วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เคล็ดลับ : 5 วิธีป้องกัน ไวรัสคอมพิวเตอร์ แบบง่าย ๆ

ไวรัสสำหรับคอมพิวเตอร์ ก็คล้าย ๆ กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดของเรานั่นแหละ นอกจากจะทำร้ายคอมพิวเตอร์ของเรา ยังอาจลุกลามไปถึงเครื่องคนอื่นได้ โดยเฉพาะในออฟฟิศหรือสำนักงาน มาป้องกันไวรัสด้วยวิธีง่าย ๆ นี้ดีกว่า


อย่าเปิดอ่านอีเมลแปลก ๆ เวลาที่คุณเช็กอีเมล ถ้าเผอิญเจออีเมล์ชื่อแปลก ที่ไม่รู้จักให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าต้องมีไวรัสแน่นอน แม้ว่าชื่อหัวข้ออีเมลจะดูเป็นมิตรแค่ไหน ก็อย่าเผลอกดเข้าไปเด็ดขาดล่ะ


ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (Anti-virus) ต้องยอมรับว่า ไม่มีโปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัสโปรแกรมใดสมบูรณ์แบบ จะต้องอัพเดตโปรแกรมที่ใช้ตรวจจับและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ครอบคลุมถึงไวรัสชนิดใหม่ ๆ


อย่าโหลดเกมมากเกินไป เกมคอมพิวเตอร์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจมีไวรัสซ่อนอยู่ ไม่ควรโหลดมาเล่นมากเกินไป และควรโหลดจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น บางทีเว็บไซต์จะมีเครื่องหมายบอกว่า "No virus หรือ Anti virus" อยู่แบบนี้ถึงจะไว้ใจได้


สแกนไฟล์ต่าง ๆ ทุกครั้งก่อนดาวน์โหลดไฟล์ทุกประเภท ควรทำการสแกนไฟล์ รวมทั้งข้อมูลจากภายนอกก่อนเข้ามาใช้ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CD, Diskette หรือ Handydrive ต้องใช้โปรแกรมค้นหาไวรัสเสียก่อน


หมั่นตรวจสอบระบบต่าง ๆ ควรตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ เช่น หน่วยความจำ, การติดตั้งโปรแกรมใหม่ ๆ ลงไป, อาการแฮงค์ (Hang) ของเครื่องเกิดจากสาเหตุใด บ่อยครั้งหรือไม่ ซึ่งคุณอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรมพวกบริการ (Utilities) ต่าง ๆ เพิ่มเติมในเครื่องด้วย


Tip ... รู้ได้อย่างไรว่าคอมพิวเตอร์ติดไวรัสแล้ว


1. การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลงกว่าปกติ

2. คอมพิวเตอร์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ

3. อยู่ดี ๆ ข้อมูลบางอย่างก็หายไป

4. ตัวเครื่อง Restart เองโดยไม่ได้สั่ง

5. แป้นพิมพ์ทำงานปกติหรือไม่ทำงานเลย
องค์กรความร่วมมืออ่าวเบงกอล

ชื่อเรื่อง : องค์กรความร่วมมืออ่าวเบงกอล (BIMSTEC)
ประเทศสมาชิก : เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกจากสมาชิก4 ประเทศ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ภายใต้ชื่อ BISE-EC ( Bangladesh – India – Srilanka – Thailand Economic Cooperation) ภายใต้การเริ่มและผลักดันของไทยและเปลี่ยนชื่อเป็น BIMSTIC (Bangladesh – India- Myan mar – Sri Lanka - Thailand Economic Cooperation) เมื่อพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 ต่อมาในเดือน ธันวาคม 2546 เนปาลและภูฎานได้เข้าร่วมประชุมในฐานะสมาชิกใหม่ โดยประเทศสมาชิกจะต้องมีภูมิประเทศติดอ่าวเบงกอล หรือพึ่งพิงอ่าวเบงกอลเป็นหลัก ในการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่มีขึ้น ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31
จุดมุ่งหมาย : ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC มีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก ในรูปของการฝึกอบรม รวมถึงการค้นคว้าวิจัย และการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากภาคกสิกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการค้าและการลงทุน ตลอดจนปรับปรุงการสื่อสารและการคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ
ความร่วมมือ :การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 8 ที่บังกลาเทศเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงธากา ระหว่าง 18-19 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมานี้ ก็นับว่าเป็นครึ่งทางก่อนจะถึงการประชุมผู้นำครั้งที่ 2 ที่อินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในช่วงต้นปี 2550 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 8 ของ BIMSTEC เป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่งสำหรับกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งแม้จะเป็นแนวโน้มที่ดี แต่ประเทศสมาชิกก็คงจะต้องทำการบ้านกันมากขึ้นว่าทำอย่างไร BIMSTEC เวอร์ชั่นใหม่ที่ขยายใหญ่ขึ้นมากนี้จะเดินหน้าไปเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อภูมิภาค โดยไม่เกิดความอุ้ยอ้ายจากโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งคงจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณากันต่อไป
สาขาความร่วมมือของ BIMSTEC
ประเทศสมาชิก BIMSTEC ได้ตกลงทำความร่วมมือใน 13 สาขาหลัก ได้แก่
- สาขาการค้าและการลงทุน (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)
- สาขาการคมนาคมและการสื่อสาร (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาพลังงาน (พม่าเป็นประเทศนำ)
- สาขาการท่องเที่ยว (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาเทคโนโลยี (ศรีลังกาเป็นประเทศนำ)
- สาขาประมง (ไทยเป็นประเทศนำ)
- สาขาเกษตร (พม่าเป็นประเทศนำ)
- สาขาสาธารณสุข (ไทยเป็นประเทศนำ)
- สาขาการลดความยากจน (เนปาลเป็นประเทศนำ)
- สาขาการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาวัฒนธรรม (ภูฏานเป็นประเทศนำ)
- สาขาปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน (ไทยเป็นประเทศนำ)
โดยในความร่วมมือในแต่ละสาขาได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระดับ คือ
- ความร่วมมือสาขาหลัก (Sector) ซึ่งมีประเทศนำ (Lead Country) ในแต่ละสาขาเป็นผู้รับผิดชอบ
- ความร่วมมือสาขาย่อย (Sub-Sector) ซึ่งมีประเทศประธาน (Chair Country) เป็นผู้รับผิดชอบ
- โครงการ (Project) ซึ่งมีประเทศผู้ประสานงานโครงการ (Coordinating Country) เป็นผู้รับผิดชอบ
ค.สำเร็จและปัญหา : กลุ่ม BIMSTEC ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพ โดยมีประชากรรวมถึง 1,300 ล้านคน แต่ปัจจุบันยังมีการค้า การลงทุน และการเดินทางติดต่อระหว่างกันค่อนข้างน้อย ทำให้ยังมีโอกาสและลู่ทางในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้าการลงทุนนั้น ประเทศสมาชิกได้ลงนามในกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMSTEC แล้ว และทุกประเทศได้เสร็จสิ้นกระบวนการภายในประเทศสำหรับการให้สัตยาบันแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (TNC) กำลังดำเนินอยู่ โดยมีเป้าหมายเร่งรัดเจรจาด้านตัวสินค้าก่อนเป็นลำดับแรกให้เสร็จสิ้นเพื่อเริ่มลดภาษีได้ในกลางปี 2549 และได้เริ่มการเจรจาเรื่องการลงทุน และการค้าบริการแล้วหลังจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ณ กรุงธากา สาขาความร่วมมือใน BIMSTEC เพิ่มขึ้นจากเดิม 6 สาขาเป็น 13 สาขา ได้แก่ 1) การค้าและการลงทุน (ซึ่งอาจแยกออกเป็นอีก 3 สาขาได้แก่ การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน) 2) การท่องเที่ยว 3) การสื่อสารและคมนาคม 4) พลังงาน 5) เทคโนโลยี 6) ประมง 7) เกษตร 8) การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ 9) ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน 10) สาธารณสุข 11) วัฒนธรรม 12) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ 13) การลดความยากจน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติให้ขยายระยะเวลาดำเนินการของศูนย์ BIMSTEC ที่มีกำหนดจะครบวาระในกลางปี 2549 ออกไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักเลขาธิการขึ้น นอกจากนี้ ยังจะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ ตลอดจนกฎบัตรของ BIMSTEC เพื่อให้ที่ประชุมผู้นำครั้งที่ 2 ที่อินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในต้นปี 2550 พิจารณาต่อไปด้วย
ผลกระทบต่อประเทศไทย : สำหรับประเทศไทยแล้ว BIMSTEC จะช่วยประสานนโยบาย Look West ของไทย เข้ากับนโยบาย Look East ของอินเดีย และช่วยเน้นจุดยืนนโยบายต่างประเทศแบบ Forward Engagement ของรัฐบาลปัจจุบันที่มุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรเดิม และบุกเบิกความสัมพันธ์กับพันธมิตรใหม่ๆ นอกจากนี้ ความร่วมมือที่ประสานจุดแข็งของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันใน BIMSTEC ก็เป็นการส่งเสริมความริเริ่มของไทยที่นำมาใช้ได้ผลเป็นที่ยอมรับในหลายเวที ทั้ง ACD และ ACMECS ซึ่งความสำเร็จในเวทีนี้ ก็จะเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (south-south cooperation) ที่จะทำให้ไทยมีบทบาทสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศต่อไป
ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation)

BIMSTEC หรือ ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 7 ประเทศในภูมิภาคอ่าวเบงกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย โดยประเทศสมาชิกจะต้องมีภูมิประเทศติดอ่าวเบงกอล หรือพึ่งพิงอ่าวเบงกอลเป็นหลัก

BIMSTEC เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกจากสมาชิก 4 ประเทศ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) (คลิกที่นี่ เพื่อดู คำแถลงการณ์ก่อตั้ง BIST-EC เมื่อเดือนมิถุนายน 2540) ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) เมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมประชุมในฐานะสมาชิกใหม่

BIMSTEC ได้เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันโดยใช้ตัวย่อเดิม (คลิกที่นี่ เพื่อดูคำแถลงการณ์การรับพม่าเข้าเป็นสมาชิก เมื่อเดือนธันวาคม 2540) ในการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่มีขึ้น ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมk
BIMSTEC
ความสำคัญของ BIMSTEC

กลุ่ม BIMSTEC ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพ โดยมีประชากรรวมถึง 1,300 ล้านคน แต่ปัจจุบันยังมีการค้า การลงทุน และการเดินทางติดต่อระหว่างกันค่อนข้างน้อย ทำให้ยังมีโอกาสและลู่ทางในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้าการลงทุนนั้น ประเทศสมาชิกได้ลงนามในกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMSTEC แล้ว และทุกประเทศได้เสร็จสิ้นกระบวนการภายในประเทศสำหรับการให้สัตยาบันแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (TNC) กำลังดำเนินอยู่ โดยมีเป้าหมายเร่งรัดเจรจาด้านตัวสินค้าก่อนเป็นลำดับแรกให้เสร็จสิ้นเพื่อเริ่มลดภาษีได้ในกลางปี 2549 และได้เริ่มการเจรจาเรื่องการลงทุน และการค้าบริการแล้ว

สำหรับประเทศไทยแล้ว BIMSTEC จะช่วยประสานนโยบาย Look West ของไทย เข้ากับนโยบาย Look East ของอินเดีย และช่วยเน้นจุดยืนนโยบายต่างประเทศแบบ Forward Engagement ของรัฐบาลปัจจุบันที่มุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรเดิม และบุกเบิกความสัมพันธ์กับพันธมิตรใหม่ๆ นอกจากนี้ ความร่วมมือที่ประสานจุดแข็งของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันใน BIMSTEC ก็เป็นการส่งเสริมความริเริ่มของไทยที่นำมาใช้ได้ผลเป็นที่ยอมรับในหลายเวที ทั้ง ACD และ ACMECS ซึ่งความสำเร็จในเวทีนี้ ก็จะเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (south-south cooperation) ที่จะทำให้ไทยมีบทบาทสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศต่อไป

ความคืบหน้าล่าสุด

หลังจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ณ กรุงธากา สาขาความร่วมมือใน BIMSTEC เพิ่มขึ้นจากเดิม 6 สาขาเป็น 13 สาขา ได้แก่ 1) การค้าและการลงทุน (ซึ่งอาจแยกออกเป็นอีก 3 สาขาได้แก่ การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน) 2) การท่องเที่ยว 3) การสื่อสารและคมนาคม 4) พลังงาน 5) เทคโนโลยี 6) ประมง 7) เกษตร 8) การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ 9) ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน 10) สาธารณสุข 11) วัฒนธรรม 12) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ 13) การลดความยากจน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติให้ขยายระยะเวลาดำเนินการของศูนย์ BIMSTEC ที่มีกำหนดจะครบวาระในกลางปี 2549 ออกไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักเลขาธิการขึ้น นอกจากนี้ ยังจะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ ตลอดจนกฎบัตรของ BIMSTEC เพื่อให้ที่ประชุมผู้นำครั้งที่ 2 ที่อินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในต้นปี 2550 พิจารณาต่อไปด้วย

การประชุมสำคัญ

การประชุมระดับผู้นำ (BIMSTEC Summit): นายกรัฐมนตรีศรีลังกากล่าวในสุนทรพจน์เปิดการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 5 ในเดือนธันวาคม 2545 ณ กรุงโคลัมโบ ว่าถึงเวลาแล้วที่ BIMSTEC จะยกระดับการประชุมเป็นระดับผู้นำรัฐบาล ซึ่งสมาชิกต่างเห็นพ้องด้วย และไทยก็ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำครั้งแรก ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 ณ กรุงเทพฯ

การประชุมระดับผู้นำเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่จะผลักดันให้กรอบความร่วมมือมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสะท้อนถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองและการสนับสนุนตามกระบวนการ Top-down เพื่อผลักดันกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ในระดับนโยบายต่อไป

การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting): เดิมมีการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำ 2 การประชุมด้วยกัน ได้แก่

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (Ministerial Meeting: MM) ทำหน้าที่เป็น prime mover ในการกำหนดนโยบายภาพรวมและให้คำแนะนำแก่การประชุมผู้นำ และได้รับมอบหมายจากที่ประชุมผู้นำให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักในกรอบ BIMSTEC

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 1 จนถึงการประชุมครั้งที่ 4 ได้จำกัดอยู่เพียงระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จนถึงการประชุมครั้งที่ 5 ณ กรุงโคลัมโบ เมื่อเดือนธันวาคม 2545 ที่ได้ยกระดับเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

การประชุมรัฐมนตรีการค้า/เศรษฐกิจ (Trade/Economic Ministerial Meeting: TEMM) จะติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานในสาขาการค้าและการลงทุน และนโยบายเขตการค้าเสรี

ต่อมาในการประชุมผู้นำครั้งที่ 1 ได้มีการเสนอจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีในสาขาอื่นๆ ขึ้น ได้แก่

การประชุมโต๊ะกลมและเชิงปฏิบัติการระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว BIMSTEC (Roundtable and Workshop for BIMSTEC Tourism Ministers) ซึ่งอินเดียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 1 ไปเมื่อ 21-23 กุมภาพันธ์ 2548 ณ เมืองกัลกัตตา โดยเนปาลได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 2 ในเดือนมิถุนายน 2549

การประชุมรัฐมนตรีพลังงาน BIMSTEC (BIMSTEC Energy Ministers’ Conference) ซึ่งอินเดียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อ 4 ตุลาคม 2548 ณ กรุงนิวเดลี โดยไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 2 ในปี 2549

การประชุมรัฐมนตรีด้านการลดความยากจน บังกลาเทศได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่าง 30-31 มีนาคม 2549 ณ กรุงธากา

การประชุมรัฐมนตรีด้านความร่วมมือทางวัฒนธรรม ภูฏานได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2549

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meeting): แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ

1. ด้านการค้าและเศรษฐกิจ (Senior Trade/Economic Officials’ Meeting: STEOM) รับผิดชอบการเจรจาเรื่องเขตการค้าเสรี BIMSTEC (FTA) ความร่วมมือในสาขาหลักด้านการค้าและการลงทุน และ 15 สาขาย่อยของสาขาการค้าและการลงทุน ซึ่งมีรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าและเศรษฐกิจ

2. ด้านต่างประเทศ (Senior Official’s Meeting - SOM) มีหน้าที่ติดตามความคืบหน้าในสาขาอื่นๆ นอกเหนือจากสาขาการค้าและการลงทุน โดยรับรายงานจากที่ประชุม BIMSTEC Working Group จากนั้นจะเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศต่อไป

การประชุมคณะทำงาน BIMSTEC ที่กรุงเทพฯ (BIMSTEC Working Group in Bangkok: BWG): เป็นการประชุมร่วมระหว่างอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกประจำประเทศไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประชุมจะมีขึ้นทุกเดือน ณ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อติดตามและผลักดันความคืบหน้าในแต่ละสาขาความร่วมมือ และเพื่อศึกษาแนวทางและนโยบายของความร่วมมือก่อนเสนอรายการต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส

ในการนี้ไทยได้จัดตั้งศูนย์ BIMSTEC (BIMSTEC Center) ขึ้นเป็นโครงการนำร่องเพื่อสนับสนุนการทำงานของ BWG โดยตั้งอยู่ที่สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

การประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group Meeting): ประเทศนำของสาขาหลักและสาขาย่อยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอและรายงานผลการประชุมต่อคณะทำงาน BIMSTEC (BWG) ที่กรุงเทพฯ ผ่านสถานเอกอัครราชทูต BIMSTEC ประจำประเทศไทย ผลการประชุมดังกล่าวจะถูกเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสต่อไป

การประชุม Business Forum และ Economic Forum: เป็น 2 การประชุมภายใต้สาขาการค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามีส่วนร่วม โดย Business Forum เป็นเวทีหารือระหว่างภาคเอกชนด้วยกันใน BIMSTEC ส่วน Economic Forum จะเป็นเวทีที่ภาคเอกชนและภาครัฐบาลร่วมหารือกัน และผลการประชุมทั้งสองจะนำรายงานต่อที่ประชุม STEOM ต่อไป

ข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ


ประวัติ
ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทยโดยใช้ชื่อว่า Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation หรือ BIST-EC ซึ่งในช่วงเริ่มต้นนี้มีสมาชิกเพียง 4 ประเทศ คือ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย และไทย สำหรับ ประเทศพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกรอบความร่วมมือนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ธันวาคม 2540 และเปลี่ยนชื่อกรอบความร่วมมือเป็น Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation หรือ BIMST-EC ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ประเทศเนปาลและภูฎานได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือนี้ ทำให้ในปัจจุบัน ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC มีสมาชิกรวม 7 ประเทศ คือ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย พม่า เนปาล และภูฎาน ซึ่งภายหลังจากการประชุมระดับผู้นำกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือ BIMSTEC Summit ครั้งที่ 1 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงชื่อกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้ใหม่เป็น Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation หรือ BIMSTEC ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและสมาชิกของกลุ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 8 ที่ประชุมมีมติประกาศให้วันที่ 6 มิถุนายนของทุกปีเป็นวัน BIMSTEC โดยส่งเสริมให้สมาชิกจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ BIMSTEC ในช่วงเวลาดังกล่าวตามที่เห็นเหมาะสม

[แก้] วัตถุประสงค์
ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC มีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก ในรูปของการฝึกอบรม รวมถึงการค้นคว้าวิจัย และการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากภาคกสิกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการค้าและการลงทุน ตลอดจนปรับปรุงการสื่อสารและการคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ

[แก้] สาขาความร่วมมือของ BIMSTEC
ประเทศสมาชิก BIMSTEC ได้ตกลงทำความร่วมมือใน 13 สาขาหลัก ได้แก่

สาขาการค้าและการลงทุน (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)
สาขาการคมนาคมและการสื่อสาร (อินเดียเป็นประเทศนำ)
สาขาพลังงาน (พม่าเป็นประเทศนำ)
สาขาการท่องเที่ยว (อินเดียเป็นประเทศนำ)
สาขาเทคโนโลยี (ศรีลังกาเป็นประเทศนำ)
สาขาประมง (ไทยเป็นประเทศนำ)
สาขาเกษตร (พม่าเป็นประเทศนำ)
สาขาสาธารณสุข (ไทยเป็นประเทศนำ)
สาขาการลดความยากจน (เนปาลเป็นประเทศนำ)
สาขาการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
สาขาวัฒนธรรม (ภูฏานเป็นประเทศนำ)
สาขาปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน (ไทยเป็นประเทศนำ)
โดยในความร่วมมือในแต่ละสาขาได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระดับ คือ

ความร่วมมือสาขาหลัก (Sector) ซึ่งมีประเทศนำ (Lead Country) ในแต่ละสาขาเป็นผู้รับผิดชอบ
ความร่วมมือสาขาย่อย (Sub-Sector) ซึ่งมีประเทศประธาน (Chair Country) เป็นผู้รับผิดชอบ
โครงการ (Project) ซึ่งมีประเทศผู้ประสานงานโครงการ (Coordinating Country) เป็นผู้รับผิดชอบ
[แก้] กลไกการทำงานของ BIMSTEC
โครงสร้างของกลไกการทำงานของ BIMSTEC สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ กลไกการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน โดยกลไกการทำงานของภาครัฐจะแบ่งการดำเนินการเป็น 5 ระดับได้แก่

การประชุมระดับผู้นำ (BIMSTEC Summit) เป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมให้กรอบความร่วมมือมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองและเป็นการสนับสนุนตามกระบวนการ Top-down เพื่อผลักดันกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ในระดับนโยบายของประเทศ โดยการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 ซึ่งการประชุมครั้งที่สองนั้น จะมีขึ้นในวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2551 ที่ประเทศอินเดีย
การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) โดยที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า พิจารณากำกับดูแลความคืบหน้าของการดำเนินงานในสาขาการค้าและการลงทุน และนโยบายเขตการค้าเสรี ส่วนที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นกลไกด้านกำหนดนโยบายสูงสุดสำหรับการประชุมผู้นำ ทั้งนี้ ในอดีต การประชุมสูงสุดของ BIMSTEC อยู่ในระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น แต่ในการประชุม ครั้งที่ 5 ที่กรุงโคลัมโบ เมื่อเดือนธันวาคม 2545 ได้มีการยกระดับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นครั้งแรก การประชุมระดับรัฐมาตรีครั้งถัดไปจะมีขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ที่ประเทศอินเดีย
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการค้าและเศรษฐกิจ (Senior Trade / Economic Official Meeting: STEOM) และด้านต่างประเทศ (Senior Official Meeting: SOM)โดยมีระดับปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ/การค้าและกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ตามลำดับ ทำหน้าที่พิจารณากรอบการค้าเสรี การดำเนินงานสาขาการค้าและการลงทุน และ15 สาขาย่อย และรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า ส่วนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านต่างประเทศ ทำหน้าที่พิจารณาการดำเนินการของสาขาต่างๆ ที่เหลือและของคณะทำงาน และรายงานต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี
การประชุมคณะทำงาน ที่กรุงเทพฯ (Bangkok Working Group: BWG) เป็นการประชุมร่วมระหว่างอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกประจำประเทศไทยประชุมทุกเดือน ที่กรุงเทพฯ เพื่อติดตามและผลักดันให้การดำเนินงานในสาขาความร่วมมือต่างๆ มีความก้าวหน้า นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาในเรื่องแนวทางและนโยบายของความร่วมมือก่อนเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
การประชุมรายสาขาและสาขาย่อย ประเทศนำ (Lead Country) ของความร่วมมือทั้ง 6 สาขาหลักและ 15 สาขาย่อย จะเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญสาขาปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลการประชุมให้คณะทำงานที่กรุงเทพฯทราบผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตของประเทศนำนั้นๆประจำประเทศไทย เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสพิจารณาต่อไป
ในส่วนกลไกการทำงานของภาคเอกชนนั้น จะมีการจัดการประชุม BUSINESS FORUM ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพ และนำเสนอผลการประชุมดังกล่าวต่อที่ประชุม ECONOMIC FORUM ซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนี้ภาคเอกชนยังจะต้องมีการจัดการประชุม BIMSTEC Chamber of Commerce & Industry ปีละ 1 ครั้งเช่นกัน

[แก้] ศูนย์บิมสเทค BIMSTEC Center
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์สนับสนุนทางวิชาการ BIMSTEC (BIMSTEC Technical Support Facility: BTSF) หรือ BIMSTEC Center เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกลไกประสานงานกลางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในภาพรวมของ BIMSTEC รวมถึง กิจกรรมของกลุ่มทำงาน BIMSTEC (BIMSTEC Working Group: BWG) และสภาหอการค้า BIMSTEC (BIMSTEC Chamber of Commerce) โดยไทยได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง และจะมีการประเมินผลการดำเนินการและพิจารณารูปแบบการจัดตั้งสำนักเลขาธิการแบบถาวรต่อไป ศูนย์บิมสเทคตั้งอยู่ที่สถาบันยุทธศาสตร์การค้า อาคาร 20 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย

ศูนย์บิมสเทค

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

........

คำชี้แจง ศึกษากรณีปัญหาทางจริยธรรมที่เกิดจากสื่อมวลชนมา 10 ประเด็นปัญหา

1. ปัญหาที่เกดขึ้นจากโปรแกรม camfrog และอิทธิพลของโปรแกรมภายหลังได้มีการเผยแพร่ภาพลามกจากโปรแกรมดังกล่าวผ่านสื่อโทรทัศน์เละโปรแกรมดังกล่าวได้นำมาถึงปัญหาทางสังคมในรูปแบบต่างๆมากมาย
2. ปัญหาที่เกิดจากการนำเสนอข่าว หรือคำพูดที่นำไปสู่การผิดคุณธรรมจริยธรรมซึ่งจะทำให้ผู้ที่ดูหรือฟังเกิดความคิดที่คิดที่ผิดเพราะฉะนั้นการนำเสนอข่าวควรจะระวังเรื่องคำพูดและภาพที่นำเสนอข่าวออกไป
3. ปัญหาที่เกิดจากสื่อใหม่ในฐานะสื่อมวลก็ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางสื่อมวลชนซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายทางจริยธรรมในวิชาชีพสื่อ” ของวงการสื่อสารมวลชนเป็นอย่างยิ่ง ยังไม่รวมถึงผลกระทบและอิทธิพลที่สื่อใหม่มีต่อพฤติกรรม ค่านิยมของคนในสังคม โดยเฉพาะต่อเยาวชนที่เปลี่ยนแปลงไป
4. พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นที่เกิดจากการดูสื่อต่างๆ หรือศึกษาจากสื่อจึงทำให้เกิดความเสื่อมเสียในสังคมไม่ว่าจะเป็นการข่มขืน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดจากคุณธรรมจริยธรรม
5. ปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นโดยเกิดจากการดูละคร หนัง เล่นอินเตอเนตที่เกิดการกระทำเลียนแบบโดยขาดความเหมาะสมหรือขัดกับความต้องการของผู้ใหญ่จึงทำให้วัยรุ่นไทยในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่แหมาะสม
6. ปัญหาที่เกิดจากการใช้ไอซีทีที่ผิดคุณธรรมจริยธรรม เช่นการใช้อินเตอเนตเป็นการเล่นการพนัน หรือการฉ้อโกง การล่อลวงต่างๆ
7. ปัญหาที่เกิดจากการรายข่าวหรือนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่างๆที่ทำให้ปลุกระดมประชาชนให้หลงผิด
8. ปัญหาด้านยาเสพติดที่วัยรุ่นลอกเลียนแบบจากสื่อต่างๆและสื่อควรจะต้องระมัดระวังในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
9. ปัยหาที่เกิดจากอินเตอเนตซึ่งทำให้สามารถเกิดความเปลี่ยนแปลงกับวัยรุ่นในสังคมโดยเฉพาะการเล่นเกมส์ออนไลน์เป็นที่นิยมมากกับสำหรับเด็กวัยรุ่นไทยในปัจจุบันซึ่งนำไปสู่อนาคตของวัยรุ่น
10 ปัญหาของการทำหวยออนไลน์ซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกกฎหมายแต่การกระทำดังกล่าว สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่างในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นการก่ออาชญากรรม หรือ การฉ้อโกง ซึ่งเป็นปัญหาของคนในสังคมไทยปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เนื่องจากประวัติศาสตร์การก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เกี่ยวพันกับเหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกพันธมิตรจำนวนมากมาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์เพื่อผ่านไปยังประเทศพม่า เริ่มต้นจากสถานีหนองปลาดุก อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี ผ่านสถานีต่าง ๆ ใน จ. กาญจนบุรี เพื่อลำเลียงยุทธปัจจัยและกำลังทหารไปยังพม่า เส้นทางเมื่อข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแควไปแล้วจะเลียบไปตามลำน้ำแควน้อย ผ่านโตรกผาบริเวณที่เรียกว่าถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นทางโค้งเลียบนหน้าผา ด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำที่เชี่ยวกราก บางช่วงต้องขุดเจาะระเบิดภูเขาเป็นช่องให้รถไฟผ่านไป
การสร้างทางรถไฟสายนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดอาหาร ทำให้เชลยศึกชาวตะวันตกได้แก่ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย และฮอลันดา และกรรมกรรถไฟหลากเชื้อชาติต้องสังเวยชีวิตไปเป็นจำนวนจำนวนหลายหมื่นคน จนมีการเปรียบเทียบว่าหนึ่งไม้หมอนของทางรถไฟสายมรณะคือหนึ่งชีวิต ซึ่งยังทิ้งร่องรอยไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเป็นจำนวนมากในเรื่องราวความเป็นมาในอดีต
ที่ตั้ง บ้านท่า-มะขาม ต. ท่ามะขาม อ. เมือง
ประวัติ ทหารช่างญี่ปุ่นเลือกสร้างสะพานที่บริเวณนี้เนื่องจากมีฐานดินด้านล่างแน่นที่สุด โดยใช้แรงงานเชลยศึกและกรรมกรรับจ้างจำนวนมาก การก่อสร้างเริ่มจากการสร้างสะพานไม้เพื่อลำเลียงคนและอุปกรณ์ก่อสร้างทางรถไฟข้ามไปก่อน โดยสร้างในช่วงที่น้ำลดลงตอนปลายเดือนพ.ย. 2485 โดยใช้ไม้ซุงทั้งต้นตอกเป็นเสาเข็ม ใช้เวลาก่อสร้าง 3 เดือน และได้รื้อออกไปหลังจากสร้างสะพานเหล็กแล้ว (ปัจจุบันแนวสะพานไม้เดิมอยู่ห่างจากสะพานข้ามแม่น้ำแควลงไปทางใต้ประมาณ 100 ม. ในพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 ปี โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและท้ายเป็นโครงไม้ ตัวสะพานยาวประมาณ 300 ม.สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2486
สะพานข้ามแม่น้ำแควถูกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศทั้งสิ้นราว 10ครั้งในระหว่างสงคราม จนกระทั่งสะพานช่วงที่ 4-6 ชำรุด และไม่สามารถใช้การได้ ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงขึ้นใหม่จากของเดิม โดยตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็กสองช่วง ส่วนด้านหัวและท้ายเปลี่ยนเป็นสะพานเหล็กหกช่วงแทน

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติเมืองกาญจนบุรี

เมืองกาญจนบุรี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทุกยุคสมัย สามารถแบ่งออกเป็นยุคสมัยตามหลักฐานที่พบ ได้ดังนี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เริ่มตั้งแต่สมัยเริ่มกำเนิดมีมนุษย์ขึ้นในโลก จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ สิงสาราสัตว์มากมาย เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งอาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากมายได้แก่ เครื่อมือหินกะเทาะ เครื่องมือสมัยหินใหม่ เครื่องมือสมัยโลหะ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ ภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำ โลงศพ ฯลฯ ตามถ้ำเพิงผา และตามลำน้ำแควน้อยแควใหญ่ ตลอดไปจนลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

สมัยทวาราวดี
เมื่ออินเดียได้เดินทางเข้ามาค้าขาย และเผยแพร่พุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิ ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 16 พบหลักฐานศิลปะอินเดียสมัยคุปตะในสมัยทวาราวดี ตามลำน้ำแควน้อย แควใหญ่ และแม่กลอง ที่บ้านวังปะโท่ บ้านท่าหวี บ้านวังตะเคียน และพงตึก โบราณวัตถุสถานที่พล เช่น ซากเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป พระพิมพ์ เสมาธรรมจักร ระฆังหิน เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา และพบตะเกียงโรมันสำริดที่มีอายุราว พศ.600 นับเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดของไทย

สมัยอิทธิพลขอม
จากหลักฐานทางเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า "กาญจนบุรีเป็นเมืองพญากง พระราชทานบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทอง หรือสุวรรณภูมิ มีผู้สันนิษฐานว่าพญากงสร้างขึ้นราว พ.ศ.1350" ต่อมาขอมได้แผ่อิทธิพลนำเอาศาสนาพุทธมหายานเข้ามาประดิษฐานในเมืองกาญจนบุรี ปรากฏหลักฐานคือปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองกลอนโด จนอำนาจอิทธิพลขอมเสื่อมลงไป

สมัยอยุธยาเป็นราชธานี
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองกาญจนบุรีปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ต้องกลายมาเป็นเมืองหน้าด่าน เพราะตั้งอยู่ติดกับประเทศคู่สงครามคือพม่า กาญจนบุรีจึงเป็นเส้นทางเดินทัพและสมรภูมิ ด้วยเหตุว่ามีช่องทางเดินติดต่อกับพม่า คือ ด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านบ้องตี้ จึงนับว่ามีความสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งในทางยุทธศาสตร์ ยังปรากฏชื่อสถานที่ในพงศาวดารหลายแห่งเช่น ด่านพระเจดีย์สามองค์ สามสบ ท่าดินแดง พุตะไคร้ เมืองด่านต่าง ๆ เมืองกาญจนบุรีตั้งอยู่ในช่องเขาริมลำน้ำแควใหญ่มีลำตะเพินอยู่ทางด้านทิศเหนือ ด้านหลังติดเขาชนไก่ ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปประมาณ 14 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกกันว่าเมืองกาญจนบุรีเก่ามีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 170x355 เมตร มีป้อมมุมเมืองก่อด้วยดินและหินทับถมกัน ลักษณะของการตั้งเมืองเหมาะแก่ยุทธศาสตร์ในสมัยนั้นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นซอกเขาที่สกัดกั้นพม่าที่ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ มุ่งจะไปตีเมืองสุพรรณบุรีและอยุธยาจำเป็นต้องตีเมืองกาญจนบุรีให้ได้เสียก่อน หากหลีกเลี่ยงไปอาจจะถูกกองทัพที่เมืองกาญจนบุรีตีกระหนาบหลัง ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมือง ป้องปราการ พระปรางค์ เจดีย์ และวัดร้างถึง 7 วัดด้วยกัน สมัยอยุธยานี้ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 24 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิหลายครั้ง และเป็นทางผ่านไปตีอยุธยาจนต้องเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 และต้องย้ายราชธานีใหม่

สมัยธนบุรีเป็นราชธานี
กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่จากการกู้เอกราชโดยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในสมัยนี้เกิดสงครามกับพม่าถึง 10 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิอีกหลายครั้ง เช่น สงครามที่บางกุ้ง และที่บางแก้ว ซึ่งมีสมรภูมิรบกันที่บริเวณบ้านหนองขาว

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
เมื่อไทยย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เพียง 3 ปี ก็เกิดสงครามใหญ่คือ สงคราม 9 ทัพ แต่ไทยสามารถยันกองทัพพม่าแตกพ่ายไปได้ ณ สมรภูมิรบเหนือทุ่งลาดหญ้าในปีต่อมาก็ต้องทำสงครามที่สามสบและท่าดินแดงอีก และไทยตีเมืองทวาย จากนั้นจะเป็นการรบกันเล็กน้อยและมีแต่เพียงข่าวศึก เพราะพม่าต้องไปรบกับอังกฤษในที่สุดก็ตกเป็นเมืองขึ้น และเลิกรบกับไทยตลอดไป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยุทธศาสตร์การรบเปลี่ยนไป โดยเหตุที่พม่าต้องนำทัพลงมาทางใต้เพื่อเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ จำเป็นต้องมีทัพเรือล่องลงมาจากสังขละบุรี มาตามลำน้ำแควน้อยผ่านอำภอไทรโยคมายังปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้งสอง ด้วยเหตุนี้หลังจากสิ้นสงคราม 9 ทัพแล้ว จึงได้เลื่อนที่ตั้งฐานทัพจากเมืองกาญจนบุรีที่ลาดหญ้า มาตั้งที่ตำบลปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงอธิบายว่า "ที่จริงภูมิฐานเมืองปากแพรกดีกว่าเขาชนไก่ เพราะตั้งอยู่ในที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย พื้นแผ่นดินที่ตั้งเมืองก็สูงแลเห็นแม่น้ำน้อยได้ไกล ป้อมกลางย่านตั้งอยู่กลางลำน้ำทีเดียว แต่เมืองกาญจนบุรีที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้เดิมปักเสาระเนียดแล้วถมดินเป็นเชิงเทินเท่านั้น" ในสมัยรัชกาลที่ 2 กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จออกมาขัดตาทัพ กำแพงเมืองก็คงเป็นระเนียดไม้อยู่ ต่อมาจนถึง พ.ศ.2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นถาวร ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จพระพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรวเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็ฯนพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็ฯชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน

การปกครองของเมืองกาญจนบุรี
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประกอบด้วยเมืองด่าน 8 เมือง อยู่ในแควน้อย 6 เมือง แควใหญ่ 2 เมือง ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลย และกะเหรี่ยง เป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวณด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุก และสิ่งอื่นๆ แก่รัฐบาลโดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด เมืองด่าน 7 เมือง(รามัญ 7 เมือง) ประกอบด้วยเมืองในสุ่มแม่น้ำแควน้อย 6 เมือง และแควใหญ่ 1 เมือง คือ

เมืองสิงห์
เมืองลุ่มสุ่ม
เมืองท่าตะกั่ว
เมืองไทรโยค
เมืองท่าขนุน
เมืองทอผาภูมิ
เมืองท่ากระดาน

เมืองต่างๆ เหล่านี้ผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้

เมืองสิงห์ เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ปัจจุบันเป็นต้นสกุล สิงคิบุรินทร์ ธำรงโชติ
เมืองลุ่มสุ่ม เป็น พระนินภูมิบดี ปัจจุบันเป็นต้นสุกล นินบดี จ่าเมือง หลวงบรรเทา
เมืองท่าตะกั่ว เป็นพระชินติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล ท่าตะกั่ว ชินอักษร ชินหงสา
เมืองไทรโยค เป็น พระนิโครธาภิโยค ปัจจุบันเป็นต้นสกุล นิโครธา
เมืองท่าขนุน เป็นพระปนัสติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล หลักคงคา
เมืองทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมิบดี เป็นต้นสกุลเสลานนท์ เสลาคุณ
เมืองท่ากระดาน เป็นพระผลกติฐบดี เป็นต้นสกุล พลบดี ตุลานนท์

ครั้นเมื่อมีการปกครองตามระเบียบสมัยใหม่ ร.ศ.114 เมืองด่านเหล่านี้ถูกยุบลงเป็นหมู่บ้าน ตำบล กิ่งอำเภอ เป็นอำเภอบ้างตามความสำคัญของสถานที่ ดังนี้

เมืองทองผาภูมิ (เดิมเรียกว่าท้องผาภูมิ) ยุบลงเป็นหมูาบ้านอยู้ในเขตกิ่งอำเภอสังขละบุรี(ต่อมาเป็นอำเภอสังขละบุรี) ปัจจุบันเป็นอำเภอทองผาภูมิ
เมืองท่าขนุน(สังขละบุรี) ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นต่ออำเภอวังกะ ซึ่งตั้งใหม่อยู่ห่างจากท่าขนุนขึ้นไป ตั้งที่ว่าการริมน้ำสามสบ ต่อมาอำเภอวังกะและกิ่งอำเภอสังขละบุรีได้ถูกเปลี่ยนฐานสลับกันหลายครั้ง และต่อมากิ่งอำเภอสังขละบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลวังกะ เดิมขึ้นต่ออำเภอทองผาภูมิและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสังขละบุรี ส่วนกิ่งอำเภอสังขละบุรีเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลท่าขนุน เปลี่ยนเป็นอำเภอทองผาภูมิ ตั้งแต่ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา
เมืองไทรโยค ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอวังกะ ใน พ.ศ.2492 ต่อมาได้โอนขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี ได้ย้ายที่ทำการหลายครั้ง ปัจจุบันนี้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลวังโพธิ์ และได้ยกขึ้นเป็นอำเภอไทรโยค เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2506
เมืองท่าตะกั่ว ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค
เมืองลุ่มสุ่ม ยุบลงเป็นหมู่บ้านในตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค
เมืองสิงห์ ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค



ตามลำน้ำแควใหญ่ มีเมือง 2 เมือง คือ

เมืองท่ากระดาน ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในกิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์(ปัจจุบันเป็นอำเภอศรีสวัสดิ์)
เมืองศรีสวัสดิ์ (ด่านแม่แฉลบ) ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอไทรโยค (ปัจจุบันเป็นอำเภอศรีสวัสดิ์)



ในปี พ.ศ.2467 จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยอำเภอและกิ่งอำเภอ ดังนี้

อำเภอเมือง ตั้งที่ทำการอยู่ตำบลปากแพรก ในกำแพงเมืองเก่า ประกอบด้วย
กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์
กิ่งอำเภอไทรโยค
กิ่งอำเภอบ่อพลอย
ปัจจุบันทั้ง 3 กิ่งอำเภอได้ยกฐานะเป็นอำเภอ
อำเภอท่าม่วง ตั้งที่ว่าการที่ตำบลท่าม่วง เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลวังขนาย ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองเรียกว่า อำเภอวังขนาย ครั้น พ.ศ. 2489 จึงย้ายมาสร้างใหม่ที่ตำบลท่าม่วงจนถึงปัจจุบัน
อำเภอพนมทวน ตั้งที่ว่าการตำบลพนมทวน ก่อนเรียกว่าอำเภอบ้านทวน และก่อน ร.ศ. 120(พ.ศ.2445)เรียกว่าอำเภอเหนือ
อำเภอท่ามะกา ตั้งที่ว่าอยู่ที่ตำบลท่ามะกา ก่อนเรียกตำบลพระแท่นอยู่ในเขตตำบลพงตึก ขึ้นกับจังหวัดราชบุรี และได้โอนมาสังกัดจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2480
อำเภอทองผาภูมิ ตั้งที่ว่าอยู่ที่ตำบลท่าขนุน มีกิ่งอำเภอสังขละบุรีอยู่ในสังกัด

เจดีย์ชเวดากอง

"ชเว" คือ ทอง ส่วน "ดากอง" คือชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง สมัยที่พระเจ้าอลองพญาสถาปนาเมืองเล็กริมฝั่งแม่น้ำแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2298 กล่าวกันว่า "ทอง" แห่งมหาเจดีย์มหาศาลกว่าทองในธนาคารแห่งอังกฤษ ซึ่งน้อยคนปฏิเสธความเป็นไปได้

ประวัติความเป็นมาของมหาเจดีย์องค์สำคัญนี้ ที่มีผู้ค้นคว้าและบันทึกไว้อย่างน่าอ่านก็คือ ข้อมูลจากหนังสือ "พม่า" ในชุด "หน้าต่างสู่โลกกว้าง"

ตามตำนานกว่า 2,500 ปี ของเจดีย์แห่งนี้กล่าวไว้ว่าเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุทั้งแปดเส้นของพระพุทธเจ้า และพระบริโภคเจดีย์ของพระอดีตพระพุทธเจ้าทั้งสามองค์ องค์สถูปหุ้มด้วยทองคำทั้งหมด 8,688 แท่ง แต่ละแท่งมีค่ามากกว่า 400 ยูเอสดอลลาร์ ปลายยอดสถูปประดับด้วยเพชร 5,448 เม็ด ทับทิม นิล และบุษราคัมอีก 2,317 เม็ด มีมรกตเม็ดเขื่องอยู่ตรงกลาง เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ ทั้งหมดนี้ประดับอยู่ด้านบนเหนือฉัตรขนาด 10 เมตร ซึ่งสร้างขึ้นบนไม้หุ้มทองเจ็ดเส้น ประดับด้วยกระดิ่งทองคำ 1,065 ลูก และกระดิ่งเงิน 420 ลูก รอบองค์สถูปรายล้อมไปด้วยสิ่งปลูกสร้างกว่า 100 หลัง มีทั้งสถูปบริวาร วิหารทิศ วิหารราย และศาลาอำนวยการ

เจดีย์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพวก บะกัน เรื่องอำนาจ พระเจ้าอโนรธา เคยเสด็จประพาสชเวดากองระหว่างการรบพุ่งทางใต้ในศตวรรษที่ 11 พระเจ้าบญาอู แห่งพะโค ก็ทรงบูรณะเจดีย์แห่งนี้ในปี พ.ศ.1925 และ 50 ปีต่อมา พระเจ้าเบียนยาเกียนก็โปรดให้ยกองค์สถูปให้สูงขึ้นไปถึง 90 เมตร

ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจาก พระเจ้าเบียนยาเกียน คือ พระนางฉิ่นซอปู้ หรือ นางพญาตะละเจ้าท้าว ได้ทรงสร้างลานและกำแพงล้อมรอบองค์สถูป และพระราชทานทองคำเท่าน้ำหนักพระองค์เอง 40 กิโลกรัม ให้นำไปตีเป็นแผ่นทองหุ้มสถูป เป็นแบบอย่างให้กษัตริย์รุ่นหลัง ๆ ทรงประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งนี้เพราะพายุลมฝนในช่วงมรสุมนั้นโหมแรง จนทำให้แผ่นทองคำชำรุดหลุดร่วงลงมาอยู่บ่อย ๆ พระเจ้าธรรมเซดี ผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระนางก็ได้ทรงบริจาคทองคำหนักเป็นสี่เท่าของน้ำหนักพระองค์เอง เพื่อบูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์

ในปี พ.ศ.2028 พระเจ้าธรรมเซดีทรงสร้างศิลาจารึกสามหลังเอาไว้บนบันไดด้านตะวันออกของเจดีย์ชเวดากอง บอกเล่าประวัติของเจดีย์เป็นภาษามอญ พม่า และบาลี จารึกนั้นยังคงมีให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้
เจดีย์ชเวดากองตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอังกฤษนานถึง 77 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2395-2472 แต่ชาวพม่าก็ยังสามารถเข้ามาสักการะเจดีย์ได้

ในปี พ.ศ.2414 พระเจ้ามินดง แห่งมัณฑะเลย์ ทรงส่งฉัตรฝังเพชรอันใหม่มาถวายเป็นพุทธบูชา มีการจัดงานฉลองและมีชาวพม่ากว่าแสนคนมาเที่ยวชมงาน พระองค์จึงทรงถือโอกาสนี้ปรารถนาเรื่องเอกราชของพม่า สร้างความไม่พอใจให้กับอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่อาจทำอะไรได้

ช่วงศตวรรษที่ 20 มีภิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นกับพม่าหลายครั้ง โดยเริ่มจากปี พ.ศ.2473 เกิดแผ่นดินไหวขึ้น แต่ก็สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในปี พ.ศ.2474 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่จากฐานบันไดทางทิศตะวันตก ลุกลามต่อไปยังปีกด้านเหนือ ดชคดีที่ดับไฟได้เสียก่อน แต่ก็ได้เผาผลาญศาสนสถานสำคัญไปไม่น้อย ในปีพ.ศ.2513 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง นับเป็นภัยแผ่นดินไหวครั้งที่ 9 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ส่งผลให้ทางภาครัฐต้องจัดทำโครงพิเศษเพื่อเสริมยอดเจดีย์ให้แข็งแรงขึ้น

เมื่อใดก็ตามที่เจดีย์แห่งนี้ชำรุดเสียหายก็จะได้รับการบูรณะให้งดงามรุ่งโรจน์ยิ่งกว่าเดิม

เจดีย์ชเวดากองสัญลักษณ์ของประเทศพม่าตั้งแยู่บนเนินเขาเชียงกุตตระ สามารถมองเห็นได้จากทุกมุมเมือง เพราะสูงเด่นเป็นสง่า ข้อสำคัญไม่มีตึกหรืออาคารสูงมาตั้งบดบังได้

นอกจากสถูปทองที่ส่องอร่ามไปทั่วแล้ว ยังมีองค์ประกอบโดยรวมอีก ตั้งแต่ประตูทางขึ้นสู่บันไดทั้ง 4 ทิศที่ใหญ่โตมโหฬาร ตัวหลังคาระเบียงวัดที่ทอดขึ้นสู่ฐานขององค์เจดีย์ก็มีลวดลายสลักเสลาเหมือนปราสาทลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ

เจดีย์ชเวดากองเปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่เวลา 04.00-21.00 น. การเปิดให้เข้าชมเป็นช้าวงเวลายาวขนาดนี้ ก็เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาสามารถเข้าไปก่อนอรุณรุ่งและกลับออกมาหลังตะวันยอแสง จะได้มีเวลาชมเต็มที่

บริเวณโดยรอบของทางเข้าทางทิศใต้ ซึ่งเป็นทางขึ้นสู่เจดีย์ชเวดากองที่ผู้คนนิยมใช้กัน มีบันไดทั้งหมด 104 ขั้น ทอดขึ้นสู่บริเวณลานของเจดีย์

ตามสองข้างทางบันได เต็มไปด้วยร้านค้าที่ได้รับอนุญาตจากทางวัดให้เข้ามาตั้งแผงขายของให้กับผู้คนที่มาสักการะบูชาด้วยความเลื่อมใส สินค้าส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการทำบุญและก็มีสินค้าที่ระลึกวางขายด้วย

หน้าบริเวณทางเข้ามีรูปปั้นสัตว์ในตำนวนปรัมปราสองตัวทำหน้าที่เป็นทวารบาลคือ ชินเต้ หรือสัตว์ครึ่งสิงโตครึ่งนก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีหปักษีทวารบาล และ ยักษ์ทวารบาล

รายรอบด้วยเจดีย์องค์เล็กองค์น้อย ผู้คนจำนวนมากยังเดินทางมาที่นี่เพื่อกราบไหว้ สักการะ สรงน้ำองค์ปฏิมา และทำทักษิณาวัตร ไม่ใช่เฉพาะคนแก่คนเฒ่า แต่ทั้งเด็กเล็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ทั้งชายและหญิง พากันมาน้อมใจสู่พระรัตนตรัยที่นี่

นอกจากจะมีทวารบาลที่หน้าประตูแล้ว ยังมีเหล่าเด็ก ๆ ชาวพม่าวิ่งท้วงติงผู้ที่ใส่รองเท้าเข้ามาบริเวณวัด ให้ถอดรองเท้าถุงเท้า แล้วให้ซื้อถุงก๊อบแก๊บใส่รองเท้าถือเข้าวัดไปด้วย

เกาะลังกาวี

ลังกาวี เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย เกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวมาเลย์ ก็เพราะตำนานที่เล่าขานกันมา ถึงเจ้าหญิงชายารัชทายาท ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนามว่ามัสซูรี

ตามตำนานเล่าว่า พระนางมัสซูรี เป็นหญิงสาวชาวภูเก็ต ที่อนุชาองค์สุลต่านแห่งลังกาวี ทรงเลือกเป็นคู่ครอง เนื่องจากพระนางเป็นหญิงสาวที่มีความเพียบพร้อมทั้งงานบ้านงานเรือนและความสวยงาม ทั้ง ๆ ที่ทางราชวงศ์ได้คัดเลือกหญิงสาวชาวลังกาวีหลายคนให้พระอนุชาเลือก แต่ก็ไม่ถูกใจ กลับมาถูกใจสาวไทยชาวภูเก็ต พระนางมัสซูรี มาอยู่กับพระอนุชาของสุลต่านในฐานะพระชายาองค์รอง แต่ด้วยเหตุที่พระชายาองค์ใหญ่ ซึ่งมีฐานะเป็นปะไหมสุหรีมีบุตรเป็นหญิง
ส่วนพระนางมัตซูรีมีบุตรเป็นชาย ตามกฎของสำนัก พระชายาที่มีบุตรเป็นชายจะได้รับตำแหน่งปะไหมสุหรี ทำให้ชาวลังกาวีที่เป็นพระญาติของปะไหมสุหรีองค์เดิมเก็บความอิจฉาไว้ลึก ๆ หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้เกิดสงคราม มีเหตุให้พระอนุชาขององค์สุลต่าน ซึ่งเป็นพระสวามีของพระนางมัสซูรี ต้องเดินทางออกรบกับกองทัพไทยที่บุกมา ดังนั้นเป็นโอกาสของผู้ที่ปองร้าย ต่างหาเรื่องสร้างสถานการณ์ว่าพระนางมัสซูรีมีชู้ ทำให้องค์สุลต่าน ตัดสินประหารชีวิตพระนางด้วยกริช

โดยที่พระอนุชา สวามีของนางไม่อาจกลับมาช่วยเหลือได้ทัน ก่อนเสียชีวิตพระนางอธิษฐานว่า หากนางไม่มีความผิด ขอให้โลหิตที่หลั่งออกมาเป็นสีขาวเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนาง และขอให้เกาะลังกาวีไร้ความเจริญไป 7 ชั่วคน แต่คมกริชประหารกลับไม่ระคายผิวนางเลย พระนางมัสซูรี จึงบอกกับเพชฌฆาตให้กลับไปนำกริชพิเศษของต้นตระกูลจากบ้านของนางมา ขณะที่คมกริชจดลงไปบนคอของนาง โลหิตสีขาวก็พวยพุ่งขึ้นข้างบนราวกับเป็นร่ม โดยไม่ตกลงบนพื้นดินเลย

เกาะเต่า

เกาะเต่า เป็นเกาะเล็กๆ โดดเดี่ยวกลางอ่าวไทยห่างไกลจากผืนแผ่นดินใหญ่ โดยรอบเป็นเกาะซึ่งเต่าตนุขึ้นไปวางไข่ และไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย ดังนั้นเมื่อเกิดสงครามแปซิฟิกขึ้น รัฐบาลเกรงว่าอังกฤษอาจจะมาช่วงชิงตัวนักโทษการเมืองหนีไปจากเกาะตะรุเตา ซึ่งอยู่ชายแดนฝั่งมหาสมุทรอินเดียได้ จึงได้ตั้งงบประมาณก้อนใหญ่สำหรับทำการหักร้างถางป่าสร้าง เกาะเต่า เป็นสถานกักกันนักโทษการเมือง โดยเฉพาะนักโทษสามัญมีแต่พวกที่มาช่วยเจ้าหน้าที่เรือนจำ ทำงานหุงต้มในครัวทำความสะอาด และรับใช้ครอบครัวพัศดี และเจ้าหน้าที่เรือนจำเท่านั้น โรงขังได้สร้างอย่างแน่นหนาอยู่ ภายในรั้วรอบขอบชิด ส่วนบ้านพักของผู้อำนวยการเกาะ เจ้าหน้าที่เรือนจำและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้สร้างอย่างสวยงามทันสมัย มีถังเก็บน้ำใหญ่จุน้ำได้ ถึง 3,000 แกลลอน. แต่ขณะที่นักโทษการเมืองไปถึงนั้นปรากฏว่าถังน้ำใหญ่นี้ได้พังทลายลง จนใช้การไม่ได้นั่นแสดงให้เห็นชัดว่า เกาะเต่า ไม่มีแหล่งน้ำ และนักโทษการเมืองจะต้องประสพกับปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ทางการค่ายคุมขังได้ขุดบ่อเล็กๆขึ้นแทนเมื่อนักโทษการเมือง 54 คน ต้องใช้น้ำพร้อมกันในเวลาจำกัด น้ำไหลซึมออกมาไม่พอที่จะใช้ได้ทั่วถึง นักโทษการเมือง จึงต้องซื้อน้ำอาบน้ำกินด้วยราคาแพง. ในระยะเดือนแรกที่ไปถึงที่นั่น พัศดีเพี้ยน อนุโรจน์ ผู้อำนวยการเกาะได้ให้เกียรติ และปฏิบัติต่อนักโทษการเมืองอย่างดี ตามแบบฉบับที่ควรปฏิบัติต่อนักโทษการเมือง คือ ในตอนกลางวันอนุญาตให้นักโทษการเมืองออกจากบริเวณรั้วท่องเที่ยวไปตกปลาหาพืชผักเป็นอาหารได้โดยเสรี ทั้งนี้โดยถือว่า เกาะเต่า เป็นเกาะซึ่งอยู่โดดเดี่ยวไม่มีเกาะอะไรอยู่ใกล้เคียง และมีทะเลเป็นรั้วรอบอยู่แล้ว ในเวลากลางคืนจึงได้จำกัด ให้นักโทษการเมืองอยู่ในบริเวณรั้วกั้น แต่เพียงชั่วเวลาไม่นาน การปฏิบัติต่อนักโทษการเมืองดีเกินไป ยังผลให้พัศดีเพี้ยน ผู้นี้ต้องถูกสั่งย้ายจาก เกาะเต่า โดย พันตำรวจเอกพระกล้ากลางสมร (มงคล หงสไกร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์ขณะ นั้นเห็นว่า เป็นการปล่อยปละนักโทษการเมืองเกินไป ร้อยตรีพยอม เปรมเดชา ได้มาเป็นพัศดีแทน โดยมี จ่าผ่อน หนูรักษา เป็นผู้ช่วย ในทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง เขาก็สั่งกักขังนักโทษการเมืองไว้ในเรือนขังในเวลา กลางคืน และกักให้อยู่ในบริเวณรั้วในเวลากลางวัน นักโทษการเมืองจึงหมดโอกาสที่จะไปตกปลา หาหอย หาปู และพืชผักมาเป็นอาหาร จำต้องกินอาหารอันแร้นแค้น และขาดคุณภาพซึ่งทางเรือนจำจัดหาให้ ร่างกายจึงขาดอาหาร และผ่ายผอมอ่อนแอ จนไม่อาจต้านทานต่อเชื้อไข้จับสั่นที่เป็นมาแล้วจากเกาะตะรุเตา เมื่อได้รับ เชื้อใหม่อันร้ายแรงของเกาะเต่า ซึ่งเป็นที่ๆ เพิ่งหักร้างถางพงใหม่ๆ และฝนตกชื้นเสมอ นักโทษการเมืองจึงเป็น ไข้จับสั่นกันแทบทุกคน ความคับแค้นประการสำคัญที่สุดก็คือการติดต่อส่งข่าวคราวทางจดหมายกับญาติเป็นไปด้วยความลำบากอย่างยิ่ง เพราะเรือไม่มีเชื้อเพลิงทั้งเรือดำน้ำทางฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยุ่มย่ามมากขึ้น.
เรือเสบียงจึงเดินทางมา เกาะเต่า เพียงเดือนละครั้ง แต่มีน้อยครั้งที่จะมีจดหมายถึงนักโทษการเมืองทั้งนี้จะเป็นเพราะเหตุใดก็สุดจะเดา พัศดีพยอมได้ชี้แจงว่าจดหมายต่างๆ ที่ส่งไปถึงญาตินั้นจะต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่เรือนจำเสียก่อน อย่างไรก็ตาม นักโทษการเมืองแทบจะไม่ได้รับจดหมายหรือข่าวคราวตอบจากญาติเลย. นั่นหมายถึงการขาดแคลนเงินทอง เครื่องอุปโภคบริโภค และที่ร้ายที่สุดคือการขาดแคลนยาที่จะใช้บำบัดรักษาโรค ทางการเรือนจำก็ไม่ยอมจ่ายยาหรือดูแลรักษาแต่ประการใด ข้าวของเงินทองที่ญาติส่งไปให้ ก็หายตกหล่นเสียเป็นส่วนใหญ่ นักโทษการเมืองแทบไม่ได้รับเครื่องอุปโภคบริโภค และยาที่ทางบ้านส่งไปเลย มารดาของสอ เสถบุตร ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะส่งของไปให้บุตรชาย แต่ของเหล่านั้นก็ไปไม่ถึง ยาเท่าที่จะหาได้นั้นได้จากการต้องซื้อจากเจ้าหน้าที่เรือนจำด้วยราคาแพงลิบลิ่ว ซึ่งยานั้นอาจเป็นยาซึ่งญาติของ นักโทษการเมืองนั่นเองที่ส่งไปให้. ต่อมาพระกล้ากลางสมร อธิบดีกรมราชทัณฑ์ขณะนั้น ได้มีคำสั่งให้นักโทษการเมืองที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีทั้งหมด ทำงานกรรมกรเช่นเดียวกับนักโทษสามัญ ทั้งนี้เป็นการทำผิดกฎของเรือนจำที่ว่า นักโทษการเมือง ซึ่งถือกันว่าเป็นนักโทษชั้นเยี่ยม ย่อมได้รับการยกเว้นมิให้ต้องทำงานกรรมกร หากให้ทำงานช่วยเจ้าหน้าที่ ควบคุมงาน หรือทำงานกี่ยวกับหนังสือหรือการบัญชีเท่านั้น เบื้องหลังของคำสั่งนี้ก็คือ การทำงานกรรมกร จะทำให้นักโทษการเมืองได้มีโอกาสออกกำลังกาย อันเป็นการต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บให้เบาบางลง ในการทำงาน กรรมกรนั้น นักโทษการเมืองได้ถูกเกณฑ์ให้ออกไปทำงานในป่า โดยแบ่งออกเป็นหมู่ๆ หมู่ละ 5 คนบ้าง 6 คนบ้าง งานที่ถูกกำหนดให้ทำนั้นมีทั้ง ทำถนน ถางป่า โค่นต้นไม้ ดายหญ้า ปราบที่สำหรับทำไร่ถั่ว และไร่มันสำปะหลังซึ่งผลิตผลทางการเกษตรเหล่านี้เป็นสมบัติของค่ายคุมขังทั้งสิ้น.

อันการกลั่นแกล้งให้นักโทษการเมืองต้องทำงานหนัก กรำแดดกรำฝนในขณะที่เป็นไข้จับสั่น ตลอดจน การตัดหนทางมิให้ญาติได้มีโอกาสส่งเครื่องอุปโภคบริโภค และยารักษาโรคไปให้นักการเมืองนั้น เป็นเสมือน คำสั่งประหารชีวิตนักโทษการเมืองโดยแท้ เพราะการขาดแคลนเงิน อาหาร ยารักษาโรคในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อไข้จับสั่นอันร้ายแรง ย่อมหมายถึงความตาย อันที่จริงแล้ว นักโทษการเมืองเท่าที่เหลืออยู่นี้ ล้วนเป็นผู้ที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อได้รับการลดหย่อนโทษในวาระพิเศษต่างๆ ประกอบกับเป็นผู้ ประพฤติตนดี โทษที่ได้รับจึงเหลือเวลาอีกเพียงสองปีเศษๆ เท่านั้น ดังนั้นหากพวกนักโทษการเมืองรุ่นนี้ได้รับ การปลดปล่อยให้พ้นโทษ ก็อาจจะกลับมาเป็นเสี้ยนหนามของรัฐบาลขณะนั้นได้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะตัดไฟแต่ต้นลม ก็คือ กลั่นแกล้งและบีบคั้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้นักโทษการเมืองรุ่นนี้ ต้องมีอันเป็นไป จนสูญสิ้นชีวิตที่ เกาะเต่า ด้วยพิษไข้จับสั่น และความอดอยาก.

ผลของการออกไปกรำแดดกรำฝนทำงานหนักในป่า ในระหว่างฤดูฝนของปี 2486 นั้นเอง ทำให้นักโทษการเมืองซึ่งไม่เคยกับการทำงานหนัก ร่างกายขาดอาหารผ่ายผอมอ่อนแอ และมีเชื้อไข้จับสั่นอยู่แล้วได้รับเชื้อไข้ป่า หรือไข้จับสั่นอย่างร้ายแรงเข้าอีกจึงกำเริบหนัก และระบาดแพร่หลายไปอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ชีวิตของนักโทษการเมืองต้องสูญสิ้นไปถึงหกคน ในช่วงระยะเวลาเพียงหกสัปดาห์ คนแรกที่ต้องสิ้นชีวิต บน เกาะเต่า ด้วยพิษไข้จับสั่นขึ้นสมอง คือ ร้อยเอกหลวงจักรโยธิน (ม.ล.บุษ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ขณะที่ หลวงจักรโยธินไข้ขึ้นสูง ดิ้นทุรนทุรายพร่ำเพ้อเรียกหาแต่ลูกเมีย อาการหนักอยู่ในขั้นอันตราย พระยาจินดา จักรรัตน์ ได้บริจาคยาฉีดแอตตาบรินให้หนึ่งหลอด อาการก็ยังไม่ทุเลาลง หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร จึงประทานยาแคมเฟอร์ให้อีกหนึ่งหลอดก็หาประโยชน์อะไรมิได้ ด้วยหลวงจักรฯ ได้สิ้นชีวิตลงในเวลาอีกไม่กี่ ชั่วโมงต่อมา.

พระแสงสิทธิการติดตามหลวงจักรฯ ไปเป็นคนที่สองด้วยไข้จับสั่นอีกเช่นกัน ต่อมา อ่ำ บุญไทย นักหนังสือพิมพ์ เจ้าของนามปากกา “แม่น้ำโขง” ก็ได้จบชีวิตลงเป็นคนที่สาม ด้วยโรคท้องมาน โรคนี้ได้ก่อความทุกข์ทรมานให้แก่อ่ำ บุญไทย อย่างยิ่งเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม นายแพทย์ซึ่งเป็นนักโทษต้องคดีฆ่าภรรยาตายได้เดินทางไป เกาะเต่า พร้อมกับเรือเชวงศักดิ์สงคราม เพื่อทำการเจาะท้องให้ อ่ำ บุญไทยจนท้องยุบเป็นปกติ แต่เพียงระยะเวลาไม่กี่วันท้องของอ่ำ กลับโตใหญ่ขึ้นอีกเมื่อไม่มีนายแพทย์เจาะท้องให้อ่ำจึงใช้ตะปูซึ่งฝน จนแหลมเจาะท้องของตนเองอีกหลายครั้งหลายหน จนในที่สุดเขาก็สิ้นสุดชีวิตและสิ้นความทรมานทั้งปวง. คนที่สี่ที่สิ้นชีวิตด้วยไข้จับสั่นในเวลาไล่เลี่ยกับอ่ำ บุญไทย ก็คือ สิบโทศาสตร์ คชกุล ศาสตร์เป็นคนตัวคนเดียว ไม่เคยมีญาติพี่น้อง หรือผู้หนึ่งผู้ใดส่งเสียเขา ตลอดเวลาที่เขาต้องโทษ ภรรยาของเขาได้ทอดทิ้งเขาไปในทันที ที่เขาต้องถูกจำคุก สอ เสถบุตร ได้ให้ความอุปการะช่วยเหลือแก่ศาสตร์ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องเงิน เสื้อผ้า อาหารการกินและยา “ไทยน้อย” ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่องค่ายคุมขังนักโทษการเมืองว่า “ความเป็นอยู่ของเราในค่าย ได้มีพื้นฐานอยู่ในคติที่ว่า ตัวใครตัวมัน เพราะทุกคนเท่ากับลอยคออยู่ในห้วงมหาสมุทร อีเมตินเม็ดหนึ่งหรือควินินเม็ดหนึ่ง หมายถึงชีวิต ในที่นี้เราน่าจะอนุโมทนาแก่น้ำใจอันงดงามของ หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เสถบุตร) ซึ่งช่วยทั้งยา เงินและอาหารแก่ศาสตร์ เพื่อจะประคับประคองชีวิตของเขา ไว้จนสุดความสามารถ ตลอดจนเสื้อผ้าก็พยายามว่าจ้างคนซักฟอกให้ตามสมควร แต่ในที่สุด ศาสตร์ก็ต้อง จากเราไปอย่างไม่มีวันกลับ ” สอ เสถบุตร เล่าว่าในสภาพแวดล้อมอันคับแค้น ซึ่งขาดทั้งยา และอาหารเช่นนั้น การให้ยาแก่เพื่อนซึ่ง กำลังจะตาย อาจหมายถึงความตายของตัวเองในเวลาต่อไปเมื่อหมดยา ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องของการตัดสินใจ ที่ยากยิ่งระหว่างมนุษยธรรมกับสัญชาตญาณของการอยู่รอด นักโทษการเมืองทุกคนต้องระวังสุขภาพ และใช้วิธีบำบัดรักษาโรคด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่เรือนจำมิได้ เหลียวแลหรือให้การบำบัดรักษาแต่อย่างใด ยาควินิน แอตตาบริน หรืออิเมตินแต่ละเม็ดมีความหมายต่อชีวิต ของแต่ละคน การมียาโดยจำกัดทำให้แต่ละคนใช้วิธีบำบัดรักษาตนเองด้วยวิธีต่างๆ กัน บางคนแบ่งยากิน ทีละน้อยแต่กินเรื่อยๆ จึงเกิดอาการชินกับยา และยาก็มีไม่มากพอที่จะบำบัดโรคซึ่งเป็นอยู่อย่างร้ายแรงให้หาย ขาดได้ บางคนเวลาที่เป็นน้อยอยู่ ถนอมยาไว้ไม่ยอมกิน พอเป็นมากถึงขั้นเพ้อคลั่ง ยาก็เอาไว้ไม่อยู่ เช่นในราย ของพระแสงสิทธิการ เมื่อพระแสงฯ สิ้นชีวิตลงนั้น มียาแอตตาบรินและควินิน ซ่อนอยู่ใต้หมอนและใต้ที่นอน เป็นจำนวนมาก ส่วน สอ เสถบุตร นั้นได้ใช้วิธีที่ว่า โดยปกติเขาจะไม่กินยาป้องกันไว้ก่อน แต่ถ้าโรคไข้จับสั่น กำเริบขึ้นเมื่อใด เขาก็รีบกินยาอย่างเต็มที่ เพื่อให้หายจากโรคโดยเร็วที่สุด ด้วยวิธีการเช่นนี้ สอ เสถบุตร ทั้งที่ตัวเล็กบอบบางจึงรอดชีวิตจากไข้จับสั่นของ เกาะเต่า มาได้ ในระหว่างที่ความตายกำลังคุกคามนักโทษการเมืองบน เกาะเต่า อยู่นั้น หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน์ และดร.โชติ คุ้มพันธ์ ซึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตอยู่ในเรือนจำบางขวางในคดีพยายามก่อการกบฏ พ.ศ.2481 ถูกทางการรัฐบาลขณะนั้น เห็นว่าเป็นบุคคลประเภทหัวแข็ง ไม่เข็ดหลาบ อันจะเป็นเสี้ยนหนาม แก่รัฐบาลได้ ทางราชการจึงได้มีคำสั่งเนรเทศบุคคลทั้งสอง ให้มาร่วมความทุกข์ทรมาน และความตายกับนักโทษการเมืองที่ เกาะเต่า ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์ อดีตนายทหารอากาศผู้นี้ท่านผู้อ่านคงจะจำได้ว่า ได้เคยต้องโทษในคดี กบฏบวรเดช พ.ศ.2476 มาแล้ว และได้รับการปลดปล่อยให้พ้นโทษไปในปี พ.ศ.2480 และต่อมา ม.ร.ว.นิมิตรมงคล ก็ถูกจับกุมอีก ถูกฟ้องร้องและต้องคำพิพากษาของศาลพิเศษให้จำคุกตลอดชีวิต ในคดี พยายามก่อการกบฏ พ.ศ.2481 อันเป็นคดีเดียวกันกับร้อยโทเณร ตาละลักษณ์ และนักโทษการเมืองอีก 17 คน ต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตในเรือนจำบางขวาง ภาพที่ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์ และดร.โชติ คุ้มพันธ์ ประสพเมื่อแรกไปถึง เกาะเต่า นั้น ทำให้เขา ตกใจแทบสิ้นสติ เพราะมันเป็นภาพของเมืองนรกบนโลกมนุษย์อย่างแท้จริง แทบทุกคนผอมจนมีแต่หนัง หุ้มกระดูก หน้าซีดเซียว แววตาแห้งแล้งอิดโรย บางคนนั่งกอดเข่าห่มผ้าตัวสั่นสะท้าน บางคนก็ดิ้นทุรนทุราย ผ้าผ่อนหลุดรุ่ย ปากก็พร่ำเพ้อตะโกนโวยวายด้วยพิษไข้ขึ้นสมอง บางคนก็อาเจียนเปื้อนเปรอะบริเวณที่นอนอยู่ บางคนก็นั่งซึมดวงตาเหม่อลอย บางคนก็นอนขดห่มผ้าตัวสั่นราวกับลูกนก ผู้มาใหม่ทั้งสองสำนึกทันทีว่า ตนถูกส่งเข้ามาอยู่ในแดนแห่งความตายร่วมกับนักโทษการเมืองในคดีกบฏ พ.ศ.2476.

ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์เองในเวลาต่อมาก็เกือบจะสูญสิ้นชีวิตด้วยพิษไข้ขึ้นสมองถ้าหากมิได้รับพระกรุณาอย่างใหญ่หลวงจากหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากรพระองค์ท่านได้ทรงเสียสละอย่างยิ่ง โดยประทานยาฉีดซึ่งมีเหลืออยู่เพียงสองสามหลอดสุดท้ายของพระองค์ เพื่อช่วยชีวิตของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคลไว้ต่อมาไม่นาน หลวงโจมพลล้าน อดีตผู้บังคับการตำรวจจังหวัดเพชรบุรี ผู้มีน้ำใจโอบอ้อมอารีก็มีอาการเพียบหนักเขาพร่ำเพ้อดิ้นทุรนทุรายด้วยพิษไข้จับสั่นขึ้นสมอง และเฝ้าแต่พร่ำรำพันเรียกหาลูกเมียตลอดเวลาจนสิ้นใจไปในตอนพลบค่ำวันหนึ่ง หลังจากนั้นไม่กี่วัน เผื่อน ปุณฑนิก ก็ตายลงโดยกะทันหันเป็น คนที่หก

การที่เพื่อนนักโทษการเมืองต้องสูญสิ้นชีวิตไปถึงหกคนในชั่วระยะเวลาเพียงหกสัปดาห์ ทำลายขวัญนักโทษการเมือง ที่เหลืออยู่อย่างยิ่ง เมื่อถึงที่สุดแห่งความคับแค้น คนบางคนก็ทิ้งศักดิ์ศรีของตน ลืมยศถาบรรดาศักดิ์ และเกียรติยศหมดสิ้น เผยให้เห็นถึงแก่นแท้อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว และรู้จักแต่การรักษาตัวรอดเป็นยอดดีการศึกษาที่ได้รับมาอย่างดี ไม่อาจจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจของคนบางคนได้ นักโทษการเมืองบางคนถึงกับยอมลดตัวลงมาประจบ
ประแจงกราบกรานขอความกรุณาต่อผู้คน เพื่อให้ได้มาซึ่ง อภิสิทธิ์และความสะดวกสบายต่างๆ เหนือคนอื่น ด้วยการเป็นสายให้เจ้าหน้าที่คอยสอดแนมความเป็นไปตลอดจนนำเรื่องราวที่เพื่อนนักโทษการเมืองคุยกัน ไปฟ้องเจ้าหน้าที่
เพื่อหาความดีความชอบ ซึ่งบางทีก็เป็น เรื่องจริงบ้างไม่จริงบ้างก่อให้เกิดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน จนแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่าขึ้น นักโทษการเมืองคนใดหรือหมู่ใดคณะใดวางตัวเฉย ไม่ยอมประจบประแจงหรือให้สินจ้างแก่เจ้าหน้าที่ จึงดูเหมือนว่าเป็น พวกหัวแข็งไม่ยอมอ่อนน้อม ก็ได้รับความบีบคั้นกลั่นแกล้งให้ต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น เมื่อเรือเชวงศักดิ์สงคราม ซึ่งเคยเป็นเรือเสบียงเดินระหว่างสุราษฎร์ธานีกับ เกาะเต่า ต้องหยุดเดิน เพราะขาดน้ำมัน ทางการเรือนจำจึงได้นำเรือไชโยซึ่งต้องใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงมาเดินแทน นักโทษการเมืองชุดที่ได้ รับคำสั่งให้ไปโค่นต้นไม้ตัดฟืนเตรียมไว้ป้อนเรือไชโยมี สอ เสถบุตร หม่อมหลวงทวีวงศ์ วัชรีวงศ์ ปรุง สุเสวี ประเสริฐ คชมหิทธิ์ และแผ้ว แสงส่งสูง ด้วยเหตุที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของ เกาะเต่า เป็นภูเขา ต้นไม้ใหญ่จึงขึ้น อยู่ตามไหล่เขา เมื่อนักโทษการเมืองช่วยกันโค่นต้นไม้ลงแล้ว ก็ต้องช่วยกันงัดให้ไม้กลิ้งลงมาตามไหล่เขา จนถึงชายทะเล แล้วจึงผ่าออกเป็นดุ้นฟืนขนาดยาวประมาณ 65 ซม. นักโทษการเมืองคณะนี้ จึงได้รับสมญา ว่า “กลุ่มช้าง”.

ครั้นแล้ว ในระหว่างระยะเวลาแห่งความลำบากยากแค้นแสนสาหัสนั้นเอง วันหนึ่งก็ได้มีเครื่องบินลำหนึ่งมาบินทักษิณาวรรตอยู่เหนือ เกาะเต่า ขณะที่บินวนอยู่นั้น นักบินก็โบกมือให้นักโทษการเมืองเสมือนจะเป็นสัญญาณบอกกล่าวอะไรสักอย่างหนึ่ง นักโทษการเมืองพากันถกเถียงถึงเรื่องเครื่องบินลำนั้นอยู่เป็นเวลากว่าสามสัปดาห์จึงได้ความจริงที่นักบินใจบุญผู้นั้นได้มาบอกใบ้ให้ทราบความจริงอันนั้นก็คือนักโทษการเมืองได้รับพระราชทาน อภัยโทษ เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ โดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม จำต้องลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุที่แพ้คะแนนเสียงในรัฐสภาเรื่องการสร้าง นครเพชรบูรณ์ ให้เป็นเมืองหลวงของประเทศ และสร้างพุทธบุรี ที่จังหวัดสระบุรี นายควง อภัยวงศ์ ได้มาเป็นรัฐมนตรีแทน และคณะรัฐมนตรีใหม่ได้มีมติให้ กราบบังคับทูลขอพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษการเมืองทั้งในคดีกบฏบวรเดช พ.ศ.2476 และคดีกบฏ พ.ศ.2481 ทางการกำหนดให้มีการปลดปล่อยนักโทษการเมืองที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 20 ตุลาคม 2487. ความหวังและกำลังใจก็พลันบังเกิดขึ้นทันทีนักโทษการเมือง ดูเต็มไปด้วยความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และมีชีวิตชีวาความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ดูจะหายไปราวปลิดทิ้ง บรรดาเจ้าหน้าที่เรือนจำต่างๆ ก็ดูเปลี่ยนท่าทีไปโดยฉับพลันกิริยาท่าทางตลอดจนถ้อยคำพูดจาก็ดูเต็มไปด้วยความเคารพนบนอบ เสียงเรียกขานคุณหลวงคุณพระท่านเจ้าคุณใต้เท้าขอรับกระผมดังอยู่ทั่วไป แทนถ้อยคำเสียดสีเกรี้ยวกราด ผู้คุมบางคนก็ขอฝากเนื้อฝากตัวประจบประแจงท่านนักโทษการเมือง ที่มีหวังว่าจะได้กลับไปเป็นใหญ่เป็นโต.

นักโทษการเมืองได้รับคำสั่งให้เตรียมตัวออกเดินทางจาก เกาะเต่า ไปยังคุกเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อรอเวลาปลดปล่อยที่นั่นปัญหามีอยู่ว่า เมื่อได้รับการปลดปล่อยแล้วนักโทษการเมืองจะเอาเงินที่ไหน ซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายใหม่แทนเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอันขาดกะรุ่งกะริ่งใกล้สภาพอนาจารของตน นักโทษการเมืองจะเอาเงินที่ไหนหาอาหารรับประทานระหว่างการเดินทาง และจะเอาเงินที่ไหน เป็นค่ารถจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปบ้านของตนมิหนำซ้ำบางคนก็ยังไม่แน่ใจว่าบ้านที่ตนเคยอยู่นั้น จะถูกลูกระเบิดไปหรือเปล่า ที่คุกเมืองสุราษฎร์ธานีผู้คุมได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางนำสินค้าซึ่งเป็นของเก่าติดตัวนักโทษการเมือง ไปขายให้แก่ประชาชนด้วยเหตุที่ขณะนั้นเป็นเวลาสงครามเครื่องอุปโภคต่างๆ ขาดแคลน และราคาแพงอย่างยิ่งเมื่อนักโทษการเมืองซึ่งหูหนวกตาบอดต่อภาวะความเป็นไปของโลก ภายนอกขายของในราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อประชาชนจึงพากันหลั่งไหลเบียดเสียดไปซื้อของดีราคาถูกที่ประตูเรือนจำราวกับตลาดนัด ปรุงสุเสวีขายสายสร้อยทอง หนักหนึ่งบาท ไปด้วยราคา 40 บาทก็ดีใจว่าตั้ง 18 บาท เพราะเมื่อซื้อมานั้นซื้อด้วย ราคาเพียง 22 บาท อันที่จริงราคาทองขณะนั้น บาทละ 400 กว่าบาท สอ เสถบุตรและแผ้ว แสงสูงส่ง ขายมุ้งไปในราคาหลังละ 40 บาทส่วนหม่อมเจ้า สิทธิพรกฤดากรทรงขายผ้าห่มสักหลาดอย่างดีใหม่เอี่ยมไปในราคา 80 บาท ก็ดีพระทัยว่าขายได้ราคา แต่พอหนึ่งชั่วโมง ให้หลังจีนเจ้าของร้านตัดเสื้อกางเกงก็วิ่งมาขอซื้ออีกโดยเสนอให้ ราคาถึงผืนละ1,000 บาท แต่พระองค์ท่าน ก็ไม่มีจะขายให้. แล้วในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2487 อันเป็นวันที่นักโทษการเมืองได้รับปลดปล่อยนั้นทั่วทั้งตลาดเมืองสุราษฎร์ธานีขวักไขว่ไปด้วยอดีตนักโทษการเมือง ในสภาพเครื่องแต่งกายอันน่าขันระคนน่าสงสารบางคนสวมเสื้อขาดกะรุ่งกะริ่งบางคนสวมรองเท้าซึ่งเกือบจะเรียกไม่ได้ว่าเป็นรองเท้า โดยที่พื้นข้างล่างโหว่จนแทบจะรองรับเท้าไว้ไม่ได้ บางคนสวมหมวกซึ่งเป็นรูพรุนไปหมด สมัยนิยมของเครื่องแต่งกายได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงการนุ่งผ้าม่วง หรือนุ่งกางเกงแพร แล้วใส่เสื้อนอกคอปิดกระดุมห้าเม็ดได้หายไปหมดสิ้นจากสมัยนิยม อดีตนักโทษการเมือง ตัดสินใจไม่ถูกว่าตนควรจะซื้อเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่อย่างไรดี ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์ และขุนศิริโยธิน ได้ไปซื้อกางเกงขาสั้นตัดเย็บด้วยผ้าทอด้วยใยสังเคราะห์ โดยเห็นว่ามีลวดลายสวยเหมือนผ้าสักหลาด และซื้อเสื้อโปโลกับหมวกกันแดดแต่เมื่อเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเสร็จแล้ว และเดินฝ่าแสงแดดอันร้อนแรงจะไปขึ้นรถไฟก็เกิดอาการคันไปทั้งตัวจนทนไม่ได้ต้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย กลับไปสวมชุดนักโทษ ตามเดิม ที่สถานีเพชรบุรี ได้มีประชาชนเป็นจำนวนมากนำข้าวห่อ และขนมหม้อแกงหลายสิบถาดมาเลี้ยงต้อนรับพร้อมกับอวยชัยให้แก่อดีตนักโทษการเมืองทุกคน ในระหว่างทางได้มีเพื่อนผู้อารีคนหนึ่งนำเสื้อนอก แบบสากลมาให้ สอ เสถบุตร สวมใส่ สอ เสถบุตรเล่าว่า เขามีความรู้สึกเคอะเขินชอบกลหลังจากที่มิได้สวมใส่ เสื้อนอกมาเป็นเวลากว่าสิบปี ณ สถานีรถไฟบางกอกน้อย ธนบุรี คุณมานิต วสุวัต เป็นมิตรคนแรกที่รอรับ สอ เสถบุตรอยู่ พร้อมกับ เสนอให้ตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ “ศรีกรุง” แก่สอ เสถบุตร .

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เกาะลังกาวี

เกาะลังกาวี (LANGKAWI) แห่งรัฐเคดาห์หรือเมืองไทรบุรีนั้น หากไม่มีเรื่องราวของนางมาซูรีแล้ว เกาะแห่งนี้ก็คงเหมือนเกาะทั่วๆไป นางมาซูรีนั้นเป็นหญิงสาวผู้หนึ่งที่เกิดมีเหตุการณ์สำคัญทำให้นางเสียชีวิตบนเกาะลังกาวีแห่งนี้ พร้อมกับคำสาปแห่งการแสดงความบริสุทธิ์ คือ โลหิตสีขาวเหมือนยางพารา

การแลกกันระหว่างชีวิตและคำสาปแช่งเป็นบทพิสูจน์สุดท้ายที่นางพยายามดิ้นรนออกจากการถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมนั้น เป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้เกาะลังกาวีได้ตกอยู่ในอำนาจของคำสาปที่จมอยู่ในความมืดดำเช่นเดียวกับชายหาดที่มีสีดำ นัยว่าเกาะแห่งนี้ถูกอำนาจแห่งความบริสุทธิ์นั้นสาปแช่งให้จมอยู่กับความตกต่ำ เป็นอาถรรพ์ครอบคลุมมาถึง ๗ ชั่วอายุคน

บัดนี้เกาะลังกาวีได้ผ่านพ้นมาแล้ว ๖ ชั่วอายุคน ดังนั้นในโอกาสวาระคนรุ่นที่ ๗ ซึ่งเป็นลูกหลานของนางมาซูรีได้มาถึง จึงเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับการแก้อาถรรพ์แห่งคำสาปเพื่อทำให้เกาะลังกาวีหลุดพ้นจากอำนาจลึกลับที่มาถึง ๖ ชั่วอายุคน สำหรับสุสานของนางมาซูรีนั้น มีสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อนและคำจารึกภาษามาเลเซียและภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดสร้างทำขึ้นภายหลัง มีข้อความว่า

MAHSURI BINTI PANDAK MAYAH
MAHSURI A VICTIM OF TREACHERY AND JEALOUSY WAS SENTENCED TO DEATH IN 1235 HIJRAH OR 1819 A.D. AS SHE DIED SHE LAID A CURSE ON THE ISLAND "''THERE SHALL BE NO PEACE AND PROSPERITY ON THIS ISLAND FOR A PEROID OF SEVEN GENERATIONS''

ข้อความจารึกนี้ แปลความได้ว่า

มาซูรีผู้รับเคราะห์กรรมจากการทรยศหักหลัง และความอิจฉาริษยาจนถูกตัดสินให้นางถึงแก่ความตายลง เมื่อศักราช (อิสลาม) ๑๒๓๕ หรือ คริสต์ศักราช ๑๘๑๙ (พ.ศ. ๒๓๖๒) นางสิ้นชีวิตลงพร้อมกับคำสาปแช่งที่แห่งนี้ว่า
''จะไม่เกิดสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองบนเกาะแห่งนี้ เป็นเวลา ๗ ชั่วอายุคน''

วันนี้ทายาทของนางมาซูรีได้สืบทอดเชื้อสายมาถึงรุ่นที่ ๗ ตามคำสาปแล้ว หลังจากเกาะลังกาวีได้รอคอยวันที่จะหลุดพ้นคำสาปของนางมาซูรีเมื่อพ.ศ. ๒๓๖๒ มาเป็นเวลา ๑๘๑ ปี แต่ประวัติศาสตร์ที่ไม่ควรลืมก็คือ เกาะลังกาวีแห่งนี้เป็นดินแดนของเมืองไทรบุรีที่ตั้งโดยชาวไทยที่เป็นสยามอิสลาม (สามสาม) อยู่กับอาณาจักรสยามมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย…จนถึงรัชกาลที่ ๕ และเสียดินแดนส่วนนี้ให้กับอังกฤษในที่สุด คนไทยไม่เคยลืมดินแดนแห่งนี้เลย……

ลังกาวี เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย เกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวมาเลย์ ก็เพราะตำนานที่เล่าขานกันมา ถึงเจ้าหญิงชายารัชทายาท ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนามว่ามัสซูรี

ตามตำนานเล่าว่า พระนางมัสซูรี เป็นหญิงสาวชาวภูเก็ต ที่อนุชาองค์สุลต่านแห่งลังกาวี ทรงเลือกเป็นคู่ครอง เนื่องจากพระนางเป็นหญิงสาวที่มีความเพียบพร้อมทั้งงานบ้านงานเรือนและความสวยงาม ทั้ง ๆ ที่ทางราชวงศ์ได้คัดเลือกหญิงสาวชาวลังกาวีหลายคนให้พระอนุชาเลือก แต่ก็ไม่ถูกใจ กลับมาถูกใจสาวไทยชาวภูเก็ต พระนางมัสซูรี มาอยู่กับพระอนุชาของสุลต่านในฐานะพระชายาองค์รอง แต่ด้วยเหตุที่พระชายาองค์ใหญ่ ซึ่งมีฐานะเป็นปะไหมสุหรีมีบุตรเป็นหญิง
ส่วนพระนางมัตซูรีมีบุตรเป็นชาย ตามกฎของสำนัก พระชายาที่มีบุตรเป็นชายจะได้รับตำแหน่งปะไหมสุหรี ทำให้ชาวลังกาวีที่เป็นพระญาติของปะไหมสุหรีองค์เดิมเก็บความอิจฉาไว้ลึก ๆ หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้เกิดสงคราม มีเหตุให้พระอนุชาขององค์สุลต่าน ซึ่งเป็นพระสวามีของพระนางมัสซูรี ต้องเดินทางออกรบกับกองทัพไทยที่บุกมา ดังนั้นเป็นโอกาสของผู้ที่ปองร้าย ต่างหาเรื่องสร้างสถานการณ์ว่าพระนางมัสซูรีมีชู้ ทำให้องค์สุลต่าน ตัดสินประหารชีวิตพระนางด้วยกริช

โดยที่พระอนุชา สวามีของนางไม่อาจกลับมาช่วยเหลือได้ทัน ก่อนเสียชีวิตพระนางอธิษฐานว่า หากนางไม่มีความผิด ขอให้โลหิตที่หลั่งออกมาเป็นสีขาวเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนาง และขอให้เกาะลังกาวีไร้ความเจริญไป 7 ชั่วคน แต่คมกริชประหารกลับไม่ระคายผิวนางเลย พระนางมัสซูรี จึงบอกกับเพชฌฆาตให้กลับไปนำกริชพิเศษของต้นตระกูลจากบ้านของนางมา ขณะที่คมกริชจดลงไปบนคอของนาง โลหิตสีขาวก็พวยพุ่งขึ้นข้างบนราวกับเป็นร่ม โดยไม่ตกลงบนพื้นดินเลย

Jean-Jacques Faillot

นอกจากรางวัลอันมากมายและความมั่งคั่งที่ท่านได้รับ Maurice Berger ได้ประสบความ สำเร็จเกี่ยวกับการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์และธุรกิจ ท่านตัดสินใจถอนตัวออกจากงานที่ทำ ในขณะที่ท่านอายุ 60 ปี ในปี ค.ศ. 1926 ท่านได้นำแผนการที่คิดเอาไว้ไปปรึกษากับ ครอบครัวและพนักงานของท่านบางคนก่อนที่จะดำเนินการติดต่อกับผู้จัดการโรงงานของท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่รักต่อการเสาะหาการลงทุนทางด้านธุรกิจใหม่ๆ และต่อมาท่านผู้นี้ซึ่งก็คือ Jean-Jacques Faillot ก็ได้ถือกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของและท่านยังเป็นผู้ที่มีความ สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาในอนาคตของ Lampe Berger


Maurice Berger ขายร้านของเขาให้กับ Jean-Jacques Faillot เจ้าของคนใหม่ในวัยเพียง 45 ปี เดิมทีเขาผู้่นี้คือผู้จัดการโรงงานอุตสาหกรรมทางด้านกระดาษแข็ง บุคคลสำคัญทั้งสองท่านนี้ได้ถูกทำให้รู้จักกันโดยความบังเอิญ นั่นคือในขณะที่ Jean-Jacques Faillot เดินทางไปยังตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสเกี่ยวกับเรื่องงานของเขา เขาได้พบกับผู้โดยสารผู้หนึ่งซึ่งเป็นพนักงานของ Maurice Berger Jean-Jacques Faillot ได้ถูกบอกเล่าเกี่ยวกับการบอกขายกิจการของ Maurice Berger และเขาเกิดสนใจและตระหนักอย่างยิ่งว่าจะเป็นการลงทุนอันคุ้มค่า และในเดือนสิงหาคมในปี ค.ศ. 1927 เขาลงทุนด้วยเงิน 750,000 ฟรังซ์ (ประมาณ 2 ล้านฟรังซ์ที่ปี ค.ศ. 1998) และเขาก็ได้กลายเป็นเจ้าของกิจการคนใหม่


Mr.Jean-Jacques Faillot

Mr.Jean-Jacques Faillot ยังคงใช้ชื่อ Berger เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญในด้านการค้า และมีแนวทางที่จะให้ตะเกียง Berger เป็นผลิตภัณฑ์หลักของธุรกิจใหม่ของเขา ตัวเลขการขายตะเกียงนั้นเพิ่มทวีคูณไปเรื่อยๆ จากเพียง 12 ดวง ไปจนถึงกว่า 100 ดวง ทั้งนี้เนื่องมาจากความพยายามและทุ่มเทของ Jean-Jacques Faillot ด้วยผลิตภัณฑ์อันหลากหลายของตะเกียง Berger เชื่อว่าเป็นที่พึงพอใจแก่ทุกๆ รสนิยม สำหรับตะเกียงรูปแบบธรรมดา ซึ่งเป็นแก้วใสปราศจากสี จะมีราคาอยู่ที่ 20 ฟรังซ์ฝรั่งเศส ในขณะที่ตะเกียงดวงที่มีความหรูหราที่สุดซึ่งทำจาก Baccarat Crystal นั้นมีราคาสูงถึง 1500 ฟรังซ์ฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น Mr.Jean-Jacques Faillot เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นต่อสิ่งสวยงาม และคุณภาพของตะเกียง เขาเข้าร่วมงานกับบริษัทที่มีชื่อเสียงหลายบริษัท ที่มีความชำนาญด้านตกแต่งบ้าน ขวดน้ำหอมและขวดสเปรย์ต่างๆ ดังนั้นผู้คิดค้นที่มีชื่อเสียงในช่วงนั้นจึงได้ผลิตตะเกียง Berger : Latique, Galle, Baccarat, Saint-Louisd’ Argental, Camille, Tharaud ซึ่งนี่เองเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าจุดมุ่งหมายของ Mr.Jean-Jacques Faillot คือการทำให้ตะเกียง Berger ได้จัดอยู่ในสินค้าที่หรูหรามีระดับ

เป้าหมายอีกอย่างหนึ่งของ Mr.Jean-Jacques Faillot ซึ่งเกี่ยวกับตะเกียง Berger ก็คือเขาริเริ่มด้านการจัดทำโฆษณาขนาดใหญ่ สื่อโฆษณาที่เขาให้ความสนใจเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ในฝรั่งเศสของเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม เนื่องด้วยความมุ่งเน้นที่ว่าตะเกียงของ Berger จะกลายมาเป็นของขวัญสำหรับช่วงเทศกาลคริสต์มาสหรือปีใหม่ โดยเป็นการบ่งชี้ถึงรสนิยมที่ทันสมัยสำหรับการเลือกของขวัญ ด้วยรูปแบบแนวทางการเจาะตลาดที่แตกต่างกัน Mr.Jean-Jacques Faillot จัดตั้งร้านค้าปลีกขึ้นหลายๆ ร้าน เพื่อสำหรับขายตะเกียงของ Berger ยิ่งไปกว่านี้เขายังมีส่วนทำให้การวางขายตะเกียงครอบคลุมไปทั่วโลกโดยผ่านผู้แทนจำหน่ายในกรุงลอนดอน แม้กระทั่งบุคคลสำคัญชาวฝรั่งเศสในช่วงนั้น อาทิเช่น Colette หรือ Jean Cocteau ยังให้ความสนใจอย่างยิ่งในการหาซื้อตะเกียงรุ่นโปรดของพวกเขา ในขณะเดียวกันศิลปินผู้โด่งดัง คือ Pablo Picasso ก็ยังกล่าวชื่นชมเกี่ยวกับกลิ่นน้ำหอม ozoalcool ว่ามันเป็นกลิ่นที่ถูกพึงปราถนามากที่สุดเลยก็ว่าได้ ยุคทองอันเฟื่องฟูได้มาจบลงในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 Jean-Jacques Faillot ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ จนกระทั่งเสียชีวิตในระหว่างการปะทะกันของรถถังเยอรมัน ดังนั้น Gilbert Faillot ลูกชายของเขาจึงกลายเป็นผู้ดำเนินกิจการ Berger ในช่วงต่อมา


ช่วงหลังสงครามโลกการเติบโตทางการค้า และสถานการณ์ทางการเงินยังคงดำเนินไปด้วยดี แต่ต่อมาหลังจากที่ Gilbert Faillot เป็นผู้บริหารบริษัทอยู่ถึง 32 ปี เขาก็รู้สึกว่าเขาสมควรจะหยุดพักจากการทำงาน ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจประกาศขายบริษัท

เกาะสีชัง

ประวัติเกาะสีชัง นาม "สีชัง" หน้าที่ ๑
อันนาม"สีชัง" นี้ จะมีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ
หลักฐานแน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานจากหนังสือ
กำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งแต่งไว้เมื่อราวปี
พุทธศักราช ๒๒๓๕ เรียกเกาะสีชังว่า สระชัง
ดังในโคลงบทที่ ๗๘ได้พรรณนาถึง
เกาะสีชังไว้ดังนี้
มุ่งเห็นละล่ายน้ำ ตาตก แม่ฮา
เกาะสระชงงชลธี โอบอ้อม
มลกกเห็นไผ่รยงรก เกาะไผ่ พู้นแม่
ขยวสระดื้อล้ำย้อม ยอดคราม


จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่านาม “สระชัง” คงจะเรียกขานกันมาก่อนปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ เข้าใจว่า ต่อมาการออกเสียง “สระชัง” อาจเพี้ยนไปเป็น “สีชัง” ซึ่งเป็นเสียงสั้น และง่ายกว่า เช่นเดียวกับคำอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น บางปลากง ออกเสียงเป็น บางปะกง บางเชือกหนัง ออกเสียงเป็น บางฉนัง วัดเสาประโคน ออกเสียงเป็น วัดเสาวคนธ์ ทัพพระยา ออกเสียงเป็น พัทยา เป็นต้น ได้มีการสันนิษฐานกันเป็นหลายนัยเกี่ยวกับชื่อ สีชัง บ้างก็ว่า
คำว่า สีชัง เพี้ยนมาจาก สีห์ชังฆ์ ซึ่งแปลว่า แข้งสิงห์ บ้างก็ว่า สี กับ ชัง เป็นชื่อบุคคลผู้มาตั้ง
รกรากทำมาหากินอยู่บนเกาะนี้เป็นคู่แรก อย่างไรก็ตาม คำว่า สระชัง น่าจะมีความไพเราะและ
มีความหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะว่า สระชัง หมายถึง การชะล้างเอาความเกลียดชังออกไป
( มิได้หมายถึงสระน้ำแห่งความชิงชัง ) เช่นเดียวกับคำว่า สระบาป ซึ่งเป็นชื่อเทือกเขาใน
จังหวัดจันทบุรี สระบาป หมายถึง การชะล้างเอาบาปทิ้งไป ( มิได้หมายถึงห้วงน้ำแห่งบาป ) จึงถือโอกาสนี้ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ เมื่อคราวเสด็จประพาสจันทบุรีในปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ พรรณนาเกี่ยวกับคำว่า สระบาปไว้ดังนี้

สระบาปบาปก่อนสร้าง ปางใด สระบ่สระทรวงใน สร่างสร้อย
สระสนานยิ่งอาไลย นุชนาฏ สระช่วยสระบาปน้อย หนึ่งให้สบนา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สระบาปบาปสร่างสิ้น ฉันใด สระบ่สระโศกใน อกบ้าง
สระสร่างแต่กายใจ ยังขุ่น เขียวแฮ
สะจะสระโศกร้าง รุ่มร้อนฤามี
กรมหลวงพิชิตปรีชากร

อนึ่ง คำว่า สระชัง อาจเพี้ยนมาจากคำว่า สทึง หรือ จทึง ที่แปลว่า แม่น้ำ หรือ ห้วงน้ำ
ในภาษาเขมร คำอื่นๆ ในภาษาไทยที่เพี้ยนมาเช่นเดียวกัน เช่น สทิงพระ สทิงหม้อ คลองพระสทึง ฉะเชิงเทรา เป็นต้น คำว่า ฉะเชิงเทราเพี้ยนมาจาก สทึงเทรา ที่แปลว่า แม่น้ำลึก หรือห้วงน้ำลึก โดยนัยดังกล่าวข้างต้น คำว่า สระชัง ก็น่าจะเพี้ยนมาจาก สทึง กลายมาเป็น สเชิง สชัง สรชังจนเป็น สระชัง ในที่สุดก็อาจเป็นได้ ในสมัยโบราณ เมื่อการ
เดินทางค้าขายกับต่างประเทศยังใช้การคมนาคมขนส่งทางน้ำเป็นสำคัญ ไทยเราได้มีการ
ค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ในบรรดาสินค้าที่นำไปขายมีเครื่องสังคโลกรวมอยู่
ู่ด้วย ในสมัยนั้นเรือสินค้าของไทยเป็นจำนวนมากได้อับปางในบริเวณอ่าวไทยด้านตะวันออก
บริเวณเกาะสีชัง พัทยา และสัตหีบ ในขณะที่เรือสินค้าเดินทางออกมาจากปากอ่าวเข้าสู่
ทะเลใหญ่ ไม่มีสิ่งใดเป็นที่หมายแห่งสายตา จะมีก็แต่เกาะสีชังเท่านั้นเมื่อชาวเรือแล่นเรือ
มาถึงบริเวณนี้และมองเห็นเกาะสีชัง จึงเรียกบริเวณนี้ว่า สระชัง ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เป็น
ห้วงน้ำอันกว้างใหญ่ คำว่า สระชัง ได้กลายมาเป็น สีชัง ในปัจจุบัน
จากหลักฐานต่างๆ แสดงว่าได้มีการเรียกชื่อเกาะสีชังว่า สระชัง กันมาแต่เดิมแล้ว อย่างน้อยก็คงก่อนปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ หลังจากนั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า คำว่า สระชัง ได้เลือนมาเป็น สีชัง ตั้งแต่สมัยใด จากหลักฐานทางวรรณคดีเท่าที่พบปรากฏว่าได้มี
การใช้คำว่า สีชัง เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ อันเป็นปีที่ นายมี ศิษย์ของท่านสุนทรภู่
เดินทางไปเมืองถลาง และได้แต่งนิราศถลางไว้ ดังปรากฏในคำกลอนตอนหนึ่งว่า

เหลียวเห็นเกาะสีชังนั่งพินิจ เฉลียวคิดถึงนุชที่สุดหวัง
ให้นึกกลัวน้องหญิงจะชิงชัง ถ้าเป็นดังชื่อเกาะแล้วเคราะห์กรรม

หลังจากนั้นมาได้มีการใช้คำว่า สีชัง แพร่หลายขึ้น และคงจะไม่มีการเลือนไปเรียก
เป็นอย่างอื่นอีกต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากได้มีการจดบันทึกชื่อของสถานที่แห่งนี้ลงในทำเนียบของ
ทางราชการ กล่าวคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ได้เสด็จประพาสเกาะสีชัง โดยเรือกลไฟที่ต่อในประเทศไทย ชื่อ สยามอรสุมพล และได้มีการยกเกาะสีชังขึ้นเป็นอำเภอเกาะสีชัง ขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ได้มีการยุบอำเภอเกาะสีชังเป็นกิ่งอำเภอ
เกาะสีชัง ขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ กระทรวงมหาดไทยได้โอนกิ่งอำเภอเกาะสีชังจากอำเภอเมือง
สมุทรปราการไปขึ้นกับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเกาะสีชังเป็นกิ่งอำเภอในจังหวัด
ชลบุรี เกาะสีชังได้ชื่อว่าเป็นภูมิสถานที่มีอากาศบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าการที่ผู้เจ็บป่วย
หรือร่างกายไม่แข็งแรง หากได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้ว จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นได้ ประกอบกับเกาะสีชังนี้มีภูมิประเทศที่สวยงามเป็นที่ร่มรื่น มีทั้งทะเลและป่าเขาลำเนาไพร ที่มีความงามตามธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยประเทืองใจให้แช่มชื่น และเมื่อผู้ใดมีความ
สบายกาย สบายใจปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะมีอายุยืนนานโดยเหตุที่เกาะสีชัง
เป็นสถานที่ที่มีอากาศดีมีภูมิประเทศที่สวยงามประกอบกับอยู่ไม่ไกลเมืองหลวงมากนักบรรดา
เจ้านาย ข้าราชการ ประชาชนทั่วไป ตลอดจนชาวต่างประเทศ ต่างก็นิยมมาพักผ่อน พักฟื้น
และรักษาตัวกันเป็นจำนวนมากในอดีต เท่าที่ปรากฏในหลักฐาน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เคยเสด็จประพาสเกาะสีชังโดยเรือกลไฟสยามอรสุมพลนับเป็นครั้งแรก
ที่พระมหากษัตริย์เสด็จฯ ยังเกาะสีชัง เกาะสีชังในสมัยรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีประชาชนอาศัย
อยู่มากนัก ด้วยเพิ่งจะเริ่มเข้ามาอยู่กันไม่กี่ครัวเรือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเกาะสีชังอยู่เนืองๆ ทุกครั้งที่เสด็จฯ จะมียายเสม ซึ่งเป็นหญิงชาวเกาะที่เป็น
ผู้ใหญ่ เป็นที่นับถือของชาวเกาะได้เข้าเฝ้าฯ ทุกครั้ง ญาติพี่น้องของยายเสมเป็นผู้ที่มี อายุ
มากด้วยกันทุกคน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสรรเสริญเกาะสีชังว่า
เป็นสถานที่ ที่อากาศดี ดังนั้น ผู้ที่อยู่บนเกาะจึงมีอายุยืนนานปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ในโอกาส
ที่พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะสีชังนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ก็เคยตามเสด็จฯ มาด้วยหลายครั้ง

เกาะล้าน

ประวัติเกาะล้าน
ในอดีต เกาะล้านมีประชากรอาศัยสืบต่อ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคน มีอาชีพเกษตรกรรมทำไร่ ทำสวน และประมง ดังหลักฐานคือ ต้นมะพร้าวอายุกว่าร้อยปี และชื่อของสถานที่เรียกต่าง ๆ บนเกาะล้าน เช่น ท่าบรรทุก ท่าไร่ ท่าตลิ่งชัน เป็นที่ใช้ขนผลผลิตลงเรือไปขายที่ฝั่ง เกาะล้านเคยมีฐานะเป็นตำบลเกาะล้านมี 2 หมู่บ้าน เคยมีกำนันมาแล้วถึง 4 คน มีวัด และโรงเรียน


ชาวเกาะล้านมีฐานะดีมีทรัพย์สิน เงิน ทองมาก จึงเคยมีโจรสลัดขึ้นปล้นบนเกาะ ได้ทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเคยเกิดโรคอหิวาระบาด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความที่เกาะล้านอยู่ห่างจากชายฝั่งมากการคมนาคมไม่สะดวก ทางราชการดูแลไม่ทั่วถึง ตำบลเกาะล้านจึงถูกยุบลงพร้อม ๆ กับตำบลเขาไม้แก้ว และตำบลตะเคียนเตี้ย เกาะล้านจึงเหลือเพียงหมู่บ้านเดียว และไปขึ้นรวมกับตำบลนาเกลือนับแต่นั้นมา มีผู้ใหญ่บ้านมาอีก 3 คน ก่อนที่เกาะล้านและตำบลนาเกลือจะขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองพัทยา โดยรับโอนมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา


สภาพทั่วไป


เกาะล้าน ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 7 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองพัทยา จากชายหาดเมืองพัทยาจะสามารถมองเห็น เกาะล้านได้ชัดเจน เพราะอยู่ห่างจากฝั่งออกไปเพียง ประมาณ 7.5 กิโลเมตร การเดินทางโดยทางเรือเร็ว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที และเรือโดยสารประมาณ 40 นาที หมู่เกาะล้านแต่เดิม เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ในนามว่า “หมู่เกาะปะการัง” (Coral Islands) เพราะอุดมไปด้วยปะการังนานาชนิด เป็นแหล่งปะการังที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง ของประเทศและใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุด โดยมีเกาะครกและเกาะสากเป็นบริวาร




ลักษณะทางด้านกายภาพ

เกาะล้านตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ 12 56’ เหนือ และเส้นแวงที่ 100 47’ ตะวันออก ส่วนที่ยาวที่สุดประมาณ 4.65 กม. กว้างประมาณ 2.15 กม. รูปทรงเป็นห้าเหลี่ยมด้านไม่เท่า สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาประมาณร้อยละ 90 ของพื้นที่ มีสภาพป่าค่อนข้างอุดมสมบูรณ์พืชพรรณที่ขึ้นอยู่มีความหลากหลายของชีวภาพของป่าเบญจพรรณ และสมุนไพรหายาก ด้านสัตว์ป่า พบกระรอกเผือก ที่เป็นสัตว์ป่าที่หายากอาศัยอยู่จำนวนมาก
เกาะล้านมีสภาพทั่วไปและแหล่งท่องเที่ยวหาดทรายที่นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวหลายแห่งดังนี้
1. หาดตาแหวน อยู่ทางตอนเหนือของเกาะ เป็นหาดทรายยาวประมาณ 750 เมตร ความงามทางธรรมชาติมาก เพราะมีหาดทรายที่ขาวสะอาดและน้ำทะเลใสเป็นสีคราม ปลายหาดทั้งสองด้านยังมีแนวปะการังในระดับน้ำตื้นที่มีสีสันสวยงาม
2. หาดเทียน เป็นหาดที่สวยงามแห่งที่สองมีความยาวของหาดประมาณ 500 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ หาดทรายแห่งนี้มีความสวยงามไม่แพ้หาดตาแหวน แต่เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าจึงมีผู้นิยมไปท่องเที่ยวพักผ่อนน้อย
3. หาดแสม อยู่ทางทิดตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะล้าน เป็นหาดขนาดเล็กความยาวของหาดประมาณ 300 เมตร มีโขดหินและพื้นที่ป่าไม้ด้านขวาค่อนข้างสมบูรณ์มีความสวยงามเงียบสงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนและการเล่นน้ำ มีน้ำทะเลและหาดทรายสะอาด ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานป่าไม้ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและรีสอร์ท ตลอดจนพื้นที่สำหรับกางเต้นท์ แค็มปิ้ง เพื่อบรรยากาศแบบธรรมชาติ
4. หาดนวล อยู่ทางตอนใต้ของเกาะล้าน เป็นหาดขนาดเล็กยาวประมาณ 250 เมตร เป็นพื้นที่มีกรรมสิทธิ์ของเอกชน สภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดเป็นปะการังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวมากนัก หาดจึงเงียบสงบ เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
พื้นที่เกาะล้านยังมีหาดที่มีความสวยงามและทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์อีกหลายแห่ง เช่นหาดตายาย หาดแหลมหัวโขน หาดตาพัน ส่วนพื้นที่อื่นในเกาะล้านเป็นภูเขาและป่าไม้ ด้านตะวันออกเป็นชุมชมเกาะล้านที่ยังมีสภาพไม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากนัก นอกจากหาดทรายชายทะเลแล้ว พื้นที่บนเกาะซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขาปกคลุมด้วยพืชพันธุ์ไม้ที่เขียวชะอุ่มตลอดทั้งปีซึ่งนับว่ายังคงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมไว้ได้มาก ดังนั้เกาะล้านจึงเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ


ด้านสังคม

ข้อมูลประชากรในเกาะล้าน ณ วันที่ 30 ก.ย. 2547 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,401 คน เป็นเพศชาย 1,212 คน เป็นเพศหญิง 1,189 คน มีจำนวนครัวเรือน 489 ครัวเรือน จากตัวเลขที่ปรากฎชี้ให้เห็นว่า เกาะล้านมีประชากรไม่หนาแน่น แต่ข้อเท็จจริงแล้วประชากรในเกาะล้านอาศัยอยู่หนาแน่น เนื่องจากเกาะล้านเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการอพยพแรงงานจากถิ่นอื่นเข้ามา จึงมีประชากรแฝงมากกว่าจำนวนความเป็นจริง 3- 4 เท่า โดยมิได้มีการแจ้งย้ายเข้ามาตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์


ด้านเศรษฐกิจ

เกาะล้านมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการบริการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวโดยการสร้างแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึกไว้คอยบริการเรือชมประการัง และเรือสกูตเตอร์ สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวจะสร้างบริเวณริมหาดมีทั้งที่สร้างขึ้นอย่างถาวรและเป็นพิงพักชั่วคราว ที่พักจะเป็นรีสอร์ท และบังกะโลที่มีอยู่ไม่มากนัก สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการนักท่องเที่ยวมีเกือบทุกหาด แต่จะมีมากคือ หาดตาแหวน กับหาดเทียน โดยมีร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นลักษณะโรงเรือนชั่วคราว ร้านขายของที่ระลึกกึ่งถาวรไม่มีมาตรฐาน บริการเรือเช่าชมปะการังเป็นเรือท้องกระจก เพื่อให้นักท่องเที่ยวนั่งชมปะการัง มีบริการให้เช่า บริการเช่าเรือสกูตเตอร์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ขับขี่เพื่อความสนุกสนานและออกกำลังกายมีบริการให้เช่า


ด้านสาธารณสุข

การดูแลทางด้านสาธารณสุขนั้น สำนักงานเมืองพัทยา สาขาเกาะล้านมุ่งที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนเกาะล้านมีคุณภาพชีวิต
ที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ดี ชายหาดสะอาดเรียบร้อย ไม่มีขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล ปราศจากโรคระบาด โรคติดต่อ และจัดระเบียบชายหาดทางด้านการกางร่ม – เตียง ของหาดแสม และชายหาดอื่นๆ เพื่อให้ประชากรมีสุขภาพดี และเป็นเขตปลอดโรคสุนัขบ้า

เกาะเสม็ด

ประวัติ เกาะเสม็ด

เชื่อกันว่า คือ เกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อของระยอง ที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศ ตั้งอยู่ตำบลเพ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่ มีลักษณะเป็นเกาะรูปสามเหลี่ยม ส่วนฐานของเกาะอยู่ด้านทิศเหนือ ซึ่งหันเข้า สู่ฝั่งบ้านเพ มีภูเขาสลับซับซ้อนกันอยู่ 2-3 ลูก มีที่ราบอยู่ตามริมฝั่งชายหาด ส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านเหนือ และตะวันออก เหตุที่มีชื่อว่า “เกาะเสม็ด” เพราะเกาะนี้มีต้น เสม็ด ขาว และ เสม็ด แดงขึ้นอยู่มาก ซึ่งในอดีตชาวบ้านนำมาใช้ทำไต้จุดไฟ บน เกาะเสม็ด ไม่มีแม่น้ำลำคลอง ประมาณ 80% ของพื้นที่ เป็นภูเขาและป่าไม้เบญจพรรณ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-กันยายน ช่วงเดือนพฤษภาคมมีมรสุมและคลื่นลมจัดมาก เดือนสิงหาคมมีฝนตกชุก


เกาะเสม็ด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล ที่สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ใน
ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ เพราะ
ลักษณะทางภูมิประเทศที่นักท่องเที่ยว สามารถเล่นน้ำ และทำกิจกรรมต่างๆ
ได้หลากหลาย นักท่องเที่ยวยังสามารถเช่าจักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ ขี่เล่น
ได้ ท่านสามารถชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมาก

ที่พัก เกาะเสม็ด โดยทั่วไปมีหลายราคา และในแต่ละรีสอร์ทก็จะมีความโดด
เด่นที่แตกต่างกันออกไป มีทั้ง รีสอร์ท โรงแรม และบังกะโล ให้ท่านได้เลือก
มากมาย โดยทั่วไปนักท่องเที่ยวควรจะทำการจองห้องพักไว้ก่อน เพื่อความสะ
ดวก และความแน่นอนในการได้ห้องพัก และราคาที่ถูกกว่า โดยเฉพาะช่วงเทศ
กาลต่างๆ

การเดินทาง เกาะเสม็ด

รถยนต์ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่ เส้นทางแรก ทางหลวง
หมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) จากกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางปู อำเภอบางปะกง
จังหวัดชลบุรี บางแสน ศรีราชา พัทยา หาดจอมเทียน สัตหีบ อำเภอบ้างฉาง ไปจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 34 (ถนนบางนา-ตราด) เริ่มจากตรงจุดสิ้นสุดทางด่วนด่านเฉลิมนคร อำเภอบางนา ผ่านอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และ
เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 3 ที่กิโลเมตรที่ 70 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากนั้นก็จะผ่านเส้นทางเดียวกันกับเส้นทางที่ 1 รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 36 (บายพาส 36) จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 2 จนถึงกิโลเมตรที่ 140 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 36 จากนั้นให้เดินทางต่อไปยังจังหวัดระยองด้วยระยะทาง 70 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 344 (ถนนสายบ้านบึง-แกลง) เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง หนองใหญ่ อำเภอวังจันทร์ และสิ้นสุดที่อำเภอแกลง เป็นระยะทาง 100
กิโลเมตร (กรุงเทพฯ-ชลบุรี 80 กิโลเมตร) เส้นทางเส้นนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังแหล่งที่องเที่ยวในเขตอำเภอแกลง หรือเดินทางไปยังจังหวัดจันทบุรี หรือจังหวัด
ตราด และหากต้องการที่จะเดินทางเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3 โดยย้อนกลับมาอีกประมาณ 42 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 7 (สายมอเตอร์เวย์) เริ่มจากถนนพัฒนาการ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่ จังหวัดชลบุรี ระยะทาง 75 กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมาย
เลข 36 เป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 175 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง จาก สถานีขนส่งสายตะวันออก ( เอกมัย) มีรถประจำทางไปยังตัวจังหวัดระยอง และอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดหลายเส้นทาง ได้แก่ สายกรุงเทพฯ - ระยอง, บ้านเพ, แกลง, แหลมแม่พิมพ์, มาบตาพุด, ประแสร์ เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2391 2504 สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยอง โทร. 0 3861 137 9 และมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ เส้นทางสายด่วน มอเตอร์เวย์ ได้แก่ บริษัท ระยอง ทัวร์ โทร. 0 2712 3662 สาขาระยอง โทร. 0 38 86 1 354-5 จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถ ธรรมดา และรถปรับอากาศชั้น 2 หมอชิต- ระยอง ออกทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 04.30-16.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2841 ส่วนรถปรับอากาศสายด่วน วิ่งเส้นบางนา-ตราด ออกตั้งแต่เวลา 04.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระยองทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2 936 1216 สาขาระยอง โทร. 0 3886 1354-5

การเดินทางจากบ้านเพไปเกาะเสม็ด
จากท่าเรือบ้านเพ มีเรือโดยสารบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง (รอผู้โดยสารอย่างน้อย
ประมาณ 20 คนจึงออกเรือ) ค่าโดยสารระหว่างบ้านเพ-หาดทรายแก้ว (ท่าเรือหน้าด่าน)
ไป-กลับ 100 บาทเรือเมล์ 8.00 - 16.00 น.ใช้ เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที และเรือ
speed boat ราคาประมาณ 1,500 - 2,600 บาทต่อเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมงขึ่นอยู่กับ
จำนวนคนและขนาดของเรือ (รายละเอียดด้านล่าง) จากบ้านเพไปหาดต่างๆ ถ้าท่าน
พลาดเรือที่ไปยังอ่าวๆต่างๆที่ออกเป็นเวลาท่านสามารถนั่งเรือมาลงท่าเรือหน้าด่าน ค่า
โดยสารประมาณ 50 บาทต่อคนใช้เวลาประมาณ 40 นาที ที่นี่มีบริการรถสองแถวและ
มอเตอร์ไซต์ ไปยังหาดต่างๆ ราคาขึ้นอยู่ระยะทางไปหาดนั้นๆ จากบ้านเพ-อ่าววงเดือน
และะมีเรือออกเวลา 9.30 , 13.30 , 15.30 น. (ท่าเรือสะพานใหม่)ไป-กลับ 120 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ท่าเรือนวลทิพย์ โทร. 0 3865 1508, 0 3865 1956

การเดินทางบนเกาะเสม็ด
บนเกาะมีถนนสายเดียวเป็นทั้งคอนกรีตบ้างสลับกับลูกรังและดิน สองแถวดูจะเป็นการ
เดินทางที่สะดวกที่สุด อัตราค่าโดยสาร หาดทรายแก้วคนละ 10 บาท เหมา 100 บาท
อ่าวไผ่คนละ 20 บาท เหมา 150 บาท อ่าวพร้าวอ่าววงเดือนคนละ 30 บาท เหมา 200
บาท อ่าวหวาย อ่าวเทียน 40 บาทต่อคน เหมา 300-400 บาท อ่าวกิ่วคนละ 50 บาท
เหมา 500 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่รักการจญภัยและสนใจมอเตอร์ไซต์เช่า ขับไม่
คล่องอย่าลองจะดีกว่าเพราะสภาพถนนเป็นดินสลับหินและลาดชัน ราคาเริ่มต้น 300
บาทต่อวัน ขึ่นอยู่กับการต่อรอง