วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เชียงใหม่





























จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตรตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ














ประวัติศาสตร์
เมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยพญามังราย ในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และใช้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา ในอดีต เชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2101 แต่ต่อมาเชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. 2101 และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช และมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน














หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 24 อำเภอ 204 ตำบล 1915 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครเชียงใหม่)1เทศบาลเมือง(เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา)
อำเภอ
อำเภอเมืองเชียงใหม่
อำเภอจอมทอง
อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอเชียงดาว
อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอแม่แตง
อำเภอแม่ริม
อำเภอสะเมิง
อำเภอฝาง
อำเภอแม่อาย
อำเภอพร้าว
อำเภอสันป่าตอง
อำเภอสันกำแพง
อำเภอสันทราย
อำเภอหางดง
อำเภอฮอด
อำเภอดอยเต่า
อำเภออมก๋อย
อำเภอสารภี
อำเภอเวียงแหง
อำเภอไชยปราการ
อำเภอแม่วาง
อำเภอแม่ออน
อำเภอดอยหล่อ














ภูมิศาสตร์














ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ
ทิศเหนือ
รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้
อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก
อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปางมีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก
อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำแตง แม่น้ำแจ่ม แม่น้ำกก แม่น้ำกวง แม่น้ำตื่น และแม่น้ำฝาง

ภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส
สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
สัญญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ช้างเผือกคือช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วนเรือนแก้วคือดินแดนที่บวรพุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma Kuntze)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (Butea monosperma Kuntze)














ไม่มีความคิดเห็น: