วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

องค์กรความร่วมมืออ่าวเบงกอล

ชื่อเรื่อง : องค์กรความร่วมมืออ่าวเบงกอล (BIMSTEC)
ประเทศสมาชิก : เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกจากสมาชิก4 ประเทศ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ภายใต้ชื่อ BISE-EC ( Bangladesh – India – Srilanka – Thailand Economic Cooperation) ภายใต้การเริ่มและผลักดันของไทยและเปลี่ยนชื่อเป็น BIMSTIC (Bangladesh – India- Myan mar – Sri Lanka - Thailand Economic Cooperation) เมื่อพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 ต่อมาในเดือน ธันวาคม 2546 เนปาลและภูฎานได้เข้าร่วมประชุมในฐานะสมาชิกใหม่ โดยประเทศสมาชิกจะต้องมีภูมิประเทศติดอ่าวเบงกอล หรือพึ่งพิงอ่าวเบงกอลเป็นหลัก ในการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่มีขึ้น ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31
จุดมุ่งหมาย : ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC มีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก ในรูปของการฝึกอบรม รวมถึงการค้นคว้าวิจัย และการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากภาคกสิกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการค้าและการลงทุน ตลอดจนปรับปรุงการสื่อสารและการคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ
ความร่วมมือ :การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 8 ที่บังกลาเทศเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงธากา ระหว่าง 18-19 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมานี้ ก็นับว่าเป็นครึ่งทางก่อนจะถึงการประชุมผู้นำครั้งที่ 2 ที่อินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในช่วงต้นปี 2550 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 8 ของ BIMSTEC เป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่งสำหรับกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งแม้จะเป็นแนวโน้มที่ดี แต่ประเทศสมาชิกก็คงจะต้องทำการบ้านกันมากขึ้นว่าทำอย่างไร BIMSTEC เวอร์ชั่นใหม่ที่ขยายใหญ่ขึ้นมากนี้จะเดินหน้าไปเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อภูมิภาค โดยไม่เกิดความอุ้ยอ้ายจากโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งคงจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณากันต่อไป
สาขาความร่วมมือของ BIMSTEC
ประเทศสมาชิก BIMSTEC ได้ตกลงทำความร่วมมือใน 13 สาขาหลัก ได้แก่
- สาขาการค้าและการลงทุน (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)
- สาขาการคมนาคมและการสื่อสาร (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาพลังงาน (พม่าเป็นประเทศนำ)
- สาขาการท่องเที่ยว (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาเทคโนโลยี (ศรีลังกาเป็นประเทศนำ)
- สาขาประมง (ไทยเป็นประเทศนำ)
- สาขาเกษตร (พม่าเป็นประเทศนำ)
- สาขาสาธารณสุข (ไทยเป็นประเทศนำ)
- สาขาการลดความยากจน (เนปาลเป็นประเทศนำ)
- สาขาการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาวัฒนธรรม (ภูฏานเป็นประเทศนำ)
- สาขาปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน (ไทยเป็นประเทศนำ)
โดยในความร่วมมือในแต่ละสาขาได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระดับ คือ
- ความร่วมมือสาขาหลัก (Sector) ซึ่งมีประเทศนำ (Lead Country) ในแต่ละสาขาเป็นผู้รับผิดชอบ
- ความร่วมมือสาขาย่อย (Sub-Sector) ซึ่งมีประเทศประธาน (Chair Country) เป็นผู้รับผิดชอบ
- โครงการ (Project) ซึ่งมีประเทศผู้ประสานงานโครงการ (Coordinating Country) เป็นผู้รับผิดชอบ
ค.สำเร็จและปัญหา : กลุ่ม BIMSTEC ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพ โดยมีประชากรรวมถึง 1,300 ล้านคน แต่ปัจจุบันยังมีการค้า การลงทุน และการเดินทางติดต่อระหว่างกันค่อนข้างน้อย ทำให้ยังมีโอกาสและลู่ทางในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้าการลงทุนนั้น ประเทศสมาชิกได้ลงนามในกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMSTEC แล้ว และทุกประเทศได้เสร็จสิ้นกระบวนการภายในประเทศสำหรับการให้สัตยาบันแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (TNC) กำลังดำเนินอยู่ โดยมีเป้าหมายเร่งรัดเจรจาด้านตัวสินค้าก่อนเป็นลำดับแรกให้เสร็จสิ้นเพื่อเริ่มลดภาษีได้ในกลางปี 2549 และได้เริ่มการเจรจาเรื่องการลงทุน และการค้าบริการแล้วหลังจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ณ กรุงธากา สาขาความร่วมมือใน BIMSTEC เพิ่มขึ้นจากเดิม 6 สาขาเป็น 13 สาขา ได้แก่ 1) การค้าและการลงทุน (ซึ่งอาจแยกออกเป็นอีก 3 สาขาได้แก่ การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน) 2) การท่องเที่ยว 3) การสื่อสารและคมนาคม 4) พลังงาน 5) เทคโนโลยี 6) ประมง 7) เกษตร 8) การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ 9) ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน 10) สาธารณสุข 11) วัฒนธรรม 12) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ 13) การลดความยากจน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติให้ขยายระยะเวลาดำเนินการของศูนย์ BIMSTEC ที่มีกำหนดจะครบวาระในกลางปี 2549 ออกไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักเลขาธิการขึ้น นอกจากนี้ ยังจะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ ตลอดจนกฎบัตรของ BIMSTEC เพื่อให้ที่ประชุมผู้นำครั้งที่ 2 ที่อินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในต้นปี 2550 พิจารณาต่อไปด้วย
ผลกระทบต่อประเทศไทย : สำหรับประเทศไทยแล้ว BIMSTEC จะช่วยประสานนโยบาย Look West ของไทย เข้ากับนโยบาย Look East ของอินเดีย และช่วยเน้นจุดยืนนโยบายต่างประเทศแบบ Forward Engagement ของรัฐบาลปัจจุบันที่มุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรเดิม และบุกเบิกความสัมพันธ์กับพันธมิตรใหม่ๆ นอกจากนี้ ความร่วมมือที่ประสานจุดแข็งของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันใน BIMSTEC ก็เป็นการส่งเสริมความริเริ่มของไทยที่นำมาใช้ได้ผลเป็นที่ยอมรับในหลายเวที ทั้ง ACD และ ACMECS ซึ่งความสำเร็จในเวทีนี้ ก็จะเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (south-south cooperation) ที่จะทำให้ไทยมีบทบาทสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: