วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดอยตุง

เป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย ซึ่งได้ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยสูง บนเทือกเขานางนอนที่มีความสูง 2,000 เมตร ในเขตตำบลห้วยไคร้ กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญมีประชาชนเลื่อมใสมาแต่โบราณกาล เพราะเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถอำนวยความร่มเย็นมาสู่บรรดาผู้ที่ขึ้นไปนมัสการกราบไหว้เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุง ก็ได้เดินทางเข้ามานมัสการอย่างมากมาย




พระธาตุดอยตุง ตามตำนานพงศาวดารโยนก กล่าวไว้ว่าในสมัยพระเจ้าอชุตราช รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าสิงหนวัติ ผู้ครองแว่นแคว้นโยนกนาคนครได้ขึ้นครองราชสมบัติได้ 3 ปี ถึงปีมะแม พุทธศักราช 1454 พระมหากัสสปเถระได้นำพระรากขวัญเบื้องซ้าย ( กระดูกไหปลาร้า ) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากมัธยมประเทศมาถวาย นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลักธิกาวงศ์ได้ขึ้นมาประดิษฐานที่อาณาจักรโยนกนครแห่งนี้ พระมหากัสสปเถระได้ทูลต่อพระเจ้าอชุตราช ถึงเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้แต่กาลก่อนนั้นว่าเมื่อครั้งพระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ได้เสด็จจากเมืองกบิลพัสดุ์มาสู่แคว้นโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัตินครมีต่ออีกในสมุดทุกวันนี้ ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกลาวจกและได้ทรงพยากรณ์ว่า ณ สถานที่ดอยดินแดนแห่งนี้ จะได้เป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในภายภาคหน้า

ครั้งพระเจ้าอชุตราชได้ทรงทราบดังนั้น ก็บังเกิดศรัทธาชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง จึงรับสั่งให้หัวหน้าลาวจกมาเฝ้าแล้วพระราชทานทองคำแสนกษาปณ์เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดง แล้วพระองค์ก็ทรงสร้างพระสถูปสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้เป็นที่สักการบูชา โดยกำหนดเขตแดนแต่องค์พระสถูปออกไปด้านละ 3,000 วา

เมื่อก่อนจะสร้างพระมหาสถูปนั้นได้โปรด ฯ ให้ทำธงตะขาบหรือตุงปรากฎให้ใหญ่และยาวถึงพันวา ปักเองไว้บนยอดดอยนั้น ถ้าหากธง ( ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า ตุง ) ปลิวไปไกลถึงเพียงไหนให้กำหนดหมายเป็นฐานของพระมหาสถูปเพียงนั้น แล้วด้วยเหตุนี้จึงปรากฎนามว่า ดอยตุง จนบัดนี้

“ช้างมูบ” เป็นชื่อดอยที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอนในโครงการพัฒนาดอยตุง

ีประวัติดอยช้างมูบ (ดอยดินแดนแห่งผู้กล้า) มีดังนี้

ราวปีพ.ศ.1640 กองทัพพระยาขอมดำเข้าตีเมืองโยนกนาคพันธุ์ราชธานีของไทยจนเมืองแตก ชนชาติไทยต้องตกเป็นเมืองขึ้นของชนชาติขอม ต่อมาราวปีพ.ศ.1656 พระเจ้าพรหมกุมาร พระโอรสของพระเจ้าพังคราช ได้ยกกองทัพเข้าโจมตีชนชาติขอมจนพ่าย ขับไล่ชนชาติของไปจนถึงเมืองสวรรคโลก กำแพงเพชร ทรงสร้างนครไชยปราการเป็นราชธานี แทนโยนก ขยายไปทางทิศตะวันตกถึงเมืองสะเทิม (ชนชาติมอญในพม่า) ทิศเหนือถึงเมืองเชียงตุง เมืองแสนหวี (พม่า) รวมถึง 12 ปันนา (จีน) หลวงพระบาง (ลาว) เมืองแกวประกัน (เวียดนาม) หลังจากการเสร็จศึกสงครามทุกครั้ง พระพรหมมหาราชจะประทับอยู่ นครชัยปราการ ราวปีพ.ศ.1679 พระเจ้าพรหมมหาราช ทรงคิดถึงพระบิดา ได้เสด็จไปเยี่ยมพระบิดา เมืองชัยบุรี (โยนกเดิม) ก่อนเสด็จกลับไชยปราการได้เสด็จผ่านเมือง เวียงสี่ตวง (อ.แม่สาย) เมื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุดอยดินแดน (ดอยตุง) หลังจากนั้นได้เสด็จต่อจนถึงเทือกเขาเทือกหนึ่ง ช้างพระที่นั่งเกิดอาการอ่อนล้าหมดแรงและได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ดอยนั้นจึงชื่อว่า "ดอยจ้างหอบ" หรือ "ดอยจ้างหมอบ" ต่อมา เรียกเป็น "ดอยช้างมูบ" จนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: