วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภูเก็ตแฟนตาซี

ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ ที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7˚45' ถึง 8˚15' เหนือ และเส้นแวงที่ 98˚15' ถึง 98˚40' ตะวันออกห่างจากกรุงเทพฯ 862 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 สายเพชรเกษม และทางหลวงหมายเลข 402 สายโคกลอย – ภูเก็ต (ในเขตภูเก็ต คือ ถนนเทพกระษัตรี) พื้นที่ทั้งหมดประกอบด้วยเกาะใหญ่ และเกาะบริวารอีก 32 เกาะ มีพื้นที่รวมกันทั้งหมดประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร โดยตัวเกาะใหญ่มีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร มีความกว้างจากตะวันออกไปตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร

จังหวัดภูเก็ตอยู่ในกลุ่ม 6 จังหวัดฝั่งทะเลตะวันตกหรือทะเลอันดามัน คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ด้านการปกครอง
จังหวัดภูเก็ต ได้จัดแบ่งเขตการปกครองออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านดังนี้
อำเภอเมืองภูเก็ต : มี 8 ตำบล 42หมู่บ้าน
อำเภอกะทู้ : มี 3 ตำบล 18หมู่บ้าน
อำเภอถลาง : มี 6 ตำบล 42หมุ่บ้าน
มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น ดังนี้
ทิศเหนือ เขตอำเภอถลาง ติดต่อกับจังหวัดพังงา เขตอำเภอตะกั่วทุ่ง มีช่อง แคบปากพระเชื่อมต่อแผ่นดินใหญ่ด้วยสะพานสารสิน และสะพานท้าวเทพกระษัตรี
ทิศใต้ เขตอำเภอเมืองภูเก็ต จดกับทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก เขตอำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลางจดอ่าวพังงา ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันตก เขตอำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูเก็ต มีรูปร่างเป็นเกาะเรียวยาวจากเหนือไปใต้ มีเกาะบริวารน้อยใหญ่ล้อมรอบพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 70 เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา มีเทือกเขาทอดยาวในแนวเหนือใต้ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร เป็นแนวกำบังลมและฝน ทำให้ภูเก็ตปลอดภัยจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพื้นที่ประมาณร้อยละ 30 เป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลอยู่บริเวณตอนกลางและตะวันออกของเกาะ โดยพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกมีสภาพเป็นหาดโคลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขาและหาดทรายที่สวยงาม และบริเวณที่เป็นที่ราบตัดจากภูเขาลงมามีสภาพพื้นที่เป็นที่ดอนลักษณะลูกคลื่นลอนลาด และต่อจากบริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่สำคัญ คือ เทศบาลนครภูเก็ต ชุมชนฉลอง ชุมชนราไวย์ และชุมชนเกาะแก้วเป็นต้น
ลักษณะประชากร
จังหวัดภูเก็ต ในอดีตเจ้าถิ่นเดิม ได้แก่ เงาะซาไก และชาวน้ำ ชาวเล หรือ ชาวไทยใหม่ ต่อมาได้มีชาวอินเดีย ชาวไทย และชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามา สำหรับชาวไทยได้มีการอพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้นทำให้สามารถยึดครองภูเก็ตได้มากกว่าชาติอื่น กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่เข้ามาสู่พื้นที่ภูเก็ตและมีส่วนสำคัญต่อการผสมผสานและสืบต่อวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตจนมาถึงปัจจุบัน
จำนวนประชากร
จังหวัดภูเก็ต ประชากรจังหวัดภูเก็ตตามสถิติข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ 31 ธันวาคม 2546 มีทั้งสิ้น 278,480 คน แต่จากการสำรวจ สัมภาษณ์บุคคลและหน่วยงานราชการต่างๆ พบว่า มีประชากรแฝงจากพื้นที่อื่นๆทั้งจากจังหวัดใกล้เคียงในภาคใต้ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามาในลักษณะของการลงทุนประกอบการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีทั้งแรงงานที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ได้แจ้งชื่อย้ายเข้ามาจำนวนมาก เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ มีธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจอื่นๆที่ต่อเนื่อง สถิติข้อมูลที่จะอ้างอิงได้ชัดเจนในที่นี้จึงเป็นประชากรที่ตามสถิติข้อมูลทะเบียนราษฎร์เท่านั้น
เขตเทศบาลนครภูเก็ตประชากรในเขตผังเมืองรวมเมืองภูเก็ตเดิม ซึ่งรวมทั้งประชากรในเขตเทศบาลนครและประชากรบางส่วนในตำบลรัษฎาและวิชิตได้เพิ่มขึ้นจาก 66,571 คน ในปี 2537 เป็น 88,210 คน ในปี 2546 คิดเป็นอัตราการเพิ่มประมาณ 0.03176 ต่อคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 3.18 ส่วนประชากรในเขตเทศบาลนครภูเก็ต ได้เพิ่มขึ้นจาก 59,155 คน ในปี 2537 เป็น 75,249 คน ในปี 2546 คิดเป็นอัตราการเพิ่มประมาณ 0.02709 ต่อคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 2.7 แสดงให้เห็นว่าอัตราการเพิ่มประชากรในเขตเทศบาลเมืองภูเก็ตน้อยกว่าอัตราการเพิ่มประชากรทั้งเขตผังเมืองรวม แสดงว่าประชากรได้มีอัตราเพิ่มมากขึ้นนอกเขตเทศบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตตำบลวิชิตที่ติดกับเขตเทศบาล

ชาวเล เป็นชาวกลุ่มแรกๆที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่นๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลย์ ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเอง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต

ตามบันทึกของ ฟรานซิส ไลท์ กล่าวถึงลักษณะของชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติ และวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นทั้งมุสลิม และพุทธศาสนิกชน คือ ไม่รับประทานหมู แต่สักการะพระพุทธรูป

ขณะที่กัปตันโธมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"

ปัจจุบันชาวภูเก็ต ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิม มีจำนวนถึง ร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลาง ราว 30 แห่ง จาก 42 แห่งทั่วจังหวัด ที่ขาดไม่ได้สำหรับภูเก็ตคือชาวเล มีพวกอูรักลาโว้ย และพวกมอเกน ซึ่งมอเกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกน ตาหมับ (Moken Tamub) แลยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ต ราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมร ราวหมื่นคน
การกระจายตัวและความหนาแน่นประชากร
จากการพิจารณาจำนวนประชากร การกระจายตัวและความหนาแน่นของประชากรจะเห็นได้ว่า เมืองมีความหนาแน่นประชากรต่อการใช้พื้นที่สูง และมีแนวโน้มขยายตัวของประชากรออกไปในพื้นที่เชื่อมต่อที่อยู่นอกเขตเทศบาลนครภูเก็ตมากขึ้น

สภาพเศรษฐกิจและการจ้างงาน
จำแนกตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ของภูเก็ตประมาณร้อยละ 24 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดทำงานในภาคธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร รองลงมาร้อยละ 19 ทำงานเกี่ยวกับการขายปลีก และประมาณร้อยละ 5 – 10 เท่านั้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างการจ้างงานของประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ประวัติ ภูเก็ตภูเก็ต หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นโดยสิ้นเชิง คือ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ชื่อ ภูเก็ต เป็นคำที่เขียนสะกดผิดพลาดมาจากคำว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลว่าภูเขาแก้ว ส่วนคำว่า ถลาง มาจากคำ Junk Ceylon, Silan, สลาง และฉลาง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต

เดิม คำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง
จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ต่างๆ จนมาถึงเมืองถลาง ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภริยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิก ระบอบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน
อาหารอร่อย ภูเก็ต

ไม่มีความคิดเห็น: