมาณ 60,000.- บาท การตั้งชื่อเรือเทพเทวฤทธิ์เนื่องจากได้มีการทำพิธีบวงสรวงว่า จะให้ตั้งชื่อว่าอะไรก็ขอให้บอกเป็นนิมิต หลังจากทำพิธี บวงสรวงได้ 3 วัน ปรากฏว่าพอตก กลางคืนเกิดนิมิตขึ้น คือ มีคนรูปร่างสูงใหญ่แต่งตัวเหมือนนักรบโบราณมีเครื่องแต่งตัว สวยงามมาก ใส่ชฎาหรือมงกุฎถือดาบเป็นแสงวาว ซึ่งเกิดนิมิตอยู่ถึง 3 วัน จึงได้ตั้งชื่อว่า เทพเทวฤทธิ์เรือเทพเทวฤทธิ์ได้กระทำพิธีลงน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2533 ตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5 ที่กล่าวมาแล้วคือ เรือเพชร ไกรทอง กับเรือเทพ เทวฤทธิ์ เป็นไม้ที่ได้มาจากจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 2 ลำ และช่างผู้ขุดก็เป็นช่าง จากจังหวัด พิจิตรเหมือนกัน ลำต่อไปที่จะเสนอเป็นเรือของ จังหวัดพิจิตรที่ได้ไม้มาจากจังหวัดอุตรดิตย์และขุดโดยช่างทางภาคใต้ เรือของจังหวัดพิจิตรที่เกิดขึ้นในปี 2533 และขุดโดยช่างทางภาคใต้คือ เรือป่าลั่น ไม้ที่นำมาขุด คือ ไม้ตะเคียนทองที่ได้ มาจากอำเภอทองแสงขันธ์ จังหวัดอุตรดิตย์ ขุดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 โดยนายเอื้อน พรหมขจร จากบ้านพล้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยคิดค่าขุดวาละ 7,000.- บาท ความยาวของตัวเรือ 14 วา 9 นิ้ว ทำการลงน้ำในวันที่ 15 กรกฎาคม 2533การตั้งชื่อเรือป่าลั่น เนื่องจากเรือลำนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ที่ได้ไม้นำมารขุดเรือ ทางคณะกรรมการจึงตั้งชื่อให้สอดคล้องกับท่าน จึงตั้งชื่อว่า "ป่าลั่น"เรือลำสุดท้ายที่เกิดขึ้นของจังหวัดพิจิตรในปี พ.ศ.2533 ก็เห็นจะได้แก่เรือตรีทอง โดยไม้ที่จะนำมาขุดเรือตรีทอง มาจากแห่งเดียวกับเรือป่าลั่น คือ จาก อำเภอทองแสงขันธ์ จังหวัดอุตรดิตย์ จะขุดประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533 และคิดว่าจะให้เสร็จก่อนงานแข่งขันเรือประเพณีของจังหวัดพิจิตร ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน พ.ศ.2533 ช่างที่จะทำการขุดก็คือช่างทางภาคใต้ได้แก่นายเอื้อน พรหมขจร จากบ้านพล้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งรายละเอียดของเรือป่าลั่นและเรือตรีทองได้รับรายละเอียดจากคุณนิวัมน์ น้อยอ่ำกับคุณนิเวศน์ น้อยอ่ำ ผู้ควบคุม เรือ 2 ลำนี้ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยจะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ.2533 ทางจังหวัดพิจิตรมีเรือขุดใหม่รวม 4 ลำด้วยกันและเป็นการประชันกันระหว่าง ช่างเหนือ กับช่างใต้ว่าใครจะขุดได้แล่นกว่ากัน สนามแรกที่จะประลองก็คงจะเป็นวัดท่าหลวงพระอารามหลวง จังหวัดพิจิตร ประมวลภาพเรือเก่า
ประวัติเรือยาว ในการแข่งขันเรือประจำปีของวัดต่าง ๆ นั้นนับว่าเป็นปกติวิสัย แต่วัดใดที่จัดให้มีการแข่งเรือและมีคู่เรือชิงเดิมพันแล้วจะทำให้งานแข่งเรือขงวัดน ั้น ๆ มีชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีเพราะจะเป็นการดึงดูดผู้ชมเข้าไปชมการแข่งขันกันมาก ฉะนั้น การแข่งขันเรือที่มีการเดิมพันจึงจัดได้ว่าเป็นการแข่งเรือครั้งสำคัญที่จะนำมาเล่าส ู่กันฟังพอสังเขป การแข่งขันเรือชิงเดิมพันในสมัยก่อนมีน้อยมากและเดิมพันก็มีน้อย เช่น เรือไกรทองของวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เคยพายเดิมพันกับเรือเพชรน้ำค้าง จังหวัดสิงห์บุรี เรือธนูทอง พายเดิมพันกับเรือศรีธารา เรือแม่ขวัญมงคลทองพายเดิมพันกับเรือประกายเพชร เรือประกายเพชรพายเดิมพันกับเรือผ่องนภา เรือแม่ขวัญมงคลทองพายเดิมพันกับเรือเทวีนันทวัน เพชรน้อยและช้างแก้ว แต่การพายในครั้งนั้น ๆ ไม่ค่อยเป็นข่าวโด่งดังอะไรมากนัก เพราะยังขาดการประชาสัมพันธ์งาน การแข่งขันเรือเดิมพันที่แพร่หลายในปัจจุบันเกิดจา กทางวัดราชช้างขวัญซึ่งเป็นวัดหนึ่งในจังหวัดพิจิตรที่กล้าจัดเป็นครั้งสำคัญที่รวบร วมไว้ในประวัติการแข่งเรือและเป็นวัดแรกที่กล้าลงทุนเชิญเรือต่างจังหวัดมาพายเดิมพั นกับเรือดังของจังหวัดพิจิตร นั่นก็คือในปี พ.ศ.2522 ผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลปากทาง ซึ่งเป็นประธานจัดงานแข่งเรือประเพณีของวัดราชช้างขวัญได้เชิญเรือศรีสุริโยทัยจากวั ดจุฬามณี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีผู้ใหญ่ถวิล แสงจักร เป็นผู้จัดการ โดยคิดค่าลากจูงเป็นเงินสด 20,000.- บาท มาพายเดิมพันกับเรือแม่พิกุลทอง จากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณเผอิญ จิตรากร เป็นผู้จัดการเรือ โดยคิดค่าลากจูง 5,000.- บาท พายชิงรางวัลเงินสด 200,000.- บาท (พายเดิมพันข้างละ 100,000.- บาท) และได้เชิญคุณไพฑูรย์ แก้วทอง ในสมัยนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร มาเป็นประธานตัดสินเรือครั้งนี้ ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือแม่พิกุลทองจากจังหวัดพิจิตรเป็นฝ่ายชนะ ในเที่ยวที่ 2 เรือศรีสุริโยทัยเป็นฝ่ายชนะ จึงยกเลิกเดิมพันกันไปหลังจากปี 2522 เป็นต้นมาการพายเรือเดิมพันจึงได้ระบาดแพร่หลายจากวงเงินหมื่นเป็นแสน เป็นล้านและเป็นสิบล้าน ซึ่งจะนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้.-ในปี พ.ศ.2523 เป็นปีที่มีการแข่งเรือครั้งสำคัญที่สุด จะนับว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ขณะนี้ยังหาเรือคู่ใดลบสถิติเงินเดิมพันไม่ได้ นั่นคือ ทางวัดท่าหลวงได้จัดงานแข่งเรือประจำปีและจัดให้มีเรือคู่พิเศษพายชิงรางวัลเงินสด 3 ล้านบาท ระหว่างเรือศรทอง จากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณประทีป ชัยสุวิรัตน์ เป็นผู้จัดการเรือ พายกับเทวีนันทวัน ซึ่งมีคุณสมชัย ฤกษ์วรารักษ์ หรือรู้จักกันดีในนามของเสี่ยแหย เป็นผู้จัดการ ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือเทวีนันทวนันชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับเงินรางวัลไป ในเวลา 2 เดือนต่อมาเรือคู่นี้ได้พบกันอีกครั้งหนึ่งที่สนามวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งการพบกันครั้งนี้นับว่าเป็นประวัติการณ์ที่มีการเล่นเดิมพันกันสุงสุด ทางคณะกรรมการได้จัดโต๊ะมุมน้ำเงินรับเก็บเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายใดเงินเดิมพันเข้ามาก็จะประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามนำเงินเข้าไปประกบ สรุปรวมเรือคู่นี้พายกันครั้งนั้นประมาณ 10 ล้านบาท ผลก็ปรากฏว่าเรือศรทองจากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ล้างแค้นได้สำเร็จเอาชนะเรือเทวีนันทวันทั้งสองเที่ยว ซึ่งเป็นปมปริศนาของคนวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2524 ทางวัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดงานแข่งเรือประเพณีขึ้นโดยมีคู่เรือคู่พิเศษชิงรางวัลเงินสด 100,000.- บาท ระหว่างเรือแม่ขวัญมงคลทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กับเรือกิจสังคม จากวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผลปรากฏว่าเรือแม่ขวัญมงคลทองชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับรางวัลเงินสด 100,000.- บาทไป และในปีนี้เรือทั้งคู่ได้ไปพายแก้มือกันที่วัดตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชิงรางวัลเงินสดเท่าเดิม ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือกิจสังคมเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือแม่ขวัญมงคลทองเป็นฝ่ายชนะ จึงได้ยกเลิกเดิมพันกันไปในปี พ.ศ.2525 การแข่งขันเรือยาวใหญ่ทรุดลงจึงจัดให้มีการแข่งขันเรือยาวกางกันบ้างที่วัดราชช้างขว ัญโดยผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ได้เชิญเรือแม่ขันเงินซึ่งช่างทางภาคใต้ขุดไดว้และเป็นเรือวัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร ควบคุมโดยคุณสมชาย สกุลเกียรติวงศ์ พายเดิมพัน 200,000.- บาท กับเรือดังของพิจิตรคือเรือประกายเพชรจากวัดวังจิก อำเภอโพธฺ์ประทับช้าง ในการแข่งขันครั้งนี้ใคร ๆ ก็เล่นเรือทางภาคเหนือคือเรือประกายเพชร เพราะขณะนั้นกำลังเต็งจ๋าเลยทีเดียวและพอเรือแม่ขันเงินซึ่งเดินทางมาโดยรถยนต์สิบล้ อพอเรือถึงวัดราชช้างขวัญใคร ๆ ก็ว่าเป็นเรือต่อไม่ใช่เรือขุด ความจริงเป็นเรือขุดเช่นกัน แต่คนพิจิตรเสียอย่างใจถึงต่างก็ถือข้างประกายเพชรพอเรือแม่ขันเงินพายโชว์เที่ยวเดี ยวเท่านั้นเองคนหันไปเล่นแม่ขันเงิน ผลปรากฎว่าเรือแม่ขันเงินชนะไปทั้งสองเที่ยวพอขึ้นในปี พ.ศ.2526 การแข่งเรือเดิมพันก็ทรุดหนักลงไป เพราะหาเรือพายกันไม่ได้ต่างก้รู้ฤทธฺ์กันหมดทำให้การแข่งเรือจืดชืดกันไปหลายสนาม เรือบางคู่ตกลงจะพายเดิมพันกับผู้จัดก็ออกประกาศงานอย่างดีแต่พอเวลาแข่งจริงไม่มีเด ิมพันก็เข้าตำราที่ว่า "เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย" เป็นของคู่กัน งานแข่งเรือตามวัดเล็กวัดน้อยก็เลิกจัด เพราะจัดแล้วก็ขาดทุน มีแต่จังหวัดใหญ่ ๆ เช่น พิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรี อยุธยา สระบุรี ที่ยังจัดกันอยู่และในการจัดก้มีการขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวบ้าง สมเด็จพระบรมราชินีนาถบ้าง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชบ้าง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีบ้างและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภ รณ์วลัยลักษณ์บ้าง บางแห่งก็ขอถ้วยจากนายกรัฐมนตรี บางแห่งก็ขอถ้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ บางแห่งเป็นถ้วยปลัดกระทรวง บางแห่งเป็นถ้วย ส.ส.หรือถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดก็ทำให้งานแข่งเรือสืบทอดกันมาทุกวันนี้ในปี พ.ศ.2527 ที่วัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้เชิญเรือเทพนรสิงห์ จากจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีคุณชลิตเทพ โพธิ์ใบ เป็นผู้จัดการเรือ มาพายเดิมพันกับเรือไกรทอง ซึ่งมีผู้ใหญ่หิรัญ คัชมาตย์ เป็นผู้จัดการเรือโดยตกลงพายกันสองสนาม สนามแรกพายที่วัดหัวดง เดิมพันกัน 2 ล้านบาท และสนามที่ 2 จะพายกันที่วัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี พายกันอีก 3 ล้านบาท ซึ่งสนามทั้ง 2 สนามก็ได้อย่างมากจากวัดเกาะหงษ์ นั่นก็คือมีการตั้งโต๊ะมุมน้ำเงินขึ้นรับเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ผลการแข่งขันสนามแรกที่วัดหัวดง เรือเจ้าถิ่นคือเรือไกรทองเอาชนะทัง 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไป หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมาไปพายล้างแค้นที่วัดเสาไห้ปรากฎว่าเรือเจ้าถิ่นคือเรือเทพนรสิงห์เอาชนะ 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไปก็ไม่รู้พายกัน 2 เที่ยวใครโชคดีใครโชคร้ายบางรายโชคดีทั้ง 2 สนาม บางรายโชคร้ายทั้ง 2 สนามก็มีครับในปี พ.ศ.2528 วัดราชช้างขวัญได้จัดการแข่งชันเรือประเพณีขึ้นและได้จัดให้มีคู่เรือเดิมพันกันถึง 3 คู่ คือ.- คู่ที่ 1 ระหว่างเรือมณีสายชล จากวัดบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก พายเดิมพันเงินสด 20,000.- บาท กับเรือแม่ศรีจุฑาธิป จากโรงงานทอผ้าจังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าเรือมณีสายชล จากจังหวัดพิจิตรชนะ 2 เที่ยว ได้เงินเดิมพันไป คุ่ที่ 2 ระหว่างเรือขุนเพ่ง จากวัดยางคอยเกลือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพันเงินสด 40,000.- บาท กับเรือจันทวดี จากโรงงานทอผ้าจังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าเรือจันทวดี จากพิษณุโลกชนะ 2 เที่ยว ได้เงินเดิมพันไป คู่ที่ 3 ระหว่างเรือขวัญชาติไทย (เทพนรสิงห์ 88 ในปัจจุบัน) จากวัดราชช้างขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพันเงินสด 80,000.- บาท กับเรือพรพระเทพจากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือพรพระเทพชนะ แต่เที่ยวที่ 2 เรือขวัญชาติไทยชนะจึงยกเลิกเงินเดิมพันกันไปในปี พ.ศ.2529 การแข่งเรือยาวใหญ่ที่เป็นคู่รักคู่แค้นเห็นจะมีอยู่ 2 คู่ คือ ระหว่างเรือพรพระเทพกับเรือแม่พิกุลทอง ซึ่งคู่นี้พายกัน 3 เที่ยว หลายสนามและแต่ละเที่ยวสร้างความหวาดเสียวให้ผู้ชมเป็นอย่างมาก เพราะแพ้ชนะกันฉิวเฉียด ใครอยู่สายน้ำดีจะชนะทุกเที่ยวไปและอีกคู่หนึ่งคือเรือพรพระเทพกับเรือเทพนรสิงห์ ซึ่งก็พายกันสนุก แต่อย่างไรก็ตามในการแข่งขันเรือประเพณีของวัดท่าหลวงในปีนี้มีคู่เรือที่สนุกที่สุด คือ เรือประกายเพชรซึ่งเคยเป็นแชมป์เรือยาวกลางถึง 3 ปีซ้อน พายกับเรือเพชรชมพูจากวัดบางมูลนาก ราคาต่อรองเที่ยวแรกประกายเพชรเป็นต่อ 8 เอา 1 ผลปรากฏว่าเรือประกายเพชรแพ้ เที่ยวที่สองเรือประกายเพชรเป็นต่อ 3 เอา 2 ก็แพ้อีก ทำให้เซียนกระเป๋าฉีกไปตาม ๆ กัน ต่อมาหลังจากที่แข่งที่จังหวัดพิจิตรแล้ว ทางวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดให้มีการแข่งขันเรือคู่เดิมพันอีกคู่หนึ่งซึ่งเป็นคู่เรือที่ยังมิได้เคยพายกั นเลยนั่นก็คือเรือเทพนรสิงห์ จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ควบคุมโดยคุณชลิตเทพ โพธิ์ใบ พายเดิมพัน 100,000.- บาท กับเรือพรพระเทพ จากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ควบคุมโดยคุณแอ๊ด เทวดา ผลปรากฏว่าเรือพรพระเทพชนะทั้งสองเที่ยวรับเงินเดิมพันไปในปี พ.ศ.2530 ก็มีการจัดการแข่งขันเรือประเพณีและมีการพายเดิมพันเรือคู่พิเศษขึ้นที่วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ระหว่างเรือรักไทย จากวัดท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พายเดิมพัน 100,000.- บาท กับเรือจันทรืเจ้า จากวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือจันทร์เจ้าเอาชนะไป 2 เที่ยว รับเงินเดิมพันไป ต่อมาในปีเดียวกันนี้ได้มีการแข่งเรือเดิมพันกันอีกสนามหนึ่งโดยใช้ฝีพายจากภาคใต้ขึ ้นมาพายคือการจัดงานแข่งเรือประเพณีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีเรือเทพพิษณุ จากจังหวัดพิษณุโลก ใช้ฝีพายชุดเจ้าแม่ตาปี จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี พายกับเรือมณีสายชล จากวัดบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยพายเดิมพันกันเป็นเงิน 1 ล้านบาท ก็ปรากฏว่าเรือมณีสายชลชนะไป 2 เที่ยว ได้รับเงินเดิมพันไปในปี พ.ศ.2531 มีการแข่งเรือเดิมพันกันอีกครั้งหนึ่งคือวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดให้เรือพรพระเทพ จากวัดบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พายเดิมพัน 400,000.- บาท กับเรือศรสุวรรณ จากวัดสุวรรณราชหงษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ในการแข่งขันครั้งนี้ในเที่ยวแรกเรือพรพระเทพจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือศรสุวรรณเป็นฝ่ายชนะได้ยกเลิกเดิมพันกันไปการแข่งขันเรือครั้ง สำคัญนอกจากจะเป็นการแข่งเรือประเพณีและสอดแทรกคู่เรือเดิมพันเข้าไปเพื่อให้งานครึก ครื้นแล้วก็จะมีการแข่งเรือชิงแชมป์ประเทศไทยที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผ ู้จัดการขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมีเรือเข้าแข่งขันน้อย เพราะค่าใช้จ่ายในการแข่งขันสูงมากก็เห็นจะมีการแข่งขันเรือชิงแชมป์ประเทศไทยในปี พ.ศ.2533 ซึ่งทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดขึ้นที่ลำน้ำจักราช อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีเรือเข้าแข่งขัน 50 กว่าลำ นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยจัดมา ผลก็ปรากฏว่าเรือเทพไพฑูรย์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ได้เข้าชิงแชมป์กับเรือเทพนรสิงห์ 88 จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ผลก็คือเรือเทพไพฑูรย์ได้แชมป์ประเทศไทยในปี 2533
การสร้างเรือยาว
การสร้างเรือยาว การสร้างเรือเข้าทำการแข่งขันในสมัยปัจจุบันของจังหวัดพิจิตร คงจะเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เพราะป่าถูกปิดทำให้ การชักลากไม้ไม่สะดวก ชาวเรือยาวทั้งหลาย มีแต่คิดหา วิธีนำเอาเรือยาวเก่ามาทำการซ่อมแซมใหม่ดังเช่นในปี พ.ศ.2533 ชาวเรือยาวของจังหวัดพิจิตรมีการซ่อมแซมเรือเรือเก่ามาทำการแข่งขัน หลายลำด้วยกัน เพราะการซ่อม เรือเก่าราคาซ่อมยังถูกกว่าการขุดเรือใหม่มากกมาย อย่างน้อย ๆ การขุดเรือยาวแต่ละลำต้องใช้เงินเป็นแสนบาท แต่การ ซ่อมเรือเก่ามาแข่งนั้นอาจจะใช้เงินเป็นหมื่น ๆ บาทเท่านั้นเอง เท่าที่เก็บรวบรวมข้อมูลในปี 2533 มีเรือระดับแชมป์ ๆ ทำการซ่อมแซม เพื่อเข้าทำการ แข่งขันหลายลำด้วยกัน เรือธนูทองจากวัดรังนก อำเภอสามง่าม เรือแม่ตะเคียนทองจากวัดจระเข้ผอม อำเภอสามง่าม เรือเพชรชมพู จากวัด บางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก เรือแม่ พิกุลทองจากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง เรือแม่ขวัญมงคลทอง 3 ปีซ้อนจากวัด ราชช้างขวัญ อำเภอเมือง เรือศรทอง นักล่าเดิมพันเงินล้านจากวัดวังกลม อำเภอเมือง เรือขุนไกร จากวัดหงษ์ อำเภอเมือง และอีกหลายลำท่กำลังเตรียมการอยู่ มิใช่เรือยาวของชาวจังหวัดพิจิตรเท่านั้นชาวเรือจังหวัดอื่นก็คิดซ่อมแซม เรือเข้าทำการแข่งขันเหมือนกัน เช่น เรือศรีสุนทร จากวัดบ้านสร้าง อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ก็ซ่อมใหม่ และ เปลี่ยนชื่อเสียเลย โดยใช้ชื่อ ว่าธงชัยในการขุดเรือยาวใหญ่มีชาวเรือยาวหลายรายอยากจะขุด แต่ดังที่กล่าวมาการหาไม้มากมายเพราะป่าถูกปิด ไม้แต่ละต้น ที่นำมาขุดใช้ขุดเรือจะต้องยาวถึง 14 วาเศษ และต้องใช้ไม้ขนาดใหญ่ด้วย จึงทำให้การขุดเรือ ใหม่เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ราคาค่าขุดเรือในปัจจุบันของจังหวัดพิจิตรก็ตกวาละประมาณ 7,000-8,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามยังม ีชาวเรือต่างจังหวัดคิดขุดเช่นในภาคอีสานมีขุดใหม่หลายลำ เช่น เรือนารายณ์ประสิทธิ์ จากวัดต้นตาล อำเภอเสาไห้ นอกจากนี้ชาวกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาครก็ขุดเรือยาวใหญ่ซึ่งขุดอยู่จังหวัดระยองจำนวนหนึ่งลำ ทางกองทัพเรือ ก็ขุดเสร็จลงน้ำอีกหนึ่งลำในปี พ.ศ.2533 เรือของจังหวัดพิจิตรได้ทำการขุดเรือใหม่เพื่อไว้ต่อกรกับเรือต่างจังหวัดถึง 4 ลำด้วยกัน ซึ่งจะขอนำ รายละเอียดมาเล่า สู่กันฟังดังนี้.- ลำแรกเป็นเรือที่ชาวบ้านหัวดง อำเภอเมือง สร้างขึ้นใหม่ก็คือเรือเพชรไกรทอง ซึ่งได้ขุดจากไม้ตะเคียนทองลำต้นขนาด 15 กำช่างไม้ มีความยาว 14 วา 9 นิ้ว กว้าง 43.5 นิ้ว ไม้ที่นำมาขุดได้มาจากเขตติดต่อขอหมู่บ้านรักไทยกับหมู่บ้าน ร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ผู้ที่มีความสามารถไปนำไม ้มาขุด คือนายเลิศ โพนามาศ กับนายเล็ก บุญม่วง และได้นำไม้มาถึงวัดหัวดงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2532 เริ่มทำการขุดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2532 โดยมีนายเลิศ โพธามาศ เป็นหัวหน้าช่าง มีนายจัด วิเชียรสรรค์ เป็นรองหัวหน้าช่าง และมีช่างลูกมืออีกหลายคนคือนายบุญธรรม สิงห์พรม นายเชื้อ ทิมอ่อง นายวิเชียร วิเชียรสรรค์ นายสุข ฤกษดี ทำการขุดเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 โขนหัวเรือ ทำด้วยไม้กระท้อนที่ได้จากบ้านนายสวัสดิ์ พูลคล้าย โขนท้ายเป็นไม้สำโรงที่ได้จากวัดเขารูปช้าง ไม้กงเรือเป็นไม้ประดู่ ที่ได้ มาจากวัดบึงนาราง รวมแล้วเรือเพชรไกรทองได้ ไม้มาประกอบเป็นเรือหลายหมู่บ้าน ด้วยกัน ความยาวตลอดโขนหัว ถึงโขนท้าย ยาว 17 วา 3 ศอก 13 นิ้ว เผอิญขุดเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 บรรดาชาวบ้านหัวดงจึงนำเลขเศษ 13 นิ้ว ไปเสี่ยงโชคเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2532 เลขท้าย 2 ตัวล่างออกเป็น 13 พอดิบพอดี ทำให้รวยกันไปหลายรายนับว่า อัศจรรย์ยิ่งในการสร้างเรือเพชรไกรทองต้องหมดค่าใช้จ่ายไปรวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000.- บาท ซึ่งก็มีคุณนกเล็ก สดสีและคุณ สายพิณ พหลโยธิน บริษัท ที.ซี.มัยซิน หรือเรารู้จักกันในนามกระทิงแดง บริจาคเงินสดมา 90,000.- บาท นอกจากนี้ก็มี คุณสมาน (เม้ง) เจียมศรีพงษ์ มอบเงินสดให้อีก 10,000.- บาท ที่เหลือ นอกนั้นพ่อค้าประชาชนชาวบ้านหัวดงช่วยกันบริจาคเมื่อขุดเสร็จแล้วคณะกรรมการจึงได้ประชุมเพื่อตั้งชื่อเรือโดยท่านเจ้าอาวาสวัดหัวดงเป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมมีมติตั้งชื่อเรือลำใหม่ว่า "เพชร ไกรทอง" คำว่าเพชร หมายถึงองค์หลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของ ชาวจังหวัดพิจิตรและเพชรนนี้มี ความหมายอีกนัยหนึ่งคือเป็นเครื่อง ประดับ ที่แข็งที่สุด สำหรับคำว่าไกรทองนั้นเป็น ชื่อเรือดั้งเรือเดิมของวัดหัวดงและไกรทองก็เป็นพระเอกในเรื่องไกรทอง ซึ่งพระราชนิพนธ์โดย พระบาท สมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกด้วย ในการลงน้ำได้จัดพิธีใหญ่โต โดยเริ่มกระทำพิธีทางพุทธ เมื่อเวลา 13.39 น. และเริ่มทำพิธีทางพรหมเมื่อเวลา 14.00 น. มีคุณสุพงษ์ ศรลัมพ์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดพิจิตรสวมพวงมาลัยและผ้าแพรที่โขนหัวและเจิมหัวเรือมีคุณวิโรจน์ โรจนวาศ นายอำเภอเมืองพิจิตร คุณทวีป กันแดง ศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร พ.ต.ท.ประคอง อาจคงหาญ สวป.สภ.อ.เมืองพิจิตร และตัวแทนเรืออีกหลายลำมาร่วมสวมพวงมาลัย หลังจากปะพรมน้ำมนต์แล้วได ้ยกเรือ ลงแตะพื้นน้ำหน้า วัดหัวดงเมื่อเวลา 14.29 น. ต่อมาที่สร้างขึ้นใหม่ก็คือเรือเทพเทวฤทธิ์ของชาววัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งได้ไม้ตะเคียนทอง มาจากป่าภูฮวด เขตติดต่อกับภูเขา หินล่องกล้า ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตัดต้นไม้เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2532 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 และได้ชักลาก ออกจากป่ามาถึงวัดหาดมูลกระบือเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2533 เริ่มทำการขุดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ช่างขุดก็มีนายฉาย โรจน์สว่าง อดีตกำนันตำบลย่านยาว อำเภอเมือง เป็นหัวหน้าช่างและมีช่างลูกมือซึ่งเป็นชาวบ้านวัดหาดมูลกระบืออีกหลายคนช่วยขุด ใช้เวลาในการขุดประมาณ 3 เดือนเศษก็เสร็จ รวมค่าใช้จ่ายไปประมาณ 60,000.- บาท การตั้งชื่อเรือเทพเทวฤทธิ์เนื่องจากได้มีการทำพิธีบวงสรวงว่า จะให้ตั้งชื่อว่าอะไรก็ขอให้บอกเป็นนิมิต หลังจากทำพิธี บวงสรวงได้ 3 วัน ปรากฏว่าพอตก กลางคืนเกิดนิมิตขึ้น คือ มีคนรูปร่างสูงใหญ่แต่งตัวเหมือนนักรบโบราณมีเครื่องแต่งตัว สวยงามมาก ใส่ชฎาหรือมงกุฎถือดาบเป็นแสงวาว ซึ่งเกิดนิมิตอยู่ถึง 3 วัน จึงได้ตั้งชื่อว่า เทพเทวฤทธิ์เรือเทพเทวฤทธิ์ได้กระทำพิธีลงน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2533 ตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5 ที่กล่าวมาแล้วคือ เรือเพชร ไกรทอง กับเรือเทพ เทวฤทธิ์ เป็นไม้ที่ได้มาจากจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 2 ลำ และช่างผู้ขุดก็เป็นช่าง จากจังหวัด พิจิตรเหมือนกัน ลำต่อไปที่จะเสนอเป็นเรือของ จังหวัดพิจิตรที่ได้ไม้มาจากจังหวัดอุตรดิตย์และขุดโดยช่างทางภาคใต้ เรือของจังหวัดพิจิตรที่เกิดขึ้นในปี 2533 และขุดโดยช่างทางภาคใต้คือ เรือป่าลั่น ไม้ที่นำมาขุด คือ ไม้ตะเคียนทองที่ได้ มาจากอำเภอทองแสงขันธ์ จังหวัดอุตรดิตย์ ขุดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 โดยนายเอื้อน พรหมขจร จากบ้านพล้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยคิดค่าขุดวาละ 7,000.- บาท ความยาวของตัวเรือ 14 วา 9 นิ้ว ทำการลงน้ำในวันที่ 15 กรกฎาคม 2533การตั้งชื่อเรือป่าลั่น เนื่องจากเรือลำนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ที่ได้ไม้นำมารขุดเรือ ทางคณะกรรมการจึงตั้งชื่อให้สอดคล้องกับท่าน จึงตั้งชื่อว่า "ป่าลั่น"เรือลำสุดท้ายที่เกิดขึ้นของจังหวัดพิจิตรในปี พ.ศ.2533 ก็เห็นจะได้แก่เรือตรีทอง โดยไม้ที่จะนำมาขุดเรือตรีทอง มาจากแห่งเดียวกับเรือป่าลั่น คือ จาก อำเภอทองแสงขันธ์ จังหวัดอุตรดิตย์ จะขุดประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533 และคิดว่าจะให้เสร็จก่อนงานแข่งขันเรือประเพณีของจังหวัดพิจิตร ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน พ.ศ.2533 ช่างที่จะทำการขุดก็คือช่างทางภาคใต้ได้แก่นายเอื้อน พรหมขจร จากบ้านพล้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งรายละเอียดของเรือป่าลั่นและเรือตรีทองได้รับรายละเอียดจากคุณนิวัมน์ น้อยอ่ำกับคุณนิเวศน์ น้อยอ่ำ ผู้ควบคุม เรือ 2 ลำนี้ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยจะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ.2533 ทางจังหวัดพิจิตรมีเรือขุดใหม่รวม 4 ลำด้วยกันและเป็นการประชันกันระหว่าง ช่างเหนือ กับช่างใต้ว่าใครจะขุดได้แล่นกว่ากัน สนามแรกที่จะประลองก็คงจะเป็นวัดท่าหลวงพระอารามหลวง จังหวัดพิจิตร ประมวลภาพเรือเก่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น